ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี กับการอนุรักษ์มรดกไทย

ในวันที่ 2 เมษายน ของทุกๆปี ประชาชนชาวไทยทั่วผืนแผ่นดินไทยทราบดีว่า เป็นวันครบรอบวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้มีพระราชจริยาวัตรที่งดงาม ทรงเจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทของพระราชบิดา พระผู้ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงพสกนิกรชาวไทย จากอดีตถึงปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาประเทศ ด้านการศึกษา ทรงเป็นแม่แบบให้พสกนิกรของพระองค์ได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาหาความรู้ ด้วยการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ นำมาจัดทำเป็นหนังสือ เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สามารถใช้อ้างอิง ให้ความรู้แก่พสกนิกร และพระราชกรณียกิจด้านหนึ่งที่พระองค์ไม่เคยละทิ้ง คือ งานด้านอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติทรงเป็นผู้นำในการอนุรักษ์มรดกไทย เช่น
  • พุทธศาสนา
  • ภาษาไทยและ วรรณกรรม
  • ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
  • งานช่าง
  • สถาปัตยกรรม
  • ดนตรีไทย
และงานด้านอื่นที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของไทย และเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนชาวไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของตนเอง ร่วมกันธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยให้ดำรงคงอยู่
สำหรับงานด้านนาฏศิลป์ และดนตรีไทย ทรงร่วมแสดงและทรงดนตรีไทยในโอกาสต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ทรงมีความรู้เรื่องเพลงไทย และทรงดนตรีไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ ทรงสนพระทัยในเครื่องดนตรีไทยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จากการทรงเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังกับครูสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ครูดนตรีไทยอาวุโส ทรงฝึกหัดอย่างถูกแบบแผน ตามแบบอย่างโบราณ และทรงฝึกตีระนาดในแบบต่างๆ อย่างชำนาญ จนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ ได้ทรงระนาดเอก ให้สาธารณชนได้ชมเป็นครั้งแรกในเพลงนกขมิ้น (เถา) ร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทยหลายท่าน
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการศิลปะและวัฒนธรรมของไทย ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ รัฐบาลสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติประกาศให้ วันที่ ๒ เมษายน ของทุกปี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทรงเป็นองค์เอกอัครราชูปถัมภ์ภกมรดกวัฒนธรรมของไทย
maxresdefault
จากคุณูปการที่มีต่อวงการศิลปวัฒนธรรมของไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญา ว่า “เอกอัครราชูถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญา “วิศิษฏศิลปิน” ซึงมีความหมายว่า ทรงมีพระอัจฉริยะภาพ และทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา ทรงเป็นปราชญ์ที่มีความรอบรู้ด้านวัฒนธรรมอย่างแท้จริง

เครดิต ภาพ จาก : Websit หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และหอสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ