วันที่ 12 พฤษภาคม เวลา 19.41 น.
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์
มายังลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 หรือ ลานพระบรมรูปทรงม้า ณ ลานพระราชวังดุสิต
เพื่อทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
โดยในวันนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้วงดุริยางค์กองทัพอากาศ จัดแสดงในแนวคิด “ ยิ้มสู้ จงรักษ์ ภักดี”
ก่อนการแสดงจะเริ่มขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้เสด็จพระราชดำเนินประกำลังใจให้แก่ จิตอาสาที่มาร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ในโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และทอดพระเนตรเต๊นท์พระราชทานเครื่องสักการะพระบรมรูปทรงม้า ที่ฝั่งประตูสวนอัมพร
โดยการแสดงมีทั้งหมด 27 บทเพลง แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ได้แก่ เราสู้, สายลม, ยิ้มสู้, โอ้ ไอเซย์ (Oh I Say) และ บทเพลงความฝันอันสูงสุด ช่วงที่ 2 บทเพลงร่วมสมัย ได้แก่ ทะเลบ้า, เมืองกังวล, ชั่วนิจนิรันดร์, คิดถึง, ลาวคำหอม และลาวเจริญศรี ช่วงที่ 3 บทเพลงเทิดพระเกีรติและบทเพลงของกองทัพอากาศ ได้แก่ ต้นไม้ของพ่อ, ในหลวงในดวงใจ, เทวดา, คิง ออฟ คิงส์, เพลงแด่เธอ ซึ่งเป็นบทเพลงของกองทัพอากาศ มีเนื้อหาพูดถึงทหารอากาศที่ออกไปปฏิบัติภารกิจซึ่งมีทั้งที่ได้กลับมาและไม่ได้กลับมา สำหรับบทเพลงไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดงในคอนเสิร์ตเทิดพระเกีรติฯ ครั้งนี้ คือบทเพลงชัยพัฒนา ซึ่งกองทัพอากาศประพันธ์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งกองทัพอากาศนำมาบรรเลงทุกครั้งที่มีการจัดแสดง
เพื่อทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
โดยในวันนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้วงดุริยางค์กองทัพอากาศ จัดแสดงในแนวคิด “ ยิ้มสู้ จงรักษ์ ภักดี”
ก่อนการแสดงจะเริ่มขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้เสด็จพระราชดำเนินประกำลังใจให้แก่ จิตอาสาที่มาร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ในโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และทอดพระเนตรเต๊นท์พระราชทานเครื่องสักการะพระบรมรูปทรงม้า ที่ฝั่งประตูสวนอัมพร
และเมื่อเวลา 18.15 น. พลอากาศเอกภักดี แสง-ชูโต
รองราชเลขาธิการพระราชวังได้เป็นตัวแทนนำคณะ วงดุริยางค์กองทัพอากาศ
พร้อมด้วยผู้นำเหล่าทัพ ผู้บังคับบัญชาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่และประชาชน
ถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนั้นได้นำคณะเจ้าหน้าที่หันหน้าเข้าสู่พระบรมมหาราชวังเพื่อถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ก่อนที่การแสดงดนตรีจะเริ่มขึ้น
ต่อมาวงดุริยางค์ทหารอากาศได้เริ่มบรรเลง บทเพลงเฉลิมพระเกียรติ
ตั้งแต่เวลา 19.00 น. – 21.30 น.ในรูปแบบวงบิ๊กแบรนด์ประกอบด้วย เครื่องดีด
สี ตีเป่า ครบวง มีนักร้อง
และนักร้องประสานเสียงของกองดุริยางค์กองทัพอากาศ รวม 80 คน
ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ ยิ้มสู้ จงรักษ์ ภักดี”
โดยการแสดงมีทั้งหมด 27 บทเพลง แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 บทเพลงพระราชนิพนธ์ ได้แก่ เราสู้, สายลม, ยิ้มสู้, โอ้ ไอเซย์ (Oh I Say) และ บทเพลงความฝันอันสูงสุด ช่วงที่ 2 บทเพลงร่วมสมัย ได้แก่ ทะเลบ้า, เมืองกังวล, ชั่วนิจนิรันดร์, คิดถึง, ลาวคำหอม และลาวเจริญศรี ช่วงที่ 3 บทเพลงเทิดพระเกีรติและบทเพลงของกองทัพอากาศ ได้แก่ ต้นไม้ของพ่อ, ในหลวงในดวงใจ, เทวดา, คิง ออฟ คิงส์, เพลงแด่เธอ ซึ่งเป็นบทเพลงของกองทัพอากาศ มีเนื้อหาพูดถึงทหารอากาศที่ออกไปปฏิบัติภารกิจซึ่งมีทั้งที่ได้กลับมาและไม่ได้กลับมา สำหรับบทเพลงไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดงในคอนเสิร์ตเทิดพระเกีรติฯ ครั้งนี้ คือบทเพลงชัยพัฒนา ซึ่งกองทัพอากาศประพันธ์ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งกองทัพอากาศนำมาบรรเลงทุกครั้งที่มีการจัดแสดง
นอกจากนี้ในช่วงที่ 4
ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายเป็นการแสดงบทเพลงขับร้องและเพลงบรรเลงสากล ได้แก่
มิดไนท์ อิน มอสโค, วอชิงตัน สแควร์, เซอเวย์,ฟิลลิ่ง กู๊ด, เพลงฮีโร
และปิดท้ายด้วยเพลงมหาราชพระจอมสยาม ประพันธ์โดยคุณสติ สติฐิต
ซึ่งบรรยายถึงพระราชกรณียกิจของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
โดยบทเพลงดังกล่าว
ดุริยางค์กองทัพอากาศใช้เป็นเพลงปิดท้ายคอนเสิร์ตทัพฟ้าคู่ไทย ทุกครั้ง”
สำหรับการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติสามารถรับชมได้ทุกวันเสาร์ เวลา
19.00-21.00 น. ผู้ที่มาชมการแสดงดนตรีสามารถจอดรถได้ที่สนามเสือป่า
และสวนอัมพร โดยวันเสาร์ที่ 20 พ.ค. เป็นการแสดงของวงดุริยางค์ตำรวจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น