ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เชิญชวนประชาชนร่วมทำดอกไม้จันทน์ถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙

มีข่าวมา ประชาสัมพันธ์ ครับ
กทม. เชิญชวนประชาชนร่วมทำดอกไม้จันทน์ถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙
กรุงเทพมหานคร เชิญชวนประชาชนร่วมเป็นจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ณ อาคารกีฬาเวสน์ ๑ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) ดินแดง
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฝ่ายจัดพิธีการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้จัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ของภาคประชาชนพร้อมทั้งติดตั้งซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรองรับให้เพียงพอกับประชาชนที่คาดว่าจะเข้าร่วมพิธีในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งให้จัดเตรียมดอกไม้จันทน์สำหรับประชาชนที่จะเข้าร่วมพิธี ฯ จำนวนทั้งสิ้น ๓ ล้านดอก
สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร รับหน้าที่จัดเตรียมดอกไม้จันทน์สำหรับประชาชน โดยสำนักพัฒนาสังคมได้ออกแบบดอกไม้จันทน์ จำนวนรวม ๓๖ แบบ พร้อมทั้งเปิดสอนแก่ประชาชนทั่วไป ณ โรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร ๑๐ แห่ง ศูนย์ฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร ๕ แห่ง อีกทั้งจัดหน่วยฝึกอาชีพสัญจรไปยังชุมชนต่าง ๆ และในวันที่ ๒๔ – ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ กรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนจิตอาสาร่วมจัดทำดอกไม้จันทน์ ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) ดินแดง
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังจัดทำคลิปสอนทำดอกไม้จันทน์ทั้ง ๓๖ แบบ ทยอยเผยแพร่ทาง เว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร www.bangkok.co.th และเว็บไซต์กองประชาสัมพันธ์กทม. www.prbangkok.com สำหรับประชาชนไม่สะดวกเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมก็สามารถเรียนการทำดอกไม้จันทน์ ได้ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว
ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนที่ประสงค์จะจัดทำดอกไม้จันทน์มามอบให้กรุงเทพมหานครเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาร่วมพระราชพิธีสามารถนำมาส่งได้ที่ กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร (ดินแดง) โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๗ ๙๔๙๓
ที่มา: หน่วยงาน กรุงเทพมหานคร


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ