ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รศ.วราพร สุรวดี ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เสียชีวิตแล้ว

 รศ.วราพร สุรวดี  ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เสียชีวิตแล้ว หลังประสบอุบัติเหตุตกจากชั้น 2 ของบ้านพัก รักษาตัวในไอซียูนานกว่า 1 สัปดาห์
วันนี้ (25 ม.ค.60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.วราพร สุรวดี  ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก – ประธานกรรมการมูลนิธิอินสาท-สอาง เสียชีวิตแล้ว หลังจากประสบอุบัติเหตุตกจากชั้น 2 ของบ้านพัก เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา และได้รับบาดเจ็บสาหัส จากนั้น รศ.วราพร ได้พักรักษาตัวอยู่ที่ห้องไอซียู สถาบันประสาทวิทยานานกว่า 1 สัปดาห์ โดยล่าสุดเฟซบุ๊ก Rapee Tor โพสต์ข้อความระบุว่า เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ร่างกายท่านไม่ตอบสนองต่อยา มือบวม กระทั่งเที่ยงของวันนี้ท่านไม่รู้สึกตัว ไม่มีปฏิกริยาเหมือนวันก่อน ๆ และเสียชีวิตลงเมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.
สำหรับ รศ.วราพร เคยตกเป็นข่าวดัง เนื่องจากเปิดรับบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินด้านข้างพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ในราคา 40 ล้านบาท ซึ่งท่านเองได้นำเงินส่วนตัวมัดจำ 30 ล้านบาท เหลืออีก 10 ล้านบาท จึงขอรับบริจาคจากประชาชน เนื่องจากทางเจ้าของที่ดินเดิมมีแผนสร้างตึกสูง ทาง ร.ศ. วราพร จึงอยากซื้อที่ดินดังกล่าวไว้ เพราะเกรงว่าหากมีการสร้างตึกสูงจริง จะทำให้บดบังทัศนียภาพ และอาจจะส่งกระทบต่อโครงสร้างอาคารของพิพิธภัณฑ์ได้
สำหรับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ประกอบด้วยที่ดินตามโฉนด 2 แปลง รวม 1-0-6 ไร่ เป็นของตกทอดตั้งแต่บรรพบุรุษมาจนถึงมารดาของ รศ.วราพร คือ นางสอาง สุรวดี (ตันบุญเต็ก) เมื่อท่านถึงแก่กรรม ตัวบ้านจึงถูกปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ด้วยความสนใจส่วนตัวในด้านศิลปวัฒนธรรม
อีกทั้งต้องการรักษาสถาปัตยกรรมและข้าวของเครื่องใช้อันล้ำค่าของชาวบางกอก เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ต่อมาได้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คืออาคารพิพิธภัณฑ์ทั้ง 4 หลัง อีกทั้งข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงอยู่ภายใน ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กทม.ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2547 กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก มีผู้เยี่ยมชมเดือนละกว่า 700 คน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ