ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ห้ามนำพระบรมฉายาลักษณ์มาใส่ข้อความเหนือพระเศียร-ทับพระองค์

อันนี้แค่อยาก เผยแพร่อีกรอบนะครับ
จำได้ว่าเคยลงแล้ว แต่หลังๆมาเห็นยังมีบางภาพที่ไม่เหมาะสมนัก.....ลองอ่านดูนะครับ
ห้ามนำพระบรมฉายาลักษณ์มาใส่ข้อความเหนือพระเศียร-ทับพระองค์-ตกแต่งใช้เทคนิคเกินธรรมชาติ-ใส่เครดิตชื่อตนเองตัวเล็กๆ ก็ไม่ได้-ห้ามนำมาทำภาพโปรไฟล์ตนเอง (เห็นก็อย่าไลค์-อย่าแชร์-อย่านำมาทำภาพทักทายสวัสดีกันไม่บังควรอย่างยิ่ง)
สำหรับผู้ที่จงรักภักดี เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ต้องรู้
จากการสังเกต ตลอดช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีพระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/ พระรูป ที่โพสต์ทาง เฟซบุ๊ก หรือส่งต่อกันทางไลน์ เห็นแล้วต้องออกมาพูดมาเตือนผู้กระทำ อาจเพราะไม่เคยรู้ว่าทำผิดแบบแผน ที่สำนักราชเลขาธิการ ได้ให้แนวทางไว้ ซึ่งเราทั้งหลายจะต้องไม่ทำ และไม่ส่งเสริมการกระทำที่มิบังควร อย่าไลก์ อย่าแชร์ ภาพที่เข้าข่าย ดังนี้
๑ พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/พระบรมสาทิสลักษณ์/พระสาทิสลักษณ์ ที่มีข้อความใดๆ เหนือพระเศียร และตัวอักษรทับพระองค์…อย่าทำ...อย่าไลก์...อย่าแชร์ (จะเห็นว่า นิตยสารที่อัญเชิญ พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/พระรูป ลงปก จะต้องเปลี่ยนตำแหน่งชื่อ นิตยสารมาไว้ข้างล่าง เสมอ)
๒.พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ ที่นำมาตกแต่งผิดไปจากเดิม หรือใช้เทคนิคจนเกินความเป็น ธรรมชาติ ด้วยวิธีการใดๆ แล้วส่งทักทายสวัสดีกัน ทั้งในเฟชบุ๊ก และในไลน์...อย่าทำ...อย่าไลก์ อย่าแชร์
๓.พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ ที่นำมาตกแต่ง และใส่เครดิตตนเองลงไปด้านล่าง ไม่ว่าจะตัว เล็กหรือใหญ่...มิบังควรอย่างยิ่ง อย่าทำ...อย่าไลก์ อย่าแชร์
๔.มิบังควร นำพระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ มาเป็นภาพโปรไฟล์ ของตนเอง แม้ด้วยแรงจูงใจ จงรักภักดี แต่ภาพโปรไฟล์ คือ ภาพแสดงตัวตนคนนั้นๆ...จึงเป็นการกระทำที่มิบังควรอย่างยิ่ง...อย่าทำเด็ดขาด
๕.การเขียนถวายราชสดุดีหรือถวายพระพรชัยมงคล คู่กับ พระบรมฉายาลักษณ์/ พระฉายาลักษณ์ จะต้องแยกส่วนชัดเจน หรือขอบเขตแยกต่างหาก และต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม ต้องไม่สูงเกินกว่า พระอุระ/พระทรวง
นอกจากนี้ หากจะทำพระฉายาลักษณ์/พระรูป เผยแพร่ พร้อมพระนามเพื่อแสดงความจงรักภักดี ในโอกาสต่างๆ จะต้องใส่พระนามพร้อมพระราชอิสริยยศ/พระอิสริยศ ให้ครบถ้วนเสมอ (เว้นแต่ "พระนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เขียนแต่เพียงเท่านี้) มิบังควรเขียนสั้นๆ เช่น พระเทพฯ พระบรมฯ องค์โสมฯ องค์ภาฯ เว้นแต่เอ่ยพระนามลำลองส่วนตัว และคำบรรยายต้องอยู่ในตำแหน่งใต้พระฉายาลักษณ์ ไม่ใช่เหนือ พระเศียร
.
และที่สำคัญ หากจะทำภาพ พระบรมฉายาลักษณ์/พระฉายาลักษณ์/พระรูป เพื่อถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสสำคัญ พร้อมเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ในนามองค์กรหรือหน่วยงาน จะต้องทำเรื่อง ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต/ พระราชานุญาต ขอประทานพระอนุญาต ผ่านสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อนำความกราบบังคมทูล, กราบทูล ต่อไป
เราไม่อาจอ้างว่า "มีความจงรักภักดี" แล้วจะทำอะไรก็ได้ตามใจ เพราะหากจงรักภักดีจริง ย่อมสนใจใส่ใจ ที่จะเรียนรู้เมื่อมีโอกาสได้รู้ หรือไม่ยอมปล่อยผ่านสิ่งที่ไม่มั่นใจ การขวนขวายเรียนรู้ในธรรมเนียมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อคนไทยทุกคน ที่อาศัยทั้งในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักร เพราะสะท้อนถึง ความปรารถนาที่จะแสดงออกว่า เรามีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่เราภาคภูมิใจอย่างแท้จริง
(หมาย เหตุ: การทำภาพไม่ว่ากรณีใดๆ ใช้หลักเดียวกันนี้ ทั้งพระบรมฉายาลักษณ์, พระฉายาลักษณ์, พระรูป, พระบรมสาทิสลักษณ์, พระสาทิสลักษณ์, พระรูปวาด ของพระราชวงศ์)
อ้างอิงข้อมูลจาก : สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ