ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ในหลวงรัชกาลที่๑๐ โปรดเกล้าฯให้วงดุริยางค์ 4 เหล่าทัพมาบรรเลงเพลงเฉลิมพระเกียรติ

ตามที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดุริยางค์ 4 เหล่าทัพประกอบด้วย
กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ วงดุริยางค์ตำรวจ
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาบรรเลงเพลงเฉลิมพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และให้ประชาชนที่มากราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ณ ลานพระราชวังดุสิต ให้ประชาชนได้ฟังทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 19.00 -21.00 น.
โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 29 เม.ย.60 เป็นต้นมานั้น
ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเครื่องสักการะ รัชกาลที่ 5 จำนวน 700 ชุด เพื่อให้ประชาชนนำไปสักการะ ตั้งแต่เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป โดยมีประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต่างนำบุตรหลาน เดินทางมาลงชื่อขอรับพานดอกไม้พระราชทานที่เต๊นท์ฝั่งประตูสวนอัมพร จำนวนมาก
กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ โดยนำไม้ดอกไม้ประดับมาตกแต่บริเวณด้านหน้าเวทีอย่างสวยงาม พร้อมทั้งนำรถสุขาเคลื่อนที่มาให้บริการประชาชนด้วย
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กองทัพเรือได้นำโปรเจ็คเตอร์ขนาดใหญ่มาติดตั้งบริเวณด้านซายและขวาของเวที รวมถึงนำเก้าอี้นั่ง จำนวน 700 ตัว เพื่อให้ประชาชนได้รับชมอย่างทั่วถึง
เมื่อเวลา 18.15 น. นักดนตรี วงดุริยางค์ราชนาวี และเจ้าหน้าที่ พร้อมประชาชนที่มาฟังดนตรี ได้ไปร่วมพิธีกราบถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หลังจากนั้น ทุกคน ได้หันหน้าไปทางด้านพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งกราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เมื่อเวลา เวลา 19.00 -21.00 น. วงดุริยางค์ราชนาวี กองทัพเรือ ได้บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงเฉลิมพระเกียรติ ในรูปแบบบิ๊กแบนด์ คือมีเครื่องดนตรี ประกอบด้วย เครื่องดีด สี ตีเป่า ครบวง รวมถึงเครื่องดนตรีไทยอีกหลายชนิด รวม 60 ชิ้น พร้อมนักร้อง และนักร้องประสานเสียง กว่า 130 คน โดยบทเพลงที่นำมาขับร้องในวันนี้ประกอบด้วย บทเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อาทิ พระมหามงคล ยามค่ำ ใกล้รุ่ง แสงเทียน ไกลกังวล เป็นต้น และบทเพลงถวายความจงรักภักดี ประกอบด้วย เพลงคนบนฟ้า อยู่อย่างพอเพียง ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป ฯลฯ โดยมีศิลปินรับเชิญพิเศษ อาทิ ร.ต.สันติ ลุนเผ่ นักร้องเพลงปลุกใจชื่อดังมาขับร้องในบทเพลงพระราชนิพนธ์อาทิ ความฝันอันสูงสุด ยอดนักรบกล้า เป็นต้น
สำหรับครั้งที่ 3 จะเลื่อนการบรรเลงดนตรี มาเป็นวันศุกร์ ที่ 12 พ.ค.60 โดยวงดุริยางค์กองทัพอากาศ
ส่วนครั้งที่ 4 ในวันเสาร์ที่ 23 พ.ค.60 เป็นการบรรเลงเพลงของวงดุริยางค์ตำรวจ
สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถมาเข้าชมการแสดงได้ทุกวันเสาร์ ในเวลา 19.00-21.00 น. โดยผู้มาชมการแสดงดนตรีสามารถจอดรถได้ที่สนามเสือป่า และสวนอัมพร
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บริเณลานพระราชวังดุสิต ได้เปิดให้จิตอาสามาร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีประชาชนจำนวนมากมาร่วมประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

https://youtu.be/xxpv_XCrjgo

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ