ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประเพณีลอยกระทง

   
 ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญที่คนไทยได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน ๑๒ 
       วัตถุประสงค์ของการลอยกระทงนั้นขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น 
                   ๑.  เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 
                   ๒.  เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า 
                   ๓. เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ...
 
ประเพณีลอยกระทงภาคกลาง
          การลอยกระทงของภาคกลางนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีพระราชพิธี “จองเปรียงลดชุดลอยโคม” ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกพิธีนี้ว่า “ลอยพระประทีปกระทง” เนื่องจากโปรดให้ทำเป็นกระทงใหญ่ บนแพหยวกกล้วย ตกแต่งอย่างวิจิตรพิศดารประกวดประชันกัน แต่ในรัชกาลต่อมาก็โปรดให้เปลี่ยนกลับเป็นเรือลอยพระประทีปแบบสมัยอยุธยา ในสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลิก พิธีนี้เสียเพราะเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง
กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทคือ
                  กระทงแบบพุทธ เป็นกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง ใบโกศล หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆ ภายในกระทงจะตั้งพุ่มทองน้อย ถ้ากระทงใหญ่จะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเล็กใช้พุ่มเดียวและธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม และวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น
                 กระทงแบบพราหมณ์ วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำกระทงแบบพุทธ จะแตกต่างกัน คือไม่ มีเครื่องทองน้อย บางท้องถิ่นจะมีการใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ เล็บเท้า เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว เป็นพิธีความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพรามณ์

ประเพณีลอยกระทงภาคใต้
 
         การลอยกระทงของชาวใต้ส่วนใหญ่นำเอาหยวกมาทำเป็นแพบรรจุเครื่องอาหารแล้วลอยไปแต่มีข้อน่าสังเกตคือ การลอยกระทงทางภาคใต้ ไม่ มีกำหนดว่าเป็นกลางเดือน ๑๒ หรือเดือน ๑๑ ดังกล่าวแล้ว แต่จะลอยเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อให้หายโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเป็นอยู่ เป็นการลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์การตกแต่งเรือหรือแพลอยเคราะห์ จะมีการแทงหยวก เป็นลวดลายสวยงามประดับด้วยธงทิว ภายในบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน เงินและเสบียงต่างๆ ตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น
       การลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดที่อยู่ติดแม่น้ำสายใหญ่ จะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตาซึ่งเป็นพิธีที่ได้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
        ความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติในเทศกาลออกพรรษา ทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ตามแม่น้ำลำคลอง
        จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุบลราชธานี
        โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือเป็นประเพณีสำคัญมาก เรือไปหรือที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า เฮือไฟ เป็นเรือที่ทำด้วยกล้วยหรือไม้ไผข้างในของเรือบรรจุด้วยข้าวต้มมัดหรือสิ่งของที่เราต้องการจะบริจาค ข้างนอกมีเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดเรือให้สว่างไสวก่อนที่จะปล่อยเรือ ซึ่งเรียกว่า การไหลเรือไฟ
        มูลเหตุของการไหลเรือไฟนั้นมีคตินิยมเช่นเดียวกับการลอยกระทง มีประเด็นความเชื่อ คือ
                ๑.  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท
                ๒.  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย
                ๓.  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระแม่น้ำคงคา
                ๔.  ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาค เรือไฟโบราณ ใช้ต้นกล้วยต่อกันเป็นแพรให้มีลักษณ์คล้ายกาบกล้วยตกแต่งด้วยดอกไม้สดที่หาได้ตามท้องถิ่น พร้อมวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นใส่ลงไปภายในตัวเรือ เรือไฟขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ไผ่มัดต่อกันเป็นแพลูกบวบ ขึ้นโครงไม้ไผ่เป็นฉากดัดโครงลวดเป็นรูปทรงต่างๆ ส่วนใหญ่จะประดิษฐ์เป็นรูปเรือ รูปพญานาค นำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ ใช้ขี้ไต้หรือขวดน้ำมันใส่ใส้ผูกติดกับโครงลวดเป็นระยะขึ้นอยู่กับรูปภาพที่กำหนด

ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือ

                   การลอยกระทงของคนในภาคเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

                  ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า บ้างว่า เป็นคติความเชื่อว่าเป็นการบูชา และขอขมาพระแม่คงคาเป็นการสะเดาะเคราะห์ และบูชาพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระบาทเป็นต้น

                  ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
                 "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." ในปัจจุบันได้มีการจัดงานวันลอยกระทงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ โดยจัดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ในหลายๆจังหวัด เช่น

                  ประเพณีกระทงสาย ของจังหวัดตากเป็นพิธีที่นำเอาพระพุทธศาสนาภูมิปัญญา ของชาวบ้าน มาหล่อหลอมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่น ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน จะมีลักษณะที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น เมื่อเรานำกระทงมาลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวทำให้ดูแล้วสวยงามมาก ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็นการประกวดกระทงสวย

                ส่วนประกอบของกระทงสาย
 มีดังนี้

                 1.กระทงนำ เป็นกระทงที่มีขนาดที่ใหญ่ที่ตกแต่งด้วยใบตองสด ซึ่งประกอบไปด้วยดอกไม้สดหลากหลายที่สันที่มีความสวยงามพร้อมมีผ้าสบง เครื่องกระยาบวช หมาก พลู ขนม ฯลฯ เพื่อทำพิธีจุดธูปเทียวบูชาแม่น้ำคงคาและบูชาพระพุทธเจ้า และจากนั่นก็น้ำลงลอยเป็นอันดับแรก

               2.กระทงตาม เป็นกระทงกะลามะพร้าวที่ไม่มีรู นำมาขัดถูให้สะอาด ภายในกะลานี้ ใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อด้วยเทียนไขหรือน้ำผึ้ง สำหรับเป็นเชื้อไฟจุดก่อนปล่อยลงลอย

              3.กระทงปิดท้าย เป็นกระทงขนาดกลาง ที่ตกแต่งอย่างสวยงามคล้ายกระทงน้ำแต่มีขนาดที่เล็กกว่า เป็นการบ่งบอกถึงการสิ้นสุดการลอยของสายนั่นๆ

ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไลไฟพะเนียง ของจังหวัดสุโขทัย ซึ่งจะจัดให้มีการลอยกระทง และพิธีเผาตะคัน เผาเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดแล้วนำไปวางบนฐานหรือระเบียงโบสถ์ วิหาร พระเจดีย์ เพื่อเป็นพุทธบูชา และเรียกงานนี้ว่า "งานเผาเทียน เล่นไฟ"

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.gotoknow.org/posts/510245

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ