ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เตรียมตัวตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ

เตรียมตัวตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ                                   .

ขั้นตอนและวิธีการตรวจเลือก ทหารกองเกินเข้ากองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร)
ขั้นตอนและวิธีการตรวจเลือก ฯ ของทหารกองเกิน (ขั้นปฏิบัติ)  ในวันตรวจเลือกทหารกองเกิน (วันเกณฑ์ทหาร)  เวลา  ๐๗.๐๐ น.  ทหารกองเกินที่ได้รับหมายเรียก  (แบบ สด.๓๕)  แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล  เคารพธงชาติ  ประธานกรรมการตรวจเลือกทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร  เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ  กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร  รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ คือ ผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้  ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ  ดังนี้
   ๑.  เตรียมหลักฐานใช้ในวันตรวจเลือก ฯ
       
-   บัตรประจำตัวประชาชน
            -   หมายเรียก ฯ (แบบ สด.๓๕)
            -   ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
            -   วุฒิการศึกษา (ถ้ามี)
    ๒.  การตรวจเลือก ฯ จะเริ่มวิธีการพร้อมกันทั่วประเทศ เวลา ๐๗.๐๐ น.
 
      -  มีการเข้าแถวแบ่งเป็นตำบล
             -  ทำพิธีเคารพธงชาติ เสร็จจะมีการกล่าวแนะนำตัวคณะกรรมการตรวจเลือกและวิธีการคราว ๆ
            -  ให้ทหารกองเกินถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถลกขากางเกงขึ้นเหนือหัวเข่า รอการเรียกชื่อเข้ารับ
               การตรวจเลือก ฯ ต่อไป
    ๓.  การเรียกชื่อ (โต๊ะที่ ๑)
กรรมการจะเรียกชื่อทหารกองเกินเข้ารับการตรวจเลือก
          
  -   คณะกรรมการตรวจเลือก ฯ ประจำโต๊ะที่ ๑ จะทำการเรียกชื่อทหารกองเกิน โดยทีละตำบล
            -   การเรียกชื่อทหารกองเกินจะเรียกชื่อ  ๒  รอบ
            -   เมื่อเรียกชื่อแล้ว จะทำการตรวจหลักฐาน และเขียนหมายเลขกำกับบริเวณแขนทหารกองเกิน
              เสร็จไปทำการตรวจร่างกาย (โต๊ะที่ ๒) 
   ๔.  ตรวจร่างกาย (โต๊ะที่ ๒)
กรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่ 
         -  การตรวจร่างกายจะมีนายแพทย์สาขาเวชกรรมเป็นผู้ตรวจร่างกาย จะมีการแบ่งออกได้ ๔ จำพวก ดังนี้
            - จำพวกที่ ๑   คือ ผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี และจะต้องไปวัดขนาดต่อไป (โต๊ะที่ ๓)
            - จำพวกที่ ๒  คือ ผู้ที่มีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึง
             ทุพพลภาพ เช่น ใบหูผิดรูป, ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะลุ, จมูกผิดรูปจนดูน่าเกลียด,
             ช่องปากผิดรูปดูน่าเกลียด ฯลฯ
            - จำพวกที่ ๓  คือ ผู้ที่มีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วย
              ซึ่งจะบำบัดให้หายภายในกำหนด ๓๐ วันไม่ได้
            - จำพวกที่ ๔  คือ ผู้ที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่ไม่สามารถจะรับราชการได้
            * คนจำพวกที่ ๑ ไปวัดขนาดต่อ สำหรับคนจำพวกที่ ๒, ๓ และ ๔ แยกไปที่โต๊ะประธานกรรมการ เพื่อรอการปล่อยตัว *
    ๕.  วัดขนาด (โต๊ะที่ ๓)
 กรรมการจะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกาย
        -   บุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้นต้องมีขนาดรอตัวตั้งแต่เจ็ดสิบหกเซนิเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออก 
และสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรสี่สิบหกเซนติเมตรขึ้นไป
          * วิธีวัดขนาด  - ขนาดสูงให้ยืนตัสตรงส้นเท้าชิดกัน ขนาดสูงให้วัดตั้งแต่ส้นเท้าจนสุดศีรษะ
                         - ขนาดรอบตัว ให้คล้องแถบเมตรรอบตัวให้ริมล่างของแถบได้ระดับราวนมโดย
                          รอบ วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้งและหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง
          * การวัดขนาดสูง จะคัดเลือกผู้ที่มีขนาดสูง ๑๖๐ ซม.ขึ้นไปก่อน หากไม่เพียงพอกับจำนวนคน
ที่ต้องการจึงจะเรียกคนที่มีขนาด ๑๕๙ ซม.ลงมาจนครบตามจำนวนที่ต้องการ *
          -   บุคคลที่วัดขนาดได้ตามที่ต้องการเจ้าหน้าที่จะบอกให้ทหารกองเกินรอจับสลาก หากไม่ได้
ขนาดหรือขนาดสูงไม่ถึงจะให้ไปที่รอการปล่อยตัวที่โต๊ะประธานกรรมการ
      ๖. การปล่อยตัวทหารกองเกิน (โต๊ะประธานกรรมการ)
 
         -   ประธานกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบตัวบุคคลและปล่อยตัว ดังนี้
             ๑.  การตรวจสอบและปล่อยตัวให้กระทำตามลำดับ คนจำพวกที่ ๔,๓ คนไม่ได้ขนาด
                 คนผ่อนผัน คนจำพวกที่ ๒ คนจำพวกที่ ๑ ขนาดถัดรอง (ถ้าคนได้ขนาดพอ)
                 และคนจำพวกที่ ๑ ที่ได้ขนาด (ถ้าไม่มีการจับสลากเพราะมีคนร้องขอเข้ากองประจำการ)
             ๒. โดยเป็นหน้าที่ของประธานกรรมการตรวจสอบใบรับรองผลการตรวจเลือก ฯ
                 และบัญชีเรียก ฯ ของจังหวัดให้ถูกต้องตรงกัน รวมทั้งการพิจารณาและตรวจร่างกาย
                ของทหารกองเกินเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนมอบใบบรับรองผลการตรวจเลือก ฯ ท่อนที่ ๓
                 ให้ตัวรับไป 
   ๗.  การจับสลาก
         
 ๑.  การที่จะกำหนดให้ตำบลใดจับสลากดำ – แดง ก่อนหลัง ให้กระทำโดยวิธีให้ผู้แทนของ
แต่ละตำบล  ซึ่งอาจจะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรีหรือผู้แทนทหารกองเกินของตำบลนั้น ๆ
มาจับสลาก โดยจะทำการเรียกชื่อเรียงตามตำบลที่ให้ผู้แทนจับสลากเรียงตาามลำดับก่อนหลัง
            ๒.  กรรมการนายทหารสัญญาบัตรเรียกชื่อคนที่จะต้องจับสลากทั้งสิ้นทุกตำบลมารวมกัน
เพื่อตรวจสอบตัวคนกับบัญชีเรียก ฯ และบัญชียอดให้ถูกต้องตรงกันก่อนจะเริ่มเรียกเข้าจับสลาก
           ๓.  กรรมการสัสดีจังหวัดนำภาชนะสำหรับบรรจุสลากเปิดแสดง โดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ถูกเรียก
และต่อหน้าคณะกรรมการตรวจเลือกว่า ในภาชนะนั้นไม่มีสลากบรรจุอยู่ก่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของ
นายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๒) นำสลากซึ่งได้เตรียมไว้ใส่ในภาชนะแล้วคลุกเคล้าต่อหน้าคณะกรรมการ
ตรวจเลือก และผู้ถูกเรียกที่จะต้องจับสลาก
          ๔.  ก่อนที่จะเริ่มให้ประธานกรรมการตรวจเลือกชี้แจง ให้ผู้ที่จะต้องจับสลากทราบดังนี้
              -  มีผู้ต้องจับสลากทั้งหมดเท่าใด จะต้องส่งเข้ากองประจำการแผนกใดเท่าใด
                 แต่ละแผนกแบ่งออกเป็นกี่ผลัด แผนกใดผลัดใดกำหนดให้เข้ารับราชการกองประจำการ
                 วัน เดือน ปีใด
             -   สลากมี ๒ ชนิด คือ สลากสีแดงสำหรับผู้ที่จะส่งเข้ากองประจำการ
                 ส่วนผู้ที่จะปล่อยตัวไปเป็นสลากสีดำ
          ๕.  การจับสลาก ให้คณะกรรมการตรวจเลือกปฏิบัติ ดังนี้
             -   กรรมการสัสดีจังหวัด นำบัญชีเรียก ฯ มาให้เจ้าหน้าที่ ฯ ทำการเรียกชื่อจับสลาก
             -   เมื่อทหารกองเกินเข้ามาเตรียมจับสลาก
             -  ให้ทหารกองเกินบอกชื่อตัวชื่อสกุลและชูมือแสดงความบริสุทธิ์แล้วจับสลาก
             -  กรรมการนายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๒) รับสลากจากทหารกองเกินมาคลี่อ่านพร้อมกับ
                แสดงให้ผู้จับและกรรมการอื่น ๆ ดูด้วย
             -  นำผู้ที่จับสลากสีดำไปยังโต๊ะประธานกรรมการตรวจเลือกเพื่อตรวจสอบปล่อยตัว
             - สำหรับผู้ที่จับสลากสีแดง ให้มอบใบรับรองผลการตรวจเลือก ฯ (แบบ สด.๔๓)
               และนำตัวไปดำเนินการออกหมายนัด หรือขึ้นทะเบียนกองประจำการต่อไป 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ