สังคมไทยในอดีตครอบครัวไทยเป็นแบบ
"ผัวเดียวหลายเมีย" หมายความว่า ชายมีสถานะเหนือหญิงในทุกด้าน
ในสมัยสุโขทัย ตำหนิชายที่มีชู้กับภรรยาคนอื่น แต่ไม่ห้ามชายมีภรรยาหลายคน ต่อมา
ในสมัยอยุธยา กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904
ยังได้แบ่งภรรยาออกเป็น 3 ประเภท และชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้
ทั้งยังมีภาษิตที่ว่า "ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน" ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 4ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่ยุติธรรม
ให้ยกเสีย เนื่องจากกรณีถวายฎีกาของอำแดงเหมือน จนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงมีกฎหมายให้ชายมีภรรยาได้เพียงคนเดียว
สำหรับบทบาทด้านการเมือง
สตรีสมัยอยุธยามีบทบาททางการเมืองอยู่ไม่มากก็น้อย
ซึ่งพงศาวดารอยุธยาเน้นว่าการเข้าสู่อำนาจของสตรีนำมาซึ่งความเสื่อมเสียและความยุ่งยาก
ดังเช่นกรณีท้าวศรีสุดาจันทร์ สตรียังถูกใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจ คือ
การแต่งงานเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง เป็นตัวประกัน
และเป็นบำเหน็จในราชการสงคราม นอกจากนี้ ยังมีตำนานว่า
สมเด็จพระศรีสุริโยทัยและท้าวสุรนารีเป็นวีรสตรีผู้สร้างวีรกรรมในประวัติศาสตร์
สตรีเริ่มมีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
โดยสตรีได้เป็นกำนันตลาด หรือนายอากรตลาดในรัชกาลที่ 2 มีผลงานสร้างสรรค์บทกวี และบางคนได้เรียนหนังสือ พระราชบัญญัติเรื่อง
"ผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร พ.ศ. 2410" ห้ามไม่ให้สามีขายภรรยาหากภรรยาไม่ยินยอม
หลังจากนั้นก็มีการเรียกร้องสิทธิสตรีขึ้น มีหนังสือพิมพ์สตรีเกิดขึ้นหลายฉบับ
สถานภาพของสตรีในสังคมดีขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติสยาม
พ.ศ. 2475 รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกได้ให้สิทธิแก่ชายและสตรีในการเลือกตั้ง สตรีได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกใน
พ.ศ. 2478 พ.ศ. 2525
มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้สตรีเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้
บทบาทของสตรีกับกองทัพบก
ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของกองทัพยังมีเจ้าหน้าที่สตรีในหลายหน่วยงานและหลายหน้าที่ ทั้งหน่วยแนวหน้าที่เป็นฝ่ายออกแรง
และก็ยังมีตำแหน่งผู้อยู่เบื้องหลัง เป็นทีมงานคอยสนับสนุนในแผนกอื่นๆ
ในองค์กรนี้จึงไม่ได้มีแต่หนุ่มๆ ขาลุยเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสาวๆ สวยๆ ทหารหญิงเข้าไปร่วมเป็นหนึ่งในพลังช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางการทหารให้เดินหน้าไป
ตามแต่ทักษะถนัดที่แต่ละคนพึงมี ซึ่งบางคนเลือกเพราะคนในครอบครัว
หรือเพราะแรงบันดาลใจอื่นๆ
และอีกสาวๆอีกหลายคนเลือกงานสายนี้เพราะความน่าสนใจในหน้าที่การงาน หรือบางคนอาจจะเลือกเพราะเป็นงานที่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหน เมื่อก้าวเข้ามาในอาชีพนี้แล้ว
ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชีพทหารนี้มีคุณค่า และให้สิ่งดีๆ ต่อชีวิตนี้นับอย่างมากมาย
ตัวอย่างเช่น
คุณพิมดาว
พานิชสมัย
เธอเป็นบุตรีของ “พลเอกไพโรจน์ พานิชสมัย”
ที่เกษียณในตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
โดยเธอเข้ารับราชการทหารในกองดุริยางค์ทหารบก
รับราชการทหารด้วยการใช้ทักษะการร้องเพลงที่เธอถนัดและร่ำเรียนมา
เราคงได้ยินเพลง
“คืนรอยยิ้มให้คนไทย” มิวสิกวิดีโอตัวล่าสุดที่ทาง คสช.
ได้เปิดฉายทางโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเธอได้รับเลือกให้มาร้องเพลงสำคัญนี้ และเธอยังเป็นนักแสดงที่มาฝีมือดังที่หลายท่านได้เคยทราบ
|
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเยาวลักษณ์ สุขธนะ
ท่านเป็นหญิงแกร่งแสนเก่ง
คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล "แพทย์หญิง เยาวลักษณ์
สุขธนะ" นอกเหนือจากเป็นแพทย์หญิงแล้ว ยังมีตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์
นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญพิเศษพยาธิโปรโตซัว โรคสัตว์สู่คน
และยังมีดีกรีสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
ที่สำคัญ อาจารย์เยาวลักษณ์ เป็นนักเรียนแพทย์หญิงคนแรกและคนเดียว ที่ได้เรียนร่วมกับนายแพทย์ทหาร (นพท.) รุ่น 3 ในวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า แพทย์ทหารแห่งเดียวในประเทศไทยที่เปิดรับเฉพาะชาย จนกระทั่งรุ่นที่ 25 ถึงเปิดรับสตรีให้เข้าเรียนได้
รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงเยาวลักษณ์ สุขธนะ
สำเร็จการศึกษา ปริญญาสัตวแพทย์ศาสตร์บัญฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ก่อนจะเข้าศึกษาที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
เมื่อจบจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ
อาจารย์เยาวลักษณ์ตัดสินใจเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก
ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แล้วกลับไปเป็นแพทย์หลวงที่สวนจิตรลดา
เพื่อตามเสด็จฯ ปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์หลวง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น