ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันไปรษณีย์โลก (World Post Day)



 วันไปรษณีย์โลก (World Post Day) 9 ตุลาคม ของทุกๆ ปี
ในวันที่ 9 ตุลาคม ของทุกๆ ปี ถือเป็นวันไปรษณีย์โลก (World Post Day) จะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ซึ่งถือเป็นการครบรอบการก่อตั้งองค์การไปรษณีย์สากล (UPU) ขึ้นในปี 1874 ที่เมืองสวิตส์,เบิร์น และได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันไปรษณีย์โลก โดยมติที่ประชุมองค์การไปรษณีย์สากลของโตเกียวประเทศญี่ปุ่นในปี 1969

นับแต่นั้นมาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันนี้ของทุกปี ที่ทำการไปรษณีย์ในหลาย ๆ ประเทศใช้เป็นวันแนะนำสินค้าและบริการใหม่ๆ ของไปรษณีย์ และมีการจัดทำไปรษณีย์ยากรชุดพิเศษขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายโดยมีระยะสิ้นสุดในวันที่ 9 ตุลาคม จะมีการส่งสารวันไปรษณีย์โลก จาก ผู้อำนวยการขององค์การไปรษณีย์สากลไปยังที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วโลก เพื่ออ่านคำเฉลิมฉลองผ่านสื่อไปทั่วโลก
งานวันไปรษณีย์โลก หรือชื่อในอดีตคือ งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย เป็นงานที่จัดขึ้นโดยไปรษณีย์ของไทย ให้ตรงกับสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย(International Letter Writing Week) ซึ่งกำหนดโดยสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union หรือ UPU) ในปี พ.ศ. 2500 มีวัตถุเพื่อส่งเสริมการเขียนจดหมายระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อสร้างสันติภาพในโลก โดยจะนับเอาสัปดาห์ที่มีวันที่ 9 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสหภาพสากลไปรษณีย์เป็นหลัก
งานวันไปรษณีย์โลก จัดขึ้นทุกปีในกรุงเทพ โดยเปลี่ยนชื่อจาก งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมายในปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้คนเขียนจดหมายลดลง 

ในปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นยังคงออกแสตมป์ สัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย อยู่[3] ในอดีต นอกเหนือจากประเทศไทยแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่จัดงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมายจากการส่งเสริมโดยสหภาพสากลไปรษณีย์ ดังตัวอย่างของแสตมป์ที่ออกมาโดยประเทศต่างดังนี้


แสตมป์ฮังการี พ.ศ. 2502



แสตมป์สหภาพโซเวียต พ.ศ. 2532


แสตมป์คีร์กีซสถาน พ.ศ. 2538



แสตมป์ยูเครน พ.ศ. 2535

ปัจจุบัน สหภาพสากลไปรษณีย์ หันไปสนับสนุนโครงการแข่งขันเขียนจดหมายสำหรับเยาวชนที่ชื่อ International Letter-Writing Competition for Young People [4] และวันไปรษณีย์โลก (World Post Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม แทนส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ