กษัตริย์ แห่งเลโซโท เสด็จฯ ถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จฯ สักการะพระบรมศพ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพและทรงพระอักษรแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และอาคารสำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นอีก หนึ่งประเทษ ที่น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ จนเกษตรกรเลโซโทสามารถผลิตอาหารได้ ทรงเคยเสด็จฯ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเสด็จฯ ยังศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เป็นการส่วนพระองค์ เนื่องจากทรงสนพระราชหฤทัยในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขอพระบรมราชานุญาตนำแนวพระราชดำริดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ยังประเทศเลโซโท ประเทศเลโซโท เป็นประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ที่ราบสูง มีขนาดใหญ่กว่า จ.อุบลราชธานีเล็กน้อย พรมแดนถูกห้อมล้อมด้วยประเทศแอฟริกาใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง ผลิตอาหารไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2549 ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไทยเดินทางไปให้ความรู้ และมอบทุนในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเกษตรตัวอย่างในประเทศเลโซโทขึ้น จนกระทั่งเกษตรกรที่นั่นสามารถผลิตอาหารเองได้ นับว่าเป็นการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนประเทศเลโซโทเพื่อติดตามความก้าวหน้า และพบว่าประสบความสำเร็จ จึงได้ส่งมอบอาคารการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่เลโซโทดำเนินการต่อ เรื่องราวข้างต้นนี้ นับว่าเป็นน้ำพระราชหฤทัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อประชาชน ที่ไม่เพียงแต่ราษฎรของพระองค์ในประเทศไทย แต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงประชาชนโลก และเข้าใจได้ว่า เหตุใดสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท จึงเสด็จฯ มาสักการะพระบรมศพ พ่อหลวงอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย
กษัตริย์ แห่งเลโซโท เสด็จฯ ถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จฯ สักการะพระบรมศพ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพและทรงพระอักษรแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และอาคารสำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง
เป็นอีก หนึ่งประเทษ ที่น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ จนเกษตรกรเลโซโทสามารถผลิตอาหารได้
เป็นอีก หนึ่งประเทษ ที่น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ จนเกษตรกรเลโซโทสามารถผลิตอาหารได้
ทรงเคยเสด็จฯ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเสด็จฯ ยังศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ เป็นการส่วนพระองค์ เนื่องจากทรงสนพระราชหฤทัยในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขอพระบรมราชานุญาตนำแนวพระราชดำริดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ยังประเทศเลโซโท
ประเทศเลโซโท เป็นประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ที่ราบสูง มีขนาดใหญ่กว่า จ.อุบลราชธานีเล็กน้อย พรมแดนถูกห้อมล้อมด้วยประเทศแอฟริกาใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง ผลิตอาหารไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อปี พ.ศ. 2549 ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไทยเดินทางไปให้ความรู้ และมอบทุนในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเกษตรตัวอย่างในประเทศเลโซโทขึ้น จนกระทั่งเกษตรกรที่นั่นสามารถผลิตอาหารเองได้ นับว่าเป็นการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ประเทศเลโซโท เป็นประเทศเล็ก ๆ ในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ที่ราบสูง มีขนาดใหญ่กว่า จ.อุบลราชธานีเล็กน้อย พรมแดนถูกห้อมล้อมด้วยประเทศแอฟริกาใต้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล ภูมิประเทศค่อนข้างแห้งแล้ง ผลิตอาหารไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
เมื่อปี พ.ศ. 2549 ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไทยเดินทางไปให้ความรู้ และมอบทุนในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเกษตรตัวอย่างในประเทศเลโซโทขึ้น จนกระทั่งเกษตรกรที่นั่นสามารถผลิตอาหารเองได้ นับว่าเป็นการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
และในปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนประเทศเลโซโทเพื่อติดตามความก้าวหน้า และพบว่าประสบความสำเร็จ จึงได้ส่งมอบอาคารการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่เลโซโทดำเนินการต่อ
เรื่องราวข้างต้นนี้ นับว่าเป็นน้ำพระราชหฤทัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อประชาชน ที่ไม่เพียงแต่ราษฎรของพระองค์ในประเทศไทย แต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงประชาชนโลก และเข้าใจได้ว่า เหตุใดสมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท จึงเสด็จฯ มาสักการะพระบรมศพ พ่อหลวงอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น