ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องเล่า จากโต๊ะทรงงาน ในสมเด็จพระราชินี

เรื่องเล่า จากโต๊ะทรงงาน ในสมเด็จพระราชินี
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นต่อปวงพสกนิกร ด้วยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อพัฒนาประเทศชาติในหลายด้าน หนึ่งในนั้นคืองานด้านการส่งเสริมการศึกษา ทรงเล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นแนวทางสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต และส่งเสริมการอนุรักษ์งานศิลปวัฒนธรรมไทยที่ยั่งยืน พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน รวมทั้งเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในหัวข้อ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กับการศึกษา” หนึ่งในกิจกรรมคืองานเสวนาเรื่อง “สิ่งที่แม่สอน: เรื่องเล่าจากโต๊ะทรงงาน” ซึ่งจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันก่อน
ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ถวายงานเรื่องการต่างประเทศ และนั่งประจำโต๊ะทรงงานเวลาตามเสด็จฯ เล่าว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจะเสด็จฯ ไปที่ใด เมื่อเสด็จฯ ออกไปพบประชาชนและทรงทราบว่าประชาชนมีปัญหา มีความทุกข์ยาก ก็ทรงลงพื้นที่ทันที และทรงขับรถด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ได้เพียงเสด็จฯ ตาม และพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เสด็จฯ นั้นไม่เคยมีปรากฏในแผนที่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ถึงก็ทรงลงพื้นที่ไปดูปัญหาต่างๆ ของราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็จะทรงไถ่ถามทุกข์สุขของประชาชน แม่บ้าน แรกๆ นั้นไม่มีโต๊ะทรงงาน ทรงประทับได้ทุกที ส่วนใหญ่เป็นพื้นหญ้า หรือศาลาวัด แม้กระทั่งมัสยิด
“อีกนานเลยที่จะมีโต๊ะทรงงาน ซึ่งก็เพียงโต๊ะพับเล็กๆ ที่กางออกแล้วเอาผ้ามาปู แล้วพื้นที่บนโต๊ะทรงงานก็มีของศิลปาชีพวางเต็มไปหมด เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้ราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ ได้เห็น มีพื้นที่ทรงงานนิดเดียว บางครั้งฝนตกหนักก็ไม่ทรงท้อ ทรงขอถุงพลาสติกใบใหญ่เพื่อใส่กระดาษที่จดข้อมูลของประชาชน แล้วทรงสอดมือเข้าไปในถุงเพื่อทรงจดข้อความต่างๆ ที่ทรงได้คุยกับประชาชน ทรงทักทายสวัสดีจ้ากับทุกคน หรือถ้าเป็นคนแก่ก็ทรงทักว่าสวัสดีจ้าแม่ ทรงเป็นกันเองและทรงชักชวนให้แม่บ้านมาร่วมงานศิลปาชีพ ซึ่งก็ไม่ใช่ง่ายๆ แต่สุดท้ายด้วยพระปรีชาสามารถประชาชนก็มาเรียนรู้งานศิลปาชีพ และทำงานถวายพระองค์ท่านจนเกิดมาเป็นศิลปาชีพถึงทุกวันนี้” ท่านผู้หญิงภรณี เล่า
ในขณะที่ คุณหญิงรัตนาภรณ์ แชจอหอ เจ้าหน้าที่กองงานศิลปาชีพ เล่าว่า ก่อนจะเสด็จฯ ลงในพื้นที่ต่างๆ เจ้าหน้าที่ต้องไปถึงก่อนแล้ว เพื่อพูดคุยกับประชาชนซักถามข้อมูลต่างๆ เพื่อนำถวายเมื่อเสด็จฯ มาถึง และจะทรงจดทุกสิ่งที่รับสั่งกับประชาชนไว้ในกระดาษอย่างละเอียด ทรงถามถึงทุกข์สุข กินข้าวกับอะไร มีเงินรายได้เท่าไหร่ เมื่อประชาชนตอบว่ากินข้าวกับปลาในภูเขา จะรับสั่งกับเจ้าหน้าที่กรมประมงหรือกรมชลประทานที่ตามเสด็จฯ ให้นำมาปลาไปปล่อย เพื่อให้เป็นอาหารของราษฎร เพราะอย่างไรเสียถ้ากินกันเป็นประจำก็ต้องหมดไป นั่นคือความห่วงใยที่ทรงมีต่อประชาชนในพระองค์เสมอมา
“ทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎร ไม่มีเลยที่จะเสด็จฯ กลับเร็ว บางครั้งเกิดพายุกระหน่ำ ลมแรง ฝนตกแรงมาก จนหลังคาเต็นท์ที่เป็นผ้าจะเปิดปลิวตามลม เจ้าหน้าที่เปียกกันหมด พระองค์ท่านก็ทรงเปียก แต่ก็นั่งทรงงาน ทรงคุยกับประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ พร้อมรับสั่งด้วยว่าพายุมาเดี๋ยวก็ไป และก็ทรงงานอย่างต่อเนื่องจนดึกดื่น และเมื่อเสด็จฯ กลับแล้วก็ยังมาทรงงานต่อ ทั้งๆ ที่ยังไม่เสวย จนเช้าอีกวัน มีบางครั้งทรงประชวรแต่ก็เสด็จฯ ไปเยี่ยมประชาชน รับสั่งว่าประชาชนมารอจะไม่ไปได้อย่างไร ครั้งนั้นทรงงานอยู่ๆ ก็พระดำเนินออกไปทางหลังเต็นท์ ทรงอาเจียนอย่างมาก พวกเราน้ำตาไหล ทรงเห็นประชาชนมาก่อนพระองค์เสมอ” คุณหญิงรัตนาภรณ์ เล่าด้วยเสียงสั่นเครือ
ปิดท้ายที่ พล.อ.ณรงค์ แสงชนะศึก รองสมุหราชองครักษ์ กล่าวว่า แม้พวกเราจะเป็นองครักษ์ในพระองค์ แต่ทรงรับสั่งว่าอย่ามาเพียงดูแลความปลอดภัยเท่านั้น ต้องช่วยกันดูแลประชาชน ดูว่าประชาชนในแต่ละพื้นที่มีความเดือดร้อนอะไร เมื่อมีโอกาสไปประจำในพื้นที่เหล่านั้นจะได้รู้แนวทางและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างถูกต้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ