ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตามรอยขุนแผน แดนยุทธหัตถี สุพรรณบุรี


สุพรรณ1

ว่าด้วยเมืองแห่งขุนแผน แคว้นสุพรรณบุรี ก่อนจะกล่าวถึงขุนแผน เรามาทำความรู้จักกับ เมืองสุพรรณบุรีกันก่อนดีกว่า เรารู้จัก สุพรรณบุรีในหลายๆด้าน ทั้งเป็นเมืองแห่งศิลปิน เมืองแห่งวรรณคดี หรือเมืองแห่งยุทธหัดถี ดังคำขวัญประจำเมืองว่า  “เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง”

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

   “จังหวัดสุพรรณบุรี”  เป็นจังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่ง อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย คาดว่ามีอายุถึงยุคหินใหม่ ดังได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถานที่พบเป็นประจักษ์พยานบ่งบอกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี มีอายุสูงถึงยุคหินใหม่ ไม่เพียงเท่านั้นจังหวัดสุพรรณบุรียังเป็นเมืองเก่าแก่ทางพุทธศาสนาอีกด้วย จากการขุดค้นพบพุทธปฏิมากรรม ทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี จากสถิติพบไม่น้อยกว่า 140-150 ครั้ง ตั้งแต่สมัยอมราวดีเป็นต้นมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองที่พุทธศาสนาฝังรากไว้อย่างหนาแน่น ไม่น้อยกว่า 2,300 ปี มาแล้ว ราว พ.ศ. 70 -80
   สุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบบริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแต ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดลานมะขวิด (วัดป่าเลไลยก์) ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อว่าเมืองอู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว นี้จึงเรียกว่าชื่อว่า เมืองสุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา
คติโบราณ “ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ”
   ตั้งแต่สมัยโบราณมีคติถือกันโดยเคร่งครัดต่อกันมาว่า “ห้ามมิให้เจ้านายเสด็จไปเมืองสุพรรณ” แต่จะห้ามมาแต่ครั้งใดและด้วยเหตุผลประการใดนั้นไม่มีผู้สามารถจะตอบได้ จนกระทั่งถึงต้นรัชกาลที่ 5 ก็ยังคงถือกันเป็นประเพณีอยู่เช่นนี้เรื่อยมา เมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จะเสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนี้ พระยาอ่างทองยังทูลห้ามไว้ โดยถวายเหตุผลว่า เทพารักษ์หลักเมืองไม่ชอบเจ้านาย ถ้าเสด็จไปมักจะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่ทรงเชื่อ ทรงขืนเสด็จไปเมืองสุพรรณบุรีเป็นพระองค์แรก เพื่อจะทรงตรวจราชการที่เมืองนี้ ควรจะช่วย เหลือให้ความสะดวกอย่างไร หรือควรทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นอย่างไร ไม่ใช่การไปทำความชั่ว เทพารักษ์ประจำเมืองคงจะไม่ให้โทษเป็นแน่ เมื่อเสด็จกลับจากตรวจราชการครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ทรงได้รับภยันตรายประการใด เจ้านายพระองค์อื่นทรงเห็นเช่นนั้นก็ทรงเลิกเชื่อถือคติโบราณ และเริ่มเสด็จประภาสกันต่อมาเนืองๆ
สุพรรณ7
   ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมือง สุพรรณอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่นั้นเป็นมาก็ไม่มีผู้ใดพูดถึงคติที่ห้ามเจ้านายมิให้เสด็จไปเมือง สุพรรณอีกเลย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสุพรรณก็รวมอยู่ในมณฑลนครชัยศรี ซึ่งประกอบด้วย เมืองนครชัยศรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2438 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2456 มีการเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นจังหวัด เมืองสุพรรณบุรีจึงเป็นจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งแต่นั้นมา …
เมืองแห่งยุทธหัตถี
 สุพรรณ2
ยุทธหัตถีคือการทำสงครามบนหลังช้าง ซึ่งมีอยู่ในแถบชมพูทวีปสืบมาถึงอุษาคเนย์ ต้องใช้ความสามารถส่วนตัวเป็นหลักทั้งความสามารถในการควบคุมช้างและการใช้อาวุธต่างๆสู้กันตัวต่อตัวไม่ได้อาศัยกำลังทหารหรือกลอุบายใดๆ ปกติแล้วแม้จะเป็นยุคสงครามจารีตที่กษัตริย์รบกษัตริย์ ไพร่รบไพร่ การยุทธหัตถีระหว่างกษัตริย์ก็เกิดขึ้นได้ยาก กษัตริย์ที่ทรงทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะก็ถือได้ว่ามีพระเกียรติยศสูงสุด ผู้แพ้ก็ถึงว่าเป็นนักรบโดยแท้ อย่างเช่นเจ้าชายทุฏฐคามณีอภัยแห่งสิงหลทรงทำยุทธหัตถีได้ชัยเหนือพระเจ้าเอฬาระกษัตริย์ทมิฬจากโจฬะ
ตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาซึ่ง “ชำระขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น” จารึกไว้ว่า การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวร และพระมหาอุปราชานั้นได้เกิดขึ้นที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี นี้เอง ดังได้มีอนุสรณ์สถานต่างๆดังเช่น

“พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์” หรือที่รู้จักกันดีในชื่ออนุสรณ์ดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีราว 31 กิโลเมตร
สุพรรณ4
ซึ่งเชื่อกันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่กระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราชา ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับความเป็นมานั้น เนื่องมาจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม ปีพ.ศ.2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณปฏิสังขรณ์ องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์และถือเป็นวันกองทัพไทยด้วย อีกทั้งยังได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรขณะทรงพระคชาธารออกศึกทำยุทธหัตถี ทางด้านหน้าองค์พระเจดีย์ ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ ทั้งภาพแสงสีเสียงและหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว
สุพรรณ3
ด้านหลังของพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ตั้งของ “พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวร” โดยรอบพระตำหนักจะมีภาพปั้นนูนต่ำ แสดงเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวร มีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา ซึ่งมักมีผู้นิยมไปสักการบูชาอยู่เป็นนิตย์
นอกจากด้านประวัติศาสตร์ แล้วทางด้านวรรณคดี จ.สุพรรณบุรี ยังมีนิทานพื้นบ้านที่เป็นวรรณคดีอันลือเลื่อง ซึ่งบรรยาย ถึงภาพชีวิตของคนสุพรรณบุรีในอดีต ทั้งสถานที่และเนื้อหาได้อ้างอิงถึงสถานที่สำคัญใน จ.สุพรรณบุรี ปัจจุบันนี้ เราสามารถไปแวะชม เรือนขุนแผน ที่วัดแค เรือนขุนช้าง ที่หลังวัดป่าเลไลยก์ แวะชมต้นมะขามพันปี ที่ซึ่งเชื่อว่า ขุนแผนฝึกวิชาเสกใบมะขามเป็นต่อแตน
สุพรรณ6
นอกจากสถานที่ตามประวัติศาสตร์ เหล่านี้แล้ว จ.สุพรรณบุรียังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกมาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ