ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ราชาศัพท์ พึงใช้ให้ถูก ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐

มีบทความดีดีมาฝากครับ .......
@...ราชาศัพท์ พึงใช้ให้ถูก ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐...@
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พสกนิกรชาวไทย ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างร่วมแสดงความจงรักภักดี เตรียมจัดกิจกรรม จัดนิทรรศการ แต่ผมพบว่า ยังมีการใช้ราชาศัพท์ผิดและสับสนกันอยู่มาก จึงได้รวบรวมคำหลักๆ ที่พึงระวังใช้ให้ถูก ณ เวลานี้ ดังนี้...
๑.การขานพระนาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-อยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-บอ-ดิน-ทระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน)
๒.ต้องใช้ "เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา" ไม่ใช่ "เนื่องในวโรกาส...”
คำว่า วโรกาส ใช้ต่อเมื่อ ขอโอกาส แล้วได้รับโอกาส เช่น "พระราชทานพระราชวโรกาส"
๓.ต้องใช้ “พระชนมพรรษา....พรรษา” (พระ-ชน-มะ-พัน-สา) ไม่ใช่ "พระชนมายุ....พรรษา"
คำที่ถูกต้อง เช่น "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน”
๔.ต้องใช้คำว่า "ถวายพระพรชัยมงคล" ไม่ใช่ "ถวายพระพร"
เพราะคำว่า "ถวายพระพร" เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้กับพระราชวงศ์ ฉะนั้น สามัญชนต้องใช้ว่า "ถวายพระพรชัยมงคล" เว้นแต่การลงนาม จึงใช้ว่า “ลงนามถวายพระพร”
๕.คำลงท้ายเมื่อถวายพระพรชัยมงคลใช้ว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" เพียงเท่านี้
ระหว่างนี้ เห็นหลายหน่วยงานขึ้นคัตเอ้าต์ ถวายพระพรชัยมงคล โดยลงท้ายว่า "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ" ซึ่งเป็นการใช้ผิด เพราะ จะเติม “ขอเดชะ” ต่อเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกแล้ว และเมื่อนั้นจะใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๖.ต้องใช้คำว่า "แสดงความจงรักภักดี" อย่าใช้ผิดเป็น "ถวายความจงรักภักดี"
การใช้คำว่า “ถวายความจงรักภักดี" เป็นการใช้คำผิด ที่ถูกต้องใช้คำว่า “เพื่อแสดงความจงรักภักดี” หรือ “เพื่อแสดงพลังความจงรักภักดี” ควรทราบว่า "ความจงรักภักดี" จะนำมาถวายกันไม่ได้ หรือ ยกให้กันไม่ได้ เพราะเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นนามธรรม
๗.ภาพถ่ายต้องใช้ราชาศัพท์ว่า “พระบรมฉายาลักษณ์” ไม่ใช่ “พระฉายาลักษณ์”
ในปีนี้ เนื่องเพราะยังอยู่ในช่วงจัดเตรียมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางปฏิบัติและทรงเห็นควรให้งดจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล
สำหรับ การแต่งกาย วันที่ 28 ก.ค. 60 เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลหรือกิจกรรม ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สำนักนายกรัฐมนตรีแนะนำว่า ชาย สวมเสื้อสีขาวนวลติดโบดำ กางเกงดำ สตรี สวมชุดผ้าไทยหรือชุดสุภาพ สีขาวนวลติดโบดำ
ในโอกาสสำคัญยิ่งนี้ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ และแสดงออกถึงความจงรักภักดีอย่างเป็นรูปธรรมวิธีหนึ่ง คือ การยึดแนวทางปฏิบัติและใช้ราชาศัพท์อย่างถูกต้องแก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงอยากเชิญชวนให้สื่อมวลชน และทุกท่านปฏิบัติ พร้อมมีการตรวจสอบราชาศัพท์ก่อนใช้ให้ถูกต้องและสมพระเกียรติครับ (นพดล ทองคำ : เรียบเรียง)
อ้างอิง : สำนักพระราชวัง, สำนักราชบัณฑิตยสถานอ้างอิง : สำนักนายกรัฐมนตรี
ฉันทวัฒน์ วนเมธิน
ตัวอย่าง คำถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560
* * * * *
(แบบสั้น)
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นาย/นาง/นางสาว..................(ต้องใส่ชื่อจริง)
หรือ คณะผู้บริหาร และพนักงาน บริษัท...........(อย่าใส่แต่ชื่อบริษัทหรือองค์กร เพราะสถานที่พูดไม่ได้)
* * * * *
(แบบยาว)
เนื่องในโอกาส
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
เจริญพระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระราชวโรกาส
ถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน เป็นฉัตรแก้วร่มเกล้า
แก่ปวงข้าพระพุทธเจ้า และพสกนิกรชาวไทยสืบไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า นาย/นาง/นางสาว..................(ต้องใส่ชื่อจริง)
หรือ คณะผู้บริหาร และพนักงาน บริษัท...........(อย่าใส่แต่ชื่อบริษัทหรือองค์กร เพราะสถานที่พูดไม่ได้)
หมายเหตุ : เมื่อมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว คำลงท้ายจึงจะเติม ขอเดชะ หลังด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม และจึงใช้คำว่า พระบรมราชวโรกาส
ต้องใช้คำว่า ถวายพระพรชัยมงคล อย่าใช้แค่ ถวายพระพร เพราะคำนี้ ใช้กับพระ ถวายพระพร พระราชวงศ์ และ ใช้เฉพาะรูปประโยค ลงนามถวายพระพร เท่านั้น
* * * * * * * * * *
Cr.คุณฉันทวัฒน์ วนเมธิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ