ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เมื่อครั้ง รัชกาลที่ 10 ทรงพระเยาว์

เมื่อครั้ง รัชกาลที่ 10 ทรงพระเยาว์
เรื่องเล่าในวันวาน เมื่อครั้ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงพระเยาว์ จากในหนังสือ “สี่เจ้าฟ้า” ฉบับเรียบเรียงใหม่โดย ลาวัณย์ โชตามระ นำเสนอเรื่องราว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ ช่วงพระเยาว์ ได้น่าสนใจมาก หากชาวแคมปัส-สตาร์ ได้อ่านทั้งหมด 42 ข้อต่อไปนี้จะเห็นได้ว่า ถึงแม้พระองค์จะเป็นเจ้าฟ้าชายเพียงพระองค์เดียว แต่ทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ทรงมีความเป็นอยู่แบบเด็กธรรมดา และความเป็นเจ้าฟ้านั้น ดูจะเป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องอยู่ในกรอบอันดีงามยิ่งกว่าคนสามัญด้วยซ้ำไป ขออนุญาตนำบางส่วนมาเผยแพร่ แล้วสรุปออกมาเป็นข้อ ๆ ให้ทุกคนได้อ่านกัน
1. วันที่ 28 ก.ค. 2495 เป็นวันที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาลสมเด็จเจ้าฟ้าชาย สร้างความปีติยินดีแก่พสกนิกรไทย
2.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”
3.ครั้นต่อมาเมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”
4. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงดำเนินพระราชจริยวัตรด้วยความสง่างาม เคร่งขรึม สำรวมพระองค์ตามแบบอย่างชาติทหาร
5. ในอดีตยามที่ยังทรงพระเยาว์เป็นทูลกระหม่อมฟ้าชาย พระองค์น้อย ๆ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็เป็นดังเช่นเด็กชายทั่วไป ทรงซุกซน เฉลียวฉลาด
ไม่มีชื่อเล่น
6. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ไม่มี “ชื่อเล่น” เหมือนสมเด็จพระเชษฐภคินีหรือพระขนิษฐาอีก 3 พระองค์ อาจจะเพราะทรงเป็น “ทูลกระหม่อมชาย” เพียงพระองค์เดียว คำว่า “ชาย” จึงเป็นเสมือนชื่อที่ใช้แทนพระองค์
7. การเรียนของทูลกระหม่อมฟ้าชายนั้น เริ่มตั้งแต่พระชนมายุได้ 5 พรรษาโดยโปรดเกล้าฯ ให้ดัดแปลงชั้นล่างของพระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิตเป็นห้องเรียน
8.เมื่อทรงย้ายมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดาฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียน “จิตรลดา” ขึ้นในพระราชฐานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นโรงเรียนราษฎร์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และจะเปิดสอนชั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อที่จะได้ทรงดูแลการศึกษาของทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ได้ อย่างใกล้ชิด
9.ที่ตั้งของโรงเรียน “จิตรลดา” อยู่ภายในบริเวณที่พ้นจากเสียงรบกวนจากภายนอก สนามสำหรับวิ่งเล่น มีห้องเรียนที่พอเหมาะกับจำนวนนักเรียน นักเรียนในโรงเรียน นอกจากทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าแต่ละพระองค์แล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรธิดาของข้าราชบริพาร ซึ่งมีอายุวัยเดียวกันได้เข้าร่วมศึกษาด้วย เพื่อให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์ได้มีพระสหายเป็นบุคคลสามัญ โรงเรียนจิตรลดาเริ่มเรียนตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา หยุดพักกลางวัน และเริ่มเรียนในภาคบ่ายอีกครั้งจนถึงเวลา 15.55 นาฬิกา
10. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา เมื่อกันยายน ปี 2499 ขณะมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษาเศษ นักเรียนร่วมชั้นมีเพียง 7 คน คือ ม.ร.ว.สิทธินัดดา ชุมพล , อรนิดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , เกตนา โชติกเสถียร , เกรียงศักดิ์ ช่างเรือน , วีรวุทธิ วิรยพงศ์ , สัณห์ ศรีวรรธนะ และเกริก วณิกกุล
หลังจากทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ จึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519
11. เช้าวันใดไม่ต้องทำการบ้าน เพราะทรงทำเสร็จแล้วตั้งแต่ตอนเย็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ก็จะทรงมีเวลาเล่นได้นาน มีเวลาเพียงทรงจักรยานรอบสระกลมใหญ่ แต่จะไม่ทรงมีเวลาไปเที่ยวแวะเวียนตามโรงรถยนต์หลวง เพื่อทรงตรวจเครื่องกลไกของรถยนต์แต่ละคัน บางครั้งก็จะเสด็จฯ ไปแวะเยี่ยมกรมราชองครักษ์ และกองทหารรักษาการณ์ เพื่อทรงตรวจเรื่องการกินอยู่ แล้วก็เลยทรงเล่นหมากฮอสด้วย
12. จนเวลาประมาณ 8 นาฬิกา จึงเสด็จขึ้นเพื่อสรงน้ำ เสวย และเตรียมพระองค์เสด็จไปโรงเรียน การไปโรงเรียนนั้นต้องตรงเวลาเสมอ ไม่เคยสายเลย
13.ทุกวัน ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าชายจะตื่นบรรทมแต่เช้า เวลาประมาณ 7 นาฬิกา เมื่อเสร็จธุระส่วนพระองค์แล้ว จะเสด็จฯ ลงเพื่อออกกำลังกลางแจ้ง เช่นเดียวกับเด็กธรรมดาทั่วไป มีวิ่งเล่นบ้าง ซ่อนหาบ้าง
14. เรื่องการเรียน ทูลกระหม่อมฟ้าชาย ไม่อยู่ในเกณฑ์ดีเท่าทูลกระหม่อมฟ้าหญิงอุบลรัตนฯ เพราะไม่ค่อยทรงตั้งพระทัยเรียน
15. วิชาที่ทำได้ดีกว่าวิชาอื่น คือ วิชาคำนวณ ซึ่งมักได้คะแนนเต็มเสมอ ภาษาดีพอสมควร ส่วนวิชาคัดลายมือมักได้คะแนนน้อย
16. วิชาที่โปรดมากอีกอย่าง คือวาดเขียนและปั้นรูป ทูลกระหม่อมฟ้าชายโปรดเขียนรูป และปั้นดินน้ำมัน ทรงปั้นรูปรถยนต์ เรือรบ ได้เหมือนของจริงมาก
17. ได้รับพระราชทานเครื่องใช้ในการเขียนภาพสีน้ำมันจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็มิได้ทรงหวงแหน ได้ทรงแบ่งประทานให้มหาดเล็กไว้ใช้ด้วย
18. ในตอนบ่ายหลังเลิกเรียน มักทรงชวนมหาดเล็กถีบจักรยานไปเลือกมุมใดมุมหนึ่งของสวนจิตรลดา แล้วประทับเขียนรูปอย่างตั้งพระทัย แต่ภาพที่ได้ แทนที่จะเป็นภาพทิวทัศน์ในบริเวณสวนจิตรฯ กลับเป็นภาพภูเขาอยู่ ในหมอก เหมือนภูมิประเทศที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ หรือบางครั้งก็เป็นภาพเรือรบจอดอยู่ในทะเล
19. นอกจากนี้ ทูลกระหม่อมฟ้าชายยังทรงฝึกหัดทำสวนร่วมกับพระสหายที่ร่องผักแถวยาวๆ หลังโรงเรียน ผักที่ทรงปลูกร่วมกับพระสหายนั้นมีทั้งพริก มะเขือ บวบ ต้นหอม ผักกาด ฯลฯ
20.เมื่อเสด็จกลับจากโรงเรียนแล้ว ก่อนจะเสด็จเข้าบรรทมตอนหัวค่ำ ทูลกระหม่อมฟ้าชายจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อรับพระบรมราโชวาท และทรงสวดมนต์ก่อน
21.หลังการรับพระบรมราโชวาท ทูลกระหม่อมฟ้าชายมักทรงรำพันว่า “การเป็นเจ้าฟ้านี่ช่างลำบากเหลือเกิน จะทำอะไรก็ต้องระวังความรู้สึกของคนไปหมด ทำตามพระทัยไม่ได้”
22.บางครั้งที่ทรงสอบได้ที่ต่ำกว่าที่ควร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรงเอาพระทัยใส่ในการเรียนน้อยไป ก็ทรงได้รับการคาดคั้นให้ทรงศึกษาให้ดีขึ้น ซึ่งทูลกระหม่อมก็ทรงทำได้ แสดงให้เห็นว่าจะทรงทำอะไรก็ทรงทำได้ อยู่ที่จะทรงทำหรือไม่เท่านั้น
23.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ จะทรงได้รับสมุดรายงานการศึกษาของทูลกระหม่อมทุกพระองค์อยู่เสมอ และทรงตรวจตราวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนทุกครั้ง ทรงเล่นกับทูลกระหม่อมทุกพระองค์ แต่ในขณะเดียวกันก็จะพระราชทานความรู้ควบคู่ไปด้วย
24. เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น นับวันทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ยิ่งมีพระนิสัยสมกับเป็นผู้ชาย โปรดเล่นเครื่องยนต์กลไกต่างๆ อย่างเด็กผู้ชายทั้งหลาย เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถถัง เรือ โปรดทอดพระเนตรหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวกับการช่าง การก่อสร้าง และมีพระนิสัยใฝ่รู้ เมื่อทรงสงสัยสิ่งใดก็จะทรงตั้งปัญหาถาม และจะทรงถามจนกระทั่งได้รับคำอธิบายเป็นที่พอพระทัย
25. ทูลกระหม่อมฟ้าชายมีพระสุรเสียงอันดัง ซึ่งมักจะได้ยินก่อนเห็นพระองค์เสมอ ทรงร่าเริงแจ่มใส เมื่ออยู่ในหมู่มหาดเล็กน้อย ๆ ราชองครักษ์หรือกรมวัง ซึ่งเป็นผู้ชายด้วยกัน
26. เมื่อเสด็จฯ ลงยังที่เก็บรถจักรยานก็จะทรงเลือกไว้คันหนึ่ง และจัดขบวนให้ผู้ตามเสด็จว่า จะให้คนใดนั่งคันไหน ส่วนพระพี่เลี้ยงหญิงนั้น ทรงสงสารที่ต้องเหนื่อยวิ่งตาม ก็ทรงอนุญาตให้นั่งรถแบตเตอรี่ ซึ่งมีตกค้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ยังโปรดขับรถคันนี้อยู่เสมอ
27. หากเป็นวันปิดภาคเรียน หรือวันเสาร์อาทิตย์ เสวยเครื่องเช้าแล้วก็จะเสด็จลงมาเพื่อทรงเล่นอีก ช่วงนี้โปรดที่จะเสด็จไปเล่นที่ “ค่าย 4 ชาย” ค่ายนี้ ทูลกระหม่อมฟ้าชายได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายมาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งตรงกับวันราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีการจัดเลี้ยงฉลองที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ในวโรกาสที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับ ศูนย์ฝึกกำลังทดแทนค่ายธนะรัชต์ ปราณบุรี ได้มาร่วมงานออกร้านด้วย
โดยสร้างเป็นรูปค่าย มีหอทำด้วยไม้ไผ่กับแฝก เป็นที่ถูกพระทัยทูลกระหม่อมฟ้าชาย ซึ่งโปรดเสด็จไปทอดพระเนตร เมื่อเสร็จงานจึงทรงขอจากนายทหารผู้บัญชาการค่าย เพื่อนำมาปลูกในสวนจิตรฯ เป็นที่ทรงพระสำราญต่อไป
28. เมื่อเสด็จถึงพระนคร ทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ทรงขอพระราชทานอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อสร้างค่ายขึ้นในบริเวณสนามตอนหนึ่ง โดยคงรูปหอไว้เหมือนเดิมส่วนหลังคาหอที่เสียหายไปบ้าง ก็ประทานเงินส่วนพระองค์ที่ทรงได้รับพระราชทานในโอกาสที่ทรงทำความดีเป็นพิเศษ ให้จัดซื้อเสื่อลำแพนมามุงเสียใหม่
เมื่อค่ายเสร็จเรียบร้อยก็ทรงเริ่มสนุกโดยสมมติให้มีการจุดไฟเผาค่าย แล้วทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ทรงทำการดับเพลิงอย่างขะมักเขม้น พระดำรินี้ เกิดขึ้นเมื่อกองตรวจดับเพลิงร่วมกับบริษัทโตโยต้าสั่งซื้อรถดับเพลิงขนาดเล็กทูลเกล้าฯ ถวายในวันคล้ายวันประสูติ
29. ทูลกระหม่อมฟ้าชาย ทรงสนุกสนานในการเล่นดับเพลิงมาก ถึงกับทรงถอดฉลองพระองค์เหลือเพียงพระสนับเพลากับพระมาลาดับเพลิงเท่านั้น พระวรกายก็เปียกน้ำจนชุ่ม การดับเพลิงเป็นไปอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดตัวค่ายก็พ้นจากอัคคีภัย คืนสู่สภาพเดิม
30.ชื่อ “ค่าย 4 ชาย” ที่ทูลกระหม่อมฟ้าชายทรงคิดขึ้นนี้ หมายถึงพระองค์เอง มหาดเล็ก 2 นาย และกรมวังหนุ่มผู้ร่วมในการสร้างค่ายและดับเพลิง
31. บางคราวทูลกระหม่อมฟ้าชายก็โปรดเสด็จฯ มาทรงทำอาหารเอง ด้วยหม้อ และเตาดินเผาเล็ก ๆ แล้วประทับเสวยอย่างเอร็ดอร่อยกับผู้ตามเสด็จฯ
32. ทูลกระหม่อมฟ้าชายชอบเสวยมาก โปรดอาหารอร่อย ๆ แปลก ๆ จนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต้องทรงเตือน เพราะเกรงว่าจะทรงพระเจริญเกินไป แต่ทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ทูลตอบว่า “ยอมอ้วน ดีกว่ายอมอดอาหาร”
33.ตอนเช้าวันเสาร์ และวันอาทิตย์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชประสงค์ให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์เสด็จออกกลางแจ้งเพื่อให้ได้รับอากาศ และแสงแดดให้มากที่สุด ให้ออกพระกำลัง เช่น ทรงฟุตบอล หรือว่ายน้ำจนถึงเวลาเสวย
34. ถ้าเป็นวันว่าง ไม่มีแขกพิเศษมาเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทูลกระหม่อมฟ้าชาย และทูลกระหม่อมฟ้าหญิงอุบลรัตนฯ ก็จะได้ทรงร่วมเสวย พระกระยาหารกลางวัน กับทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่
35. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงอนุญาตให้ทูลกระหม่อมทุกพระองค์ทอดพระเนตรโทรทัศน์ได้ เฉพาะวันหยุดเรียน ถ้าบรรทมน้อยกว่า 9 ชั่วโมง ก็จะไม่ได้ทอดพระเนตร เช่น คืนวันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ตอนเย็นจะต้องบรรทมเร็วมาก
36. ทูลกระหม่อมฟ้าชาย มักทรงรับสั่งตัดพ้อกับสมเด็จแม่ ว่า “เป็นลูกแม่นี่ ไม่มีความสุขเลย เพื่อนๆ เขายังได้ดูทีวีมากกว่าชายเสียอีก”
37. ทูลกระหม่อมฟ้าชายโปรดรายการหนังช่วงบ่ายวันเสาร์ และวันอาทิตย์ และยังโปรดการทายปัญหาเชาว์
38. พระหัตถ์มักไม่ค่อยอยู่นิ่ง ต้องมีสมุดดินสอ หรือดินน้ำมันไว้ใกล้ ๆ พระหัตถ์เสมอ พระลักษณะเช่นนี้ มีในทูลกระหม่อมทุกพระองค์
39.เพราะทรงได้รับพระบรมราโชวาทจากพระชนกและพระชนนี รวมทั้งสมเด็จพระอัยยิกาด้วย ว่า ไม่ให้อยู่นิ่งเฉย ให้ทรงหางานทำไว้เสมอ
40. แม้จะเป็นเจ้าฟ้าชายเพียงพระองค์เดียว แต่ทูลกระหม่อมฟ้าชายก็ทรงมีความเป็นอยู่แบบเด็กธรรมดา และความเป็นเจ้าฟ้านั้น ดูจะเป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องอยู่ในกรอบอันดีงามยิ่งกว่าคนสามัญด้วยซ้ำไป
41.พระองค์ท่านชอบเล่นปืนเป็นชีวิตจิตใจ เวลาท่านชายไปไหนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินีนาถ สมัยก่อนท่านจะทรงแต่งชุดฝึกราชวัลลภพร้อมอาวุธ M 16 A 1 ทรงอารักขาพระองค์ท่านเป็นอย่างดี
42. ปัจจุบันหลังจากที่ท่านเล่น กล็อก .45 เวลาตามเสด็จฯ สมเด็จพระราชินีฯ แม้มีหน่วยงานราชวัลลภ หรือทหาร ตำรวจ 3 ชั้น ท่านก็ยังอารักขาสมเด็จพระราชินีฯ เสมอ
พระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมหาที่สุดมิได้
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ