ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงเรียนเสนาธิการทหารบก อาคารใหม่กับบทบาทการฝึกผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการของกองทัพบก

 รรเสgiscgsc

 นายกรัฐมนตรี เป็นประธานงานสถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ครบ 106 ปี และพิธีเปิดอาคารโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (แห่งใหม่)
           รรเส3
วันนี้ (3 เมษายน 2558) เวลา 07.30 น. ณ อาคารโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (แห่งใหม่) กองคลังยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ ถนนพระรามที่ 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานงานสถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ครบ 106 ปี และพิธีเปิดอาคารโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (แห่งใหม่) โดยมีพลตรี ฐิตินันท์ อุตมัง ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ข้าราชการทหาร ศิษย์เก่าโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
เดิมคือกองคลังยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 มีระยะเวลา 600 วัน เป็นอาคารสูง 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 25,000 ตารางเมตร ทั้งนี้ ทำให้โรงเรียนดังกล่าวมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สามารถใช้ในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการศึกษาและการปฏิบัติงานของข้าราชการ นักศึกษาทหารในหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อสามารถผลิตผู้บังคับบัญชาฝ่ายอำนวยการให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นในการรองรับภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ในสภาวะแวดล้อมในอนาคตได้
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นส่วนราชการขึ้นตรง กรมยุทธศึกษาทหารบก
รรเส1
ภารกิจโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ให้การฝึกและให้การศึกษาแก่นายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบก นอกกองทัพบก และบุคคลพลเรือนทั้งทางยุทธวิธี เสนาธิการกิจและการช่วยรบ ระดับกองพลขึ้นไป เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการได้ ตลอดจนวิทยาการชั้นสูงระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอื่นๆ ตามที่กองทัพบก
ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ
  • วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ และดำเนินการให้การฝึกและศึกษาแก่นายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบก นอกกองทัพบก และบุคคลพลเรือน ทั้งทางยุทธวิธี เสนาธิการกิจ และการช่วยรบระดับกองพลขึ้นไป เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการได้
  • การดำเนินการจัดการศึกษา ตลอดจนวิทยาการชั้นสูง ระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรอื่น ๆ ที่กองทัพบกมอบหมาย
  • ร่วมมือในการค้นคว้า พัฒนา ตามโครงการพัฒนาหลักนิยมหน่วยระดับกองพลขึ้นไป
  • ดำเนินการทางธุรการ กำลังพล ของนายทหารนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกทุกหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีรับสมัคร สอบคัดเลือก ประกาศผลสอบ และการรายงานตัว การทะเบียนประวัติ การแต่งตั้งยศ การสถิติ รวมทั้งพิธีต่างๆ ในความรับผิดชอบของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • ศึกษา วิจัยและพัฒนา และเสนอแนะ จัดทำตำราตลอดจนรวบรวมข้อมูล สถิติ เกี่ยวกับวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
  • ปกครองบังคับบัญชานายทหารนักเรียน และผู้เข้ารับการศึกษา

หลักสูตรหลักประจำแห่ง โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็นหลักสูตรเพื่อ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความรู้ความสามารถ ดังต่อไปนี้
  • ปฏิบัติงานในหน้าที่ของ ผบ. และ ฝอ. ในหน่วยรบ, หน่วยสนับสนุนการรบ, หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ ในระดับกรม กองพล หรือเทียบเท่า ได้เป็นอย่างดี ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม
  • ปฏิบัติงานในหน้าที่ของ ผบ. และ ฝอ. ในหน่วยรบ, หน่วยสนับสนุนการรบ, หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ ในระดับเหนือกว่ากองพลได้ตามความต้องการของกองทัพบก และสามารถเป็นฝ่ายอำนวยการในการยุทธ์ร่วม/ยุทธ์ผสมได้ในระดับยุทธการลงมา
  • ปฏิบัติงานตามภารกิจและพันธกิจของ ทบ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานร่วมกับ เหล่าทัพอื่น, ส่วนราชการ และมิตรประเทศได้
  • มีภาวะผู้นำที่ดี มีบุคลิกภาพที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะผู้บังคับบัญชา และฝ่ายอำนวยการ
  • มีความรอบรู้เกี่ยวกับ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงของประเทศไทย
เครดิตภาพ จาก : youtube Kittisak kkwww.giscgsc.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ