ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำหนดการเปิดให้ชม นิทรรศการพระเมรุมาศ

กำหนดการเปิดให้ชม
นิทรรศการพระเมรุมาศ
ระหว่างวันที่ ๒ ถึง ๓๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
จะเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดนิทรรศการ ในวันที่ ๒ พฤศจิกายน
หลังจากนั้นจะเปิดให้เข้าชม
ตั้งแต่วันที่ ๒ ถึง ๓๐
พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา
๐๗.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น.
เบื้องต้นจะเปิดให้เข้าชมอย่างอิสระ รอบละ ๕,๕๐๐ คน รองรับ
ประชาชน ได้วันละ ๑๐๔,๐๐๐ คน
แบ่งเป็น
กลุ่มภิกษุ สามเณร ๕๐๐ รูปต่อวัน
ผู้พิการทุกประเภท ๕๐๐ คนต่อวัน นักท่องเที่ยว ๘,๐๐๐ คนต่อวัน
นักเรียน นักศึกษา ๑๕,๐๐๐ คนต่อวัน ประชาชนทั่วไป ๘๐,๐๐๐ คน ต่อวัน
กำหนดเวลาเข้าชมรอบละ ๑ ชั่วโมง แบ่งเป็น
ให้ถ่ายภาพที่ระลึกบริเวณ ถนนเส้นกลางทางเข้าพระ ซึ่งจะเห็นภาพแปลงนาเลขเก้าไทย และภาพภูมิทัศน์ส่วนต่างๆ ของพระเมรุมาศในมุมกว้าง ๑๕ นาที
จากนั้น จะให้เข้าชม พื้นที่ด้านใน ๔๕ นาทีโดยให้เข้าชมอย่างอิสระ
ในส่วนของพระเมรุมาศ จะเปิดให้ขึ้นลงได้ ๒ ด้าน
พระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งจัดแสดง
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ รวมถึงยังมีภาพจิตกรรมโครงการในพระราชดำริ ให้ชมทั้ง ๓ ด้าน
ส่วนอาคารประกอบอื่น ๆ จะจัดแสดงการจัดสร้างพระเมรุมาศ
งานปราณีตศิลป์และงานจิตกรรมประเภทต่าง ๆ
มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ จัดให้มีนิทรรศการสัมผัส พร้อมเสียงบรรยายเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงความเป็นมาของการจัดสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบทั้งหมด ถือเป็นความภาคภูมิใจ
ทั้งนี้ก่อนหมดเวลา เข้าชม ๕ นาที
จะมีสัญญาณแจ้งหมดเวลาเข้าชม เพื่อเปิดให้รอบต่อไปได้เข้า
คาดว่าจะมีประชาชนเข้าชม
ทั้งหมด กว่า ๓ ล้านคน
มีจุดคัดกรอง ๕ จุด
โดยประชาชนทั่วไปให้เข้าในจุดคัดกรอง ๓ จุด
บริเวณหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (รด.)
ถนนด้านท่าช้าง
ถนนด้านพระแม่ธรณีบีบมวยผม
ส่วนผู้พิการเข้าตรงจุดคัดกรองหลังกระทรวงกลาโหม
พระภิกษุ สามเณร เข้าทางด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)
ประชาชนแต่งชุดสุภาพ เช่นเดียวกับการเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว โดยงดเว้น สายเดี่ยว กางเกงขาสั้น และเสื้อแขนกุด
ผู้ประสงค์จะเข้าชมนิทรรศการ สามารถเข้าคิวรอตรงจุดพักรอ
บริเวณเต็นท์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อรอคิวเข้าชม การเข้าชมจะใช้แนวปฏิบัติเดียวกับการกราบถวายบังคมพระบรมศพ โดยจะจัดเป็น ๔ แถว
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)จะจัดรถโดยสารให้บริการฟรีใน ๖ เส้นทาง ตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ ถึง ๒๓.๐๐ น.เส้นทางละ ๑๐ คัน รอบละ ๖๐ คัน ได้แก่
๑. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามหลวง ๒. หัวลำโพง-สนามหลวง
๓. วงกลมรอบเกาะรัตนโกสินทร์-สนามหลวง
๔. เอกมัย-สนามหลวง
๕. สายใต้ใหม่-สนามหลวง ๖. หมอชิต-สนามหลวง
ส่วนทางเรือจะให้บริการตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๒.๓๐ น.ที่
ท่านิเวศน์วรดิฐ
และท่าราชนาวิกสภา
ผู้ให้บริการเรือด่วน เรือเมล์ขยายเวลารองรับการเดินทางของประชาชนด้วย
ภายในบริเวณพระเมรุมาศ
มีการแสดงมหรสพ และการแสดงชุดต่างๆ เวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น. และจะมีการประโคมดนตรี
วงบัวลอย บริเวณศาลาลูกขุน
เวลา ๐๘.๐๐ ถึง ๑๗.๐๐ น.
ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ จะมีการแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้ซึบซับบรรยากาศเสมือนวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ