ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ดินสอพอง


ดินสอพอง….. ของไทยแต่ใดมา
  นายราม  ติวารี ผู้อำนวยการสาขาฟิสิกส์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการการเรียนการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และตำนาน “STEM l ” (S: Science + T: Technology +  E: Engineering + M: Mathematic + l : l egend ) ผ่านดินสอพองในเทศกาลสงกรานต์ โดยได้เล่าดังนี้ว่าดินสอพลอง4
จากตำนาน (l : l egend) ดินสองพองมีแหล่งกำเนิดและผลิตที่ใหญ่และคุณภาพดีที่สุดของไทย อยู่ที่หมู่บ้านหินสองก้อน บ้านท่ากระยาง บ้านสะพาน และแหล่งอื่นของจังหวัดลพบุรีเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของเหล่าวานร ซึ่งตามตำนานเมืองลพบุรี ที่เล่าสืบต่อกันมา เมื่อครั้งที่พระรามอวตารของพระนารายณ์ปราบทศกัณฐ์แห่งเมืองลงกา (คาดว่าประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) ได้สำเร็จ พระองค์จึงคิดปูนบำเหน็จให้กับหนุมานทหารเอก โดยการแผลงศรออกไปและถ้าศรตกลงที่ใด มณฑลที่ตกนั้นก็เป็นของหนุมาน ศรของพระรามเป็น  ศรศักดิ์สิทธิ์ เมื่อแผลงมาตกที่ทุ่งพรหมมาสตร์ (หมายถึงจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน) ก็ทำให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ     หนุมานจึงใช้หางกวาดเปลวไฟให้ดับ โดยดินในบริเวณที่ถูกไฟจึงสุกกลายเป็นสีขาว เรียก “ดินสอพอง”      ในปัจจุบัน และเถ้าดินที่ถูกหางหนุมานกวาดออกไปก็กลายเป็นภูเขาล้อมรอบจังหวัดลพบุรีนั่นเอง
ด้านวิทยาศาสตร์ (S) ดินสอพอง (ดินขาวพองเมื่อโดนน้ำ) หรือเราเรียกดินมาร์ล มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต อุดมไปด้วยเนื้อปูนที่มีองค์ประกอบของแร่เคลย์และอาราโกไนต์ มาร์ลเป็นคำโบราณที่ถูกนำมาใช้เรียกวัตถุที่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นวัตถุเนื้อหลวมๆของดินที่มีองค์ประกอบหลักของเนื้อผสมระหว่างดินเคลย์และแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดเป็นวัตถุเนื้อดินประกอบด้วยแร่เคลย์ร้อยละประมาณ 65 และคาร์บอเนตร้อยละ 35 คำเรียกที่ใช้  ในปัจจุบันหมายถึงตะกอนที่ตกสะสมตัวในทะเลและในทะเลสาบที่แข็งตัว ซึ่งเพื่อให้ถูกต้องแล้วต้องเรียกว่า มาร์ลสโตน ซึ่งเป็นหินที่แข็งตัวมีองค์ประกอบเดียวกันกับดินมาร์ลที่อาจเรียกว่าหินปูนมีการแตกแบบกึ่งก้นหอย คำว่า “มาร์ล” เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกกันอย่างกว้างขวางในทางธรณีวิทยา
ดินสอพลอง3
ตามพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็นหินปูนเนื้อมาร์ล (marly limestone) เมื่อนำมะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีสภาพกรดซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดเป็นแกสคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น ดูเผินๆ ก็เห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า“ดินสอพอง”    
ดินสอพอง5 
              ในทางกระบวนการของเทคโนโลยี (T) และวิศวกรรม (E) ได้นำกระบวนการทั้งสองมาใช้ในการผลิตดินสอพองนั่นเอง ขั้นที่หนึ่ง คือ การขนดินมาร์ลใส่บ่อกาก แล้วปล่อยน้ำลงไปผสมให้ดินละลาย เมื่อดินละลายน้ำดีแล้วตักน้ำในบ่อกากเทใส่ตะแกรงลงในบ่อกรองหรือบ่อเนื้อเพื่อแยกเอาหินกรวดและเศษหญ้าทิ้ง
ขั้นที่สอง ตักน้ำดินจากบ่อกรอง เทผ่านผ้ากรองลงในบ่อทำแผ่น ทิ้งไว้หนึ่งคืน ดินมาร์ลซึ่ง มีสีขาว จะตกตะกอนนอนก้นบ่อตอนบนจะเป็นน้ำใส ค่อยๆ ช้อนหรือดูดเอาน้ำใสนี้ออกจากบ่อ จนเหลือ แต่ดินขาวข้นเหมือนดินโคลนเรียกดินสอพอง
              ขั้นที่สาม ตักโคลนดินสอพองหยอดใส่แม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะไม่ขึ้นสนิม หรือใส่ไม้ไผ่นำมาขดเป็นวงกลม ก่อนหยอดโคลนดินสอพองลงแล้วปล่อยให้แห้ง จะต้องใช้ผ้าใบหรือผ้าชนิดอื่นๆ ปูรองพื้นแม่พิมพ์ก่อน เพื่อให้ผ้าดูดซับน้ำจากโคลนดินสอพองด้วย ดินสอพลอง2
              สุดท้าย ขั้นที่สี่ หลังจากหยอดโคลนดินสอพองลงในแม่พิมพ์แล้ว ทิ้งไว้กลางแจ้งสักครู่ ดินสอพองจะแห้งหมาดเกาะติดกันเป็นก้อนแข็งพอที่จะใช้มือหยิบได้ นำดินสอพองไปวางบนตะแกรงไม้ไผ่ ผึ่งแดด ให้แห้งสนิท เมื่อแห้งดีแล้วจะมีสีขาวกว่าแผ่นที่ยังไม่แห้ง ก็นำไปใช้ได้
อ.ราม ยังกล่าวว่า “ปัจจุบันมีการนำดินสอพองมาใช้เล่นสงกรานต์ โดยนำมาผสมกับสีต่างๆ อาจมีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ หรือเชื้อก่อโรคอื่นๆ และหากนำมาเล่นโดยไม่ระมัดระวังอาจเป็นอันตราย   ต่อร่างกายได้ ทั้งนี้ ดินสอพองยังสามารถใช้แก้ดินเปรี้ยวได้ เนื่องจากดินเปรี้ยวมีสภาพเป็นกรด มีค่า pH4 เมื่อเติมดินสอพอง ที่มีค่า pH 9.22 – 9.63 มีความเป็นด่าง โดยใช้คณิตศาสตร์ (M) เป็นตัวช่วยในการ หาปริมาณที่เหมาะสมก็จะแก้ดินเปรี้ยวได้ ดินสอพองที่ใช้ในเทศกาลสงกรานต์ต้องปรับค่า pH ให้เหมาะ กับผิวหนังของเรา คือ มี pH 5.0 – 8.0 โดยใช้สารสกัดจากพืชเป็นส่วนผสม”
  ช่วงเทศกาลนี้หวังว่าทุกท่านจะเล่นน้ำ ประดินสอพอง กันอย่างมีความสุข สนุกสนาน และปลอดภัย ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ สสวท. ได้ที่เว็บไซต์ www.ipst.ac.th เฟซบุ๊ค Ipst Thailand : https://www.facebook.com/ipst.thai
เครดิตข้อมูล จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/59537

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ