ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันเข้าพรรษา

 วันเข้าพรรษา

เริ่มต้นจากวัน แรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ที่มาแห่งวันพรรษา เริ่มมาหลังสมัยพุทธกาล "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่า "ปุริมพรรษา"

ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า "ปัจฉิมพรรษา" เว้นแต่มีกิจธุระคือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า "สัตตาหะ" หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา นับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา...

"ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา" 

"ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"

กิจกรรมวันเข้าพรรษา

1.กิจกรรมวันเข้าพรรษา มาหล่อเทียนพรรษา

ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา กิจกรรมวันเข้าพรรษา ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ ก็คือพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา ซึ่งถ้าเป็นนักเรียนก็จะได้ทำกิจกรรมนี้ในโรงเรียน หรือเราอาจเห็นตามห้างสรรพสินค้า ถึงแม้ว่าเทียนอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้เท่าไหร่แล้ว แต่ก็เป็นกิจกรรมส่งเสริมและให้ความสำคัญกับประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่ดีอันหนึ่งทีเดียว

2.กิจกรรมวันเข้าพรรษา ถวายเทียนพรรษา
เมื่อหล่อเทียนเสร็จแล้ว ก็ต้องมีพิธีถวายเทียนพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่ชาวพุทธนิยมทำกัน พิธีแห่เทียนจำนำพรรษาก็จะมีขบวนสาธุชน ดอกไม้ อาจมีการเวียนประทักษิณรอบพระอุโบสถก่อน แล้วจึงนำไปถวายแด่คณะสงฆ์ยังวัดนั้นๆ

3.กิจกรรมวันเข้าพรรษาถวายผ้าอาบน้ำฝน และร่ม
เพราะว่าในช่วงเข้าพรรษา เป็นช่วงฤดูฝน พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายร่มกันในช่วงเข้าพรรษา เป็นการทำบุญตามกาล ว่าเวลานี้ควรแก่การถวายสิ่งใด ก็ถวายสิ่งนั้น

4.กิจกรรมวันเข้าพรรษา ตั้งใจทำทาน ตักบาตรพระทุกวัน 
หลายๆ คนอาจปวารณาว่าในช่วงเข้าพรรษานี้ขอทำความดีให้มากขึ้น คือ ทำทานให้สม่ำเสมอทุกวัน โดยอาจตั้งใจว่า จะตักบาตรพระหน้าบ้านให้ได้ทุกวัน หรืออย่างน้อยตักบาตรห้ได้ทุกวันพระ เป็นต้น

5.กิจกรรมวันเข้าพรรษา ด้วยการตั้งใจนั่งสมาธิทุกวัน
เป็นไปได้ที่เราจะตั้งใจนั่งสมาธิให้ได้ทุกวัน วันละ 15 นาที 30 นาที 60 นาที ซึ่งก็มีกิจกรรมให้เราได้บันทึกผลการปฏิบัติธรรมออนไลน์ได้ เราสมารถพัฒนาการนั่งสมาธิของตัวเราเอง และเห็นผลการปฏิบัติธรรมของกันและกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการนั่งสมาธิ ดำเนินตามคำสอนของพระสัมมสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ