นายกรัฐมนตรี
เตรียมเลือกชื่อ เรือนรับรองหลังใหม่หลังตึกไทยคู่ฟ้า
ภายหลังกรมศิลปากรส่งชื่อ ให้เลือกเกือบ 20 ชื่อ ก่อนเคาะชื่อ
และรอเปิดอาคารอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม หรือกันยายนนี้
//////////////
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ที่ดูแลการก่อสร้างเรือนรับรองหลังใหม่ หลังตึกไทยคู่ฟ้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ การก่อสร้าง เรือนรับรองหลังใหม่หลังตึกไทยคู่ฟ้า เกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยในวันที่ 18 ก.ค.นี้ คณะกรรมการตรวจรับก็จะเข้ามาดูความเรียบร้อย และตรวจรับงาน พร้อมส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ หลังจากนั้น ก็จะทำพิธีเปิดอาคาร อย่างเป็นทางการ โดยยังไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน รอนายกรัฐมนตรีไม่มีภารกิจจึงจะดำเนินการเปิดอาคาร ภายในเดือนสิงหาคม หรือ กันยายนนี้
//////////////
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล ที่ดูแลการก่อสร้างเรือนรับรองหลังใหม่ หลังตึกไทยคู่ฟ้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ การก่อสร้าง เรือนรับรองหลังใหม่หลังตึกไทยคู่ฟ้า เกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยในวันที่ 18 ก.ค.นี้ คณะกรรมการตรวจรับก็จะเข้ามาดูความเรียบร้อย และตรวจรับงาน พร้อมส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ หลังจากนั้น ก็จะทำพิธีเปิดอาคาร อย่างเป็นทางการ โดยยังไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน รอนายกรัฐมนตรีไม่มีภารกิจจึงจะดำเนินการเปิดอาคาร ภายในเดือนสิงหาคม หรือ กันยายนนี้
อย่างไรก็ตาม
ทางกรมศิลปกากร ได้มีการส่งชื่อเรือนรับรองแห่งใหม่ ให้นายกรัฐมนตรี
ได้พิจารณาแล้ว เกือบ 20 ชื่อ เช่น ไพโรจน์ธรรมรัฐ พิทักษ์ธรรมาทร เป็นต้น
นอกจากนี้ ทางกรมศิลปากรยังตั้งชื่อห้องรับรอง ทั้งสองห้องในอาคาร มาให้นายกรัฐมนตรีเลือก เกือบ 20 ชื่อ เช่นกัน เช่นชื่อห้องว่า ละอองพระบารมี ภูมิธรรม เป็นต้น
ทั้งนี้อาคารเรือนรับรองดังกล่าว เกิดจากดำรินายกฯ ที่ต้องการให้มีการก่อสร้างไว้เป็นเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ และใช้เป็นการประชุมสำคัญๆ ที่มีจำนวนผู้เข้าประชุมไม่มาก โดยกรมศิลปากรรับหน้าที่ในการออกแบบ มีกรมยุทธโยธาทหารบกควบคุมงาน ซึ่งได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับตึกไทยคู่ฟ้า
นอกจากนี้ ทางกรมศิลปากรยังตั้งชื่อห้องรับรอง ทั้งสองห้องในอาคาร มาให้นายกรัฐมนตรีเลือก เกือบ 20 ชื่อ เช่นกัน เช่นชื่อห้องว่า ละอองพระบารมี ภูมิธรรม เป็นต้น
ทั้งนี้อาคารเรือนรับรองดังกล่าว เกิดจากดำรินายกฯ ที่ต้องการให้มีการก่อสร้างไว้เป็นเรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ และใช้เป็นการประชุมสำคัญๆ ที่มีจำนวนผู้เข้าประชุมไม่มาก โดยกรมศิลปากรรับหน้าที่ในการออกแบบ มีกรมยุทธโยธาทหารบกควบคุมงาน ซึ่งได้มีการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับตึกไทยคู่ฟ้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น