ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหตุผลที่ในหลวง ร.9 ต้องนั่งกับพื้น ไม่ยอมพระทับบนเก้าอี้

ทราบซึ้ง!! เหตุผลที่ในหลวง ร.9 ต้องนั่งกับพื้น ไม่ยอมพระทับบนเก้าอี้ เรื่องเล่าระหว่างทรงในพื้นที่ทุรกันดาร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงงานมาตลอดพระชนมชีพของพระองค์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรไทย ซึ่งส่วนใหญ่มีความลำบากยากจน ยังขาดการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวเอง ด้วยเหตุนี้ ในหลวงจึงต้องทรงงานอย่างหนัก โดยมุ่งหวังในราษฎรกินดีอยู่ดี
น้อยคนนักจะที่ไม่เคยเห็นภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 นั่งลงกับพื้นระหว่างทรงงานในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ หรือเขตทุรกันดาร โดยพระองค์เลือกไม่ประทับบนเก้าอี้ แต่นั่งลงกับพื้นแล้วรับสั่งกับราษฎรและผู้ติดตาม
รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม ซึ่งเป็นอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(ครม.) หลายรัฐบาล เปิดเผยเหตุผลที่ในหลวง ไม่ประทับบนเก้าอี้ โดยกล่าวระหว่างร่วมงานไทยนิยมยั่งยืน เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ว่า หลายปีมาแล้วเมื่อครั้งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังดำรงพระชนมชีพอยู่ วันหนึ่งได้เสด็จทรงงาน ไปตรวจเยี่ยมราษฎรยังชนบทห่างไกล โดยเมื่อทรงเสด็จไปยังบ้านเก่าๆหลังหนึ่งของราษฎร จากนั้นจึงได้รับการกราบทูลเชิญให้ขึ้นไปบนบ้าน ต่อมาในหลวงทรงปีนบันไดขึ้นไปบนบ้าน

“จากนั้นเจ้าของบ้านก็กุลีกุจอไปยกเก้าอี้เก่าๆโทรมๆตัวหนึ่งมาตั้งไว้ แล้วทูลเชิญให้ประทับบนเก้าอี้ตัวนั้น ซึ่งเจ้าของบ้าน ลูกเมีย และผู้ตามเสร็จต่างนั่งอยู่บนพื้นบ้าน แต่ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิเสธที่จะประทับบนเก้าอี้ตัวนั้น แต่ทรงนั่งกับพื้นเหมือนกับทุกๆคน”
นายวิษณุ กล่าวว่า กระนั้นก็ตาม เจ้าของบ้านก็ได้ใช้ความพยายามอีกครั้ง ในการขยันขยอให้ในหลวงขึ้นประทับบนเก้าอี้ เพราะเห็นว่าพื้นไม้ในบ้านหลังนี้ จะทำให้ในหลวงไม่ได้รับความสะดวกสบาย แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล แล้วรับสั่งว่า ไม่นั่งหรอกบนเก้าอี้
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ในหลวงรับสั่งกับเจ้าของบ้านว่า เหตุที่ไม่นั่งบนเก้าอี้ แต่นั่งบนพื้นก็เพราะประชาชนชาวไทยยังคงยากจนอยู่ ประชาชนยังขาดการศึกษา และขาดสิทธิเสรีภาพ จนถูกข่มเหงรังแก จึงต้องนั่งลงกับพื้นเหมือนทุกๆคน
“การไม่ประทับบนเก้าอี้นั้น สื่อความหมายว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ควรที่จะอยู่ในพระบรมมหาราชวัง อยู่บนที่สูงซึ่งห่างไกลจากประชาชน ในหลวงรับสั่งว่าที่พระเจ้าแผ่นดินต้องมานั่งอยู่ที่พื้นเช่นนี้ เพื่อจะได้ฟังประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะคนไทยยังยากจน เมื่อคนไทยยังยากจนจึงขาดความรู้ การศึกษา ขาดเสรีภาพ” นายวิษณุ กล่าว
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews
เรียบเรียงโดย
แสน มวลมิตร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ