ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเป็นมาของการถวายพระราชสมัญญา "มหาราช"

ความเป็นมาของการถวายพระราชสมัญญา "มหาราช"
หากมองย้อนเวลากลับไป จะพบว่าแท้จริงแล้วพสกนิกรในแผ่นดินนี้ได้เคยมีมติ เห็นพ้องต้องกันตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 แล้วว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” ควรคู่แก่คำว่า “มหาราช” ตามคุณสมบัติการเป็น “อัจฉริยบุรุษ” กษัตริย์ผู้กอบกู้ผืนแผ่นดินไทยจากความทุกข์ยากแสนสาหัสในหลากหลายมิติ แต่เมื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาในครั้งแรกนั้น พระองค์กลับมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ยังไม่ต้องพระราชประสงค์ ด้วยทรงไม่แน่พระทัยโดยทรงมีการตั้งข้อสงสัยเอาไว้ 2 ประการหลักๆ คือ
ประการแรก พระองค์ทรงอาวุโสควรคู่แก่การดำรงตำแหน่งมหาราชแล้วหรือไม่
และประการที่สอง ปวงชนชาวไทยจงรักภักดีต่อพระองค์มากเพียงใด

ภายหลังทรงมีพระราชดำริออกมาในครั้งนั้น การน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานามเพื่อสรรเสริญพระเกียรติจึงถูกเลื่อนออกไป รอให้พระองค์ถึงพร้อมในคุณสมบัติทั้งสองประการอย่างไร้ข้อสงสัยในพระราชหฤทัยเสียก่อน
ต่อมาในปี พ.ศ.2530 มีการผูกพระราชสมัญญาขึ้น 15 พระราชสมัญญา แล้วให้มีการสำรวจประชามติโดยพระราชสมัญญาจากมติของปวงชนชาวไทย ประชาชนจำนวน 34 ล้านคน ลงมติเลือกพระราชสมัญญา “สมเด็จพระภูมิพลมหาราช” ขณะที่ 6 ล้านคนเลือก “สมเด็จพระภัทรมหาราช”
“ภูมิพลมหาราช” มีความหมายว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงเป็นกำลังของแผ่นดิน เป็นพระนามพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
และ “ภัทรมหาราช” หมายความว่า กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นท่ีรักของปวงชน
ต่อมาในปี พ.ศ.2539 มีการถวายใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช"และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร คือ “มหาราช” องค์ที่ 7 แห่งแผ่นดินสยาม ถัดจากทั้ง 6 พระองค์ก่อนหน้า คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช
🌸🍀🌸 ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ 🌸🍀🌸
✒️ ในการลงประชามติ การลงนามร่วมกันขอถวายพระราชสมัญญานามให้ทรงเป็น"มหาราช" ในโอกาสที่เสด็จขึ้นครองราชย์ 50 ปี มีหลักฐานการลงนามของคนไทยทั้งชาติเก็บรักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร
Cr. เพจตามรอยพ่อ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ