ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เดิมพันของคนทั้งชาติ

เดิมพันของคนทั้งชาติ

"บิ๊กตู่"ชี้ ปฏิรูป-ปรองดอง ไม่ใช่เดิมพันของรัฐบาลและ คสช. แต่เป็นเดิมพันของคนทั้งชาติ /ขอช่วยกันต้านทุจริต ลั่น"คนโกงรายเก่าจะต้องหมดไป คนโกงรายใหม่ต้องไม่เกิด และไม่เปิดโอกาสให้มีการโกงในทุกวงการ"/ สั่งตรวจสอบ สินบนRR หาตัวคนผิด
เสธ.ไก่อู พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวอ้างจากสื่อมวลชน นักวิชาการ และนักการเมือง ว่า เรื่องของการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความปรองดอง เป็นเดิมพันสูงยิ่งของรัฐบาลและ คสช. นั้น
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ทุกเรื่องที่พูดมาทั้งหมด ไม่ใช่เดิมพันของรัฐบาลหรือ คสช. แต่เป็นเดิมพัน ของคนไทยทุกคนที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น
ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใด อาชีพใด ต้องช่วยกันคือ การเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ คิดอย่างสร้างสรรค์พาชาติก้าวไปข้างหน้า ไม่โยนภาระให้ใครคนใดคนหนึ่ง และต้องลงมือทำ ไม่ใช่พูดเพียงอย่างเดียว”
พลโท สรรเสริญ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ยังได้ยกตัวอย่างเรื่องการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ว่า เป็นหนึ่งในหลายเรื่องที่รัฐบาลปฏิรูปอย่างจริงจังเพื่อลดความสูญเสียของประเทศอย่างยั่งยืน โดยประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ
"คนโกงรายเก่าจะต้องหมดไป คนโกงรายใหม่ต้องไม่เกิด และไม่เปิดโอกาสให้มีการโกงในทุกวงการ"
จนล่าสุดดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในเดือน ธ.ค.59 ที่สำรวจโดย ม.หอการค้าไทย อยู่ในระดับ 55 ซึ่งดีที่สุดในรอบ 6 ปี
หลังจากคนโกงถูกปิดโอกาส โดยยอดการจ่ายเงินใต้โต๊ะลดลงเหลือร้อยละ 15 จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 90
สำหรับกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ ที่อาจเกี่ยวข้องกับ บริษัทการบินไทย และบริษัท ปตท นั้น รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้มีการตรวจสอบและหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
พร้อมกับวางแนวทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เอกชน และประชาชน ต้องไม่ทุจริตเสียเองและไม่ผลักภาระให้กับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลต่อคะแนนและการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ที่จะจัดอันดับปลายเดือน ม.ค.นี้ เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในอดีตตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสังคมก็คงต้องมองย้อนกลับไปพิจารณาดูว่าเป็นยุคสมัยใด”
Cr. facebook/wassana nanuam

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ