ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติการกินเจ

 ประวัติการกินเจ


เทศกาลกินเจเดือนเก้า หรือ เทศกาลกินเจ (เก้าอ๊วงเจ หรือ กิวอ๊วงเจ) เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวจีน โดยจะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำตามปฏิทินจีนของทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน ผู้คนส่วนหนึ่งจะไม่กินเนื้อสัตว์ ทำให้ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากมีการฆ่าสัตว์น้อยลง ผู้คนที่ศรัทธาในพุทธศาสนาจะพากันสละกิจโลกียวัตร และ พากันเข้าวัดวาอารามบำเพ็ญศีลสมาทาน กินเจ คือ บริโภคแต่อาหารจำพวกพืชผัก และ ผลไม้เป็นหลัก ละเว้นไม่กระทำกิจใด ๆ อันนำมาซึ่งการเบียดเบียนเดือดร้อนให้เกิดแก่สัตว์โลก คือการไม่เอา ชีวิต เลือด เนื้อของสัตว์โลกให้มาเป็นของเรา พากันซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจา และ ใจ สวมเสื้อผ้าขาวสะอาด เข้าวัดเข้าวา พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน ทำบุญทำทานแก่สัตว์โลกผู้ยากไร้ ถือศีลกิจเจเป็นเวลา 9 วัน ผู้ถือศีลกินเจ จะมีการชำระกระเพาะให้สะอาดก่อน โดยการกินเจในมื้อเย็นก่อนวันจริง 1 มื้อ และ มื้อเช้าหลังวันที่เก้าขึ้น 9 ค่ำอีก 1 มื้อเป็นการลา ซึ่งจะเป็นวันส่งเจ้า ในช่วง 9 วันนี้ ทุกวันคี่ จะถือเป็นวันเจใหญ่ พุทธบริษัทจะไปทำบุญ และ กินเจที่ศาสนสถาน นอกนั้นจะถือศีลกินเจที่บ้านเทศกาลกินเจ มาจากคำบอกเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเชิงปรำปรา และ มาจากคำสอน ความเชื่อทางศาสนาพุทธ ฝ่ายนิกายมหายาน เป็นกุศโลบายให้คนทำความดี เหมือนเช่นเรื่องอื่นๆ แต่คนรุ่นหลังได้มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งพิธีการ เพื่อให้เกิดความขลัง ให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น จึงทำให้กลายเป็นพิธีการที่ต้องใช้เงินใช้ทองมากมายในการประกอบพิธีให้ครบถ้วน


ตำนานที่มาของการกินเจ มีเรื่องเล่าอยู่ถึง 7 เรื่องได้แก่


ตำนานที่ 1 รำลึกถึงวีรชนทั้ง 9

เทศกาลกินเจเริ่มขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูผู้รุกรานอย่างกล้าหาญ ถึงแม้จะแพ้และต้องตายก็ตาม ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่าง กายและจิตใจ 

ตำนานที่ 2 บูชาพระพุทธเจ้า

เชื่อว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า "ดาวนพเคราะห์" ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาจะสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีล งดเว้นเนื้อสัตว์ และแต่งกายด้วยชุดขาว 

ตำนานที่ 3 เก้าอ๊องฝ่ายมหายาน

กล่าวไว้ว่า การกินเจเป็นพิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์ (หรือ "เก้าอ๊อง") 
ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง ซึ่งได้แก่ คือ
1.พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ (ดาวไท้เอี้ยงแช คือ พระอาทิตย์)

2.พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ (ดาวไท้อิมแช คือพระจันทร์ )

3. พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ(ดาวฮวยแช คือ ดาวอังคาร)

4 พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ(ดาวจุ้ยแช คือ ดาวพระพุทธ)

5.พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ(ดาวบักแช คือ ดาวพฤหัสบดี)

6. พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ(ดาวกิมแช คือ ดาวพระศุกร์)

7. พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ(ดาวโท้วแช คือ ดาวพระเสาร์)

และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือ
 
1.ใพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์(ดาวล่อเกาแช คือพระราหู)

2.พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ (ดาวโกยโต้วแช คือ พระเกตุ)
รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ ทั้ง 9 ได้แก่
พระอาทิตย์, พระจันทร์, ดาวพระอังคาร, ดาวพระพุธ, ดาวพระพฤหัสบดี, ดาวพระศุกร์, ดาวพระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ

โดยกล่าวกันไว้ว่า พระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์รวมเป็น 9 พระองค์หรือ “เก้าอ๊อง” ซึ่งได้ทรงตั้ง ปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ


ตำนานที่ 4 พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้อง

เชื่อว่าการกินเจกินเจเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่ง เป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการ เมือง ประเพณีนี้เข้ามาสู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่ อีกทอดหนึ่ง 

ตำนานที่ 5 เล่าเอี๋ย

เมื่อ 1,500 ปีก่อน ณ มณฑลกังไสซึ่งเป็นแดนแห่งความเจริญรุ่งเรือง ฮ่องเต้เมืองนี้มีพระราชโอรส 9 พระองค์ซึ่งเก่งทั้งบุ๋น บู๊ ทำให้หัวเมืองต่างๆ ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นแคว้นก่งเลี้ยดที่มีอำนาจเข้มแข็ง และมีกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ทั้งสองแคว้นทำศึกกันมาถึงครั้งที่ 4 แคว้นก่งเลี้ยดชนะโดยการทุ่มกองกำลังทหารที่มากกว่าหลายเท่าตัว โอบล้อมกองทัพพระราชโอรสทั้งเก้าไว้ทุกด้าน แต่กองทัพก่งเลี้ยดไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้จึงถอยทัพกลับ จนวันหนึ่งชาวกังไสเกิดความแตกสามัคคีและเอาเปรียบกัน เทพยดาทราบว่า อีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติจึงหาผู้อาสาช่วย แต่ชาวบ้านจะพ้นภัยได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างผลบุญของตนเอง ดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์โตรับอาสา และเพ่งญาณเห็นว่า ควรเริ่มที่บ้านเศรษฐีใจบุญลีฮั้วก่าย คืนวันหนึ่งคนรับใช้แจ้งเศรษฐีลีฮั้วก่ายว่า มีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบ เศรษฐีจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไป และประกาศให้ชาวเมืองถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ผู้ใดทำตามภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีนำมาปฏิบัติก่อน และผู้อื่นจึงปฏิบัติตาม จนมีการจัดให้มีอุปรากรเป็นมหรสพในช่วงกินเจด้วย เล่าเอี๋ยเกิดศรัทธาประเพณีกินเจของมณฑลกังไส จึงได้ศึกษาตำราการกินเจของ เศรษฐีลีฮั้วก่ายที่บันทึกไว้ แต่ได้ดัดแปลงพิธีกรรมบางอย่างให้รัดกุมยิ่งขึ้นและให้มีพิธียกอ๋องฮ่องเต้ (พิธีเชิญพระอิศวรมาเป็นประธานในการกินเจ) 

ตำนานที่ 6 เล่าเซ็ง

มีชายขี้เมาคนหนึ่งชื่อ เล่าเซ็ง เข้าใจผิดว่า แม่ตนตายไปเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร จนคืนหนึ่งแม่มาเข้าฝันว่า ตนตายไปได้รับความสุขมาก เพราะแม่กินแต่อาหารเจ และหากลูกต้องการพบให้ไปที่เขาโพถ้อซัว บนเกาะน่ำไฮ้ ครั้นถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว เล่าเซ็งจึงขอตามเพื่อนบ้านไปไหว้พระโพธิสัตว์ด้วย โดยเพื่อนบ้านให้เล่าเซ็งสัญญาว่า จะไม่กินเหล้าและเนื้อสัตว์จึงยอมให้ไป แต่ระหว่างทางเล่าเซ็งผิดสัญญา เพื่อนบ้านจึงหนีไป โชคดีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์เช่นกัน เขาจึงขอตามนางไปด้วย เมื่อถึงเขาโพถ้อซัว ขณะที่เล่าเซ็งก้มลงกราบพระโพธิสัตว์อยู่นั้น เขาเห็นแม่ลอยอยู่เหนือกระถางธูป แต่คนอื่นมองไม่เห็น ขณะเขาเดินทางกลับ ได้เจอกับเด็กชายยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถามไถ่จนทราบว่า เด็กคนนั้นเป็นลูกชายของเขากับภรรยาเก่าที่เลิกกันไปนานแล้ว เขาจึงพาไปอยู่ด้วย และต่อมาหญิงสาวที่นำทางเล่าเซ็งไปพบพระโพธิสัตว์ได้มาขออยู่ด้วย ทั้งสามอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หญิงสาวคนนั้นเป็นสาวบริสุทธิ์ มีความประพฤติดี อยู่ในศีลธรรม และถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ นางรู้ว่าใกล้ถึงวันตายของนางแล้ว จึงบอกเล่าเซ็ง เมื่อถึงวันนั้นนางแต่งตัวด้วยอาภาณ์ขาวสะอาด นั่งสักครู่แล้วก็สิ้นลม เล่าเซ็งเห็นการจากไปด้วยดีของนางคล้ายกับแม่ จึงเกิดศรัทธา ยกสมบัติให้ลูกชาย แล้วประพฤติตัวใหม่ เมื่อตายไปจะได้บังเกิดผลเช่นเดียวกับแม่ และหญิงสาว ประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้น


ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต

มีคณะงิ้วจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่อำเภอกระทู้นานเป็นแรมปี บังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคระบาดก็หาย ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาจึงปฏิบัติตาม หลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์แบบตามประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) จากกังไสให้ลอยมาถึงภูเก็ต โดยในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน หากจะถือตามนิยายปรำปราอิงประวัติศาสตร์ในปลายราชวงศ์ซ้อง ซึ่ง บันทึกไว้ในหนังสือ “ประวัติวัฒนธรรมจีน” เรียบเรียงโดย ล.เสถียรสุต เล่าไว้ว่า กษัตริย์องค์สุดท้ายมีพระชนม์ชีพเพียง 9 พรรษา เสด็จหนีพวกมงโกลไปยังเกาะไต้หวัน แต่ได้สิ้นพระชนม์ชีพที่กลางทะเลนั่นเอง ข้าราชบริพาร พากันแต่งกายไว้ทุกข์ และ จัดพิธีทางศาสนาพุทธเป็นการอำพราง แต่สิ่งของต่าง ๆ ในพิธีเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่กษัตริย์จีนใช้ และ ในพิธียังใช้ราชาศัพท์ ชาวจีนแต้จิ๋วที่เดินทางมาจากฮกเกี้ยนที่ซึ่งกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ซ้องเหยียบแผ่นดินเป็นแห่งสุดท้าย ได้นำพิธีดังกล่าวมาประเทศไทยด้วย




เมื่อถึงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามจันทรคติจีน เทพเจ้าทั้ง 9 จะผลัดเปลี่ยนกันมาตรวจโลก คอยให้คุณให้โทษแก่ประชาชนทั่วไป ด้วยความที่เทพเจ้าทั้ง 9 ทรงมีน้ำพระทัยเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาคุณ ควบคุมให้ถึงพร้อมด้วยความบริบูรณ์ทางธรรม สอดส่องควบคุมทุกข์สุขของสัตว์โลกด้วย บัณฑิตโบราณจึงบัญญัติไว้ว่า การทำพิธีกรรมบูชาดาวนพเคราะห์ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ให้พุทธบริษัทมาประชุมบำเพ็ญกุศลวัตรถวายพุทธบริโภค รักษาศีล สดับฟังพระอภิธรรม และ ธรรมเทศนา บริจาคไทยทาน ทิ้งกระจาด และ ลอยกระทงแผ่กุศลแก่สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากในนรกอเวจี อันมีเปรตอสูรกายเป็นอาทิ และ ทำการปล่อยนกปล่อยปลา เต่า เป็นต้น

ส่วนความเชื่ออันเป็นที่มาของการถือศีลกินเจของภาคใต้ โดยเฉพาะที่ภูเก็ตนั้น มีที่มาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และ พระโพธิสัตว์เช่นกัน และ มีชื่อพระพุทธเจ้าต่างออกไปบ้างแต่สุดท้ายก็แบ่งภาคมาเป็น นพราชาเหมือนกัน เบื้องต้น มาจากแคว้น กังไส พระราชโอรสทั้งเก้าเสียชีวิตในสงคราม และจุติเป็นวิญญาณอมตะเที่ยวสอดส่องดูแลทุกข์สุขของชาวเมืองกังไส และได้แนะนำให้เศรษฐีผู้ใจบุญให้ถือศีลกินเจ ผลไม้ 5 อย่าง ผัก 6 อย่าง พร้อมกับจุดตะเกียง 9 ดวง อันหมายถึงพระราชโอรสทั้ง 9 พระองค์ ในระหว่างกินเจ ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามของคาวทุกชนิด ห้ามดื่มของมึนเมาเป็นต้น เศรษฐีเห็นว่าพระราชโอรสได้สอนและหายตัวไปในวันที่ 1 เดือน 9 จึงได้กินเจวันดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาคณะงิ้วผ่านมาเห็นเป็นเรื่องน่ารู้จึงนำเรื่องราวไปแต่งเติมและเล่นงิ้วเผยแพร่ไปทั่ว พิธีกินเจที่คณะงิ้วนำไปแสดงนั้นมีกำหนดพิธีการต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอนเช่น พิธีอัญเชิญพระอิศวรมาประทับเป็นประธานในพิธีกินเจ พิธีสักการะนพราชา พิธีปล่อยทหารเอกออกไปรักษามลฑณพิธี พิธีเลี้ยงอาหารทหาร พิธีเรียกทหารกลับ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา และจบด้วยพิธีบวงสรวงดาวนพเคราะห์ ซึ่งพิธีกินเจบางแห่ง เช่นทางภาคใต้ของไทยมีการแสดงทรมานกาย มีการแสดงทางทหารเช่นการแสดงเอ็งกอ นั่นก็มาจากคณะงิ้วที่นำมาเผยแพร่นั่นเอง

การถือศีลกินเจในเทศกาลกินเจเดือน 9 ตามปฏิทินจีนตามข้างต้นนั้น เป็นความเชื่อที่ถือกันมาแต่โบราณ เป็นกุศโลบายของนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ผู้มีกุศลจิตในสมัยนั้นที่ต้องการให้ผู้คนให้อยู่ในศีลในธรรม ถือศีลกินเจ ทำบุญทำทานเพื่อให้จิตใจอ่อนโยน มีความเมตตา กรุณาต่อมวลสัตว์โลกทั้งหลาย แม้ความเชื่อจะต่างกัน แต่ผลแห่งการกระทำนั้นคือจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ บุคคลทั่วไปควรจะลดละอกุศลกรรมทั้งมวล อุตสาหสะสมแต่สิ่งที่ดีงาม เพื่อรับพรจากเทพเจ้าทั้ง 9 กระองค์ ก็จักทำให้จิตใจเบิกบาน ผ่องแผ้ว มีแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตสืบไป
นอกจากนั้น การกินเจยังเชื่อกันว่าเพื่อเป็นการสักการะพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรือดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ในพิธีกรรมนี้งดเว้นการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล โดยตั้งปณิธานการกินเจ งดเว้นอาหารคาวด้วยการสมาทานรักษาศีล 3 ข้อ คือ
  • เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตคน
  • เว้นจากการเอาเลือดของสัตว์มาเพิ่มเลือดตน
  • เว้นจากการเอาเนื้อของสัตว์มาเป็นเนื้อตน

เพื่อซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจาและใจ โดยต่างสวมเสื้อผ้าสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากจุดด่างพร้อย พากันมุ่งหน้าเดินทางเข้าสู่วัดวาอาราม พร้อมด้วยดอกไม้, ธูปเทียน เพื่อไปนมัสการบูชาแด่สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์ อีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์ 2 พระองค์ พร้อมจัดหาเครื่องกระดาษทำเป็นรูปเครื่องทรงเสื้อผ้า, หมวก, รองเท้า, กระดาษเงินและกระดาษทองต่างๆ ไปน้อมถวายเป็นเครื่องสักการะ เป็นกุศลสมาทาน (ซึ่งในอดีตนั้น จะนำเอาวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ปัจจัย 4 นำไปถวายนักบวช, พระ, เณร หรือผู้ทรงศีล และแจกทานด้วยเสื้อผ้าเงินทองที่เป็นของจริงๆ แก่คนยากจน แต่ภายหลังได้แปรเปลี่ยนไปกลายเป็นใช้กระดาษแทนของจริง) หลังจากนั้นก็จะร่วมกันสวดมนต์ ทำสมาธิภาวนา แผ่เมตตาจิตขอพร เพื่อความเจริญ สมบูรณ์พูนสุข


ความหมายของคำว่า “ เจ ”


คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า “ อุโบสถ ” คำว่า “ กินเจ ” ตามความหมายที่แท้จริงแล้วคือ การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่า กินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ 
ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือ คนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ จึงจะเรียกว่า “กินเจที่แท้จริง ”
ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋) เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมาโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี คนไทยในรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ในวัน ธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ อุโบสถศีล ” ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจ ผิดว่า “อุโบสถ” ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาดและถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้วอุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์ การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบาย วัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า “การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์” หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผู้คนในช่วงเทศกาลกินเจ ล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็น พิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป็นการส่วนตัวเท่านั้น)ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( 小 ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( 示 ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี แจ( 齋 ) จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์(ทั้งกายและใจ)เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดาซึ่งการอธิบายในแนวทางนี้จะสอดคล้องกับ คำว่า “ 齋醮 ” ในลัทธิเต๋า ซึ่งย่อมาจากคำว่า 供齋醮神 ที่แปลว่าการบำเพ็ญกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นสักการบูชาเทพยดาความหมายของแจในศาสนาอิสลาม ศัพท์คำว่า ศีลแจ / 齋戒 ในภาษาจีน นอกจากใช้ในลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธแล้ว ยังหมายถึง “ศีล อด” ที่ถือปฏิบัติในเดือนถือศีลอดของชาวจีนอิสลาม สาระของศีลก็คือการห้ามรับประทานอาหารใดๆในระหว่างเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจวบ จนลับขอบฟ้า ตลอดเดือนถือศีลอดแจในวัฒนธรรมดั่งเดิมของจีนศัพท์ แจ พบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เช่น 禮記 , 周易 , 易經 , 孟子 , 逸周書 (เอกสารที่อ้างนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นคัมภีร์ในลัทธิหยู) เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี(齊 )แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า ไจ เช่น คำว่า ไจเจี๋ย / 齊潔 หรือ ไจเจี้ย / 齊戒 ซึ่งก็คือการออกเสียงแจในสำเนียงแต้จิ๋วนั่นเอง อักษรฉีในเอกสารนั้นนักอักษรศาสตร์ตีความว่าแท้จริงแล้วก็คืออักษรตัวแจหรือ ใช้แทนตัวแจ แจที่ว่านี้หาได้หมายถึงการงดกินของสดคาว หรือ การงดรับประทานอาหารหลังเที่ยง หากหมายถึงการชำระล้างร่างกาย สงบจิตใจ และสวมใส่เสื้อผ้าใหม่สะอาด เป็นการเตรียมกายและใจให้บริสุทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสักการะบูชา ขอพร หรือแสดงความขอบคุณต่อเทพยดาแห่งสรวงสวรรค์ 

เทศกาลกินเจ เก๋าอ่วงเจ หรือ กิ๋วอ่วงเจ แล้วแต่จะออกเสียง เป็นพิธีกรรมที่พุทธบริษัทไทยเชื้อสายจีนถือปฏิบัติมาแล้วนับสิบ นับร้อยปี โดยทั่วไป ผู้ที่จะเข้าสู่เทศกาลนี้ จะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมพอสมควร ผู้ที่ถือเคร่ง จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีขาวบริสุทธิตลอดทั้งเทศกาล นอกจากจะกินเจเคร่ง คือการไม่กินพืชผักที่มีกลิ่นหอม หรือ เผ็ดร้อนอันจะนำมาซึ่งกามกิเลศ เช่น หัวหอม กระเทียม ไม่กินแม้กระทั่งน้ำนม ซึ่งผู้กินมังสะวิรัติ บางส่วนจะถือว่าน้ำนมนั้นกินได้ จะไม่ข้องแวะทางโลกีย์วิสัย คิด และ ทำแต่สิ่งที่ดี ระมัดระวังสำรวมในการพูดจา ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้อยู่เพียงแค่นั้นว่า เมื่อถึงเทศกาลนี้ ต้องทำอย่างนี้ แต่จะทราบถึงเหตุที่มาแห่งเทศกาลนี้คงมีเพียงน้อยนิด แต่ที่มาแห่งเทศกาลกินเจนั้นไม่ได้มีมาแต่ความเชื่ออย่างเดียว มีที่มาหลากหลาย 

ความหมายของธงเจ


อักษรแดง บนพื้นเหลือง เขียนว่า "ไจ" หรือ "เจ" มีความหมายว่า "ของไม่มีคาว"สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีลธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน "ถือศีล-กินเจ" ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน

ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิการกุศลมุกดาหาร เด็กก่า จีหมกเกาะ

http://www.tekkacheemukkhor.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ