ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท เนื่องในวันวิสาขบูชา 10 พ.ค.นี้

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท เนื่องในวันวิสาขบูชา 10 พ.ค.นี้...
เมื่อวันที่ 4 พ.ค.2560 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาท เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2560 มี ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ดิถีวิสาขบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เสด็จประสูติมาในที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นไปในดิถีเดือนเพ็ญวิสาขะต่างปี หากใคร่ครวญให้ดียิ่งขึ้น ดิถีอัศจรรย์นี้บอก
ธรรมแห่งความเป็นพุทธะได้หลายสถาน ผู้ทรงดับทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด ครั้นทรงกระจ่างเรื่องกลไกแห่งทุกข์แล้ว มิได้ทรงเก็บงำไว้เพียง ลำพัง ยังทรงพระกรุณาชี้ทางพ้นทุกข์ให้แก่พหูชน ตราบจนดับขันธปรินิพพาน
แม้การดำรงขันธ์ของพระองค์จะดับสูญ แต่ว่าพระพุทธธรรมเกิดปรากฏแล้วยังดำรงอยู่เกิดเป็นพระพุทธศาสนาตราบทุกวันนี้ คุณค่าของวัน วิสาขบูชานอกจากเตือนให้สำนึกในพระพุทธคุณ ยังชวนให้เกิดความสลดสังเวชว่า ความเกิดและความดับนั้น มีขึ้นทุกขณะและเป็นของคู่กัน แม้ในความเกิดพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ก็ยังมีความดับไปตามกฎสามัญ ความระลึกชอบได้ เช่นนั้น ย่อมสามารถโน้มน้าวพุทธบริษัทผู้เกิดมาแล้วบนโลกนี้ ให้เพียรเจริญรอยตามบนอริยมรรค จนสู่จุดหมายที่เหนือความเกิดและดับ
ด้วยการละความหลงจับยึดในสิ่งมายาทั้งปวง คลายความมัวเมา ยึดถือตัวยึดถือตนลง เว้นวางการแบ่งเขาแบ่งเรา อันจะช่วยยุติความเบียดเบียน ก้าวร้าว บาดหมาง และชิงชังกัน
เมื่อสมาชิกในสังคมใดทำได้เช่นนั้น ความเมตตากรุณาอย่างยุติธรรมย่อมบังเกิด สรรพชีวิตในสังคมนั้นย่อมอิงอาศัยกันได้อย่างปราศจากเวรภัย สันติสุขที่แท้ ย่อมปรากฏให้ประจักษ์เห็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่อุดมการณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงฟื้นฟูประเพณีวิสาขบูชาไว้ด้วยดีแล้วบนแผ่นดินไทย สมควรที่ชาวไทยจะได้สืบสานพระพุทธศาสนา น้อมนำคุณค่าของวันสำคัญนี้มาสู่ตน ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลกนี้ให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้นไป
ถ้าท่านทั้งหลายอยู่ในพระสัทธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดาเมื่อใด ความผาสุกสิริสวัสดิ์ทุกประการย่อมบังเกิดขึ้นเมื่อนั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ