ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จากอยุธยา มากรุงธนบุรี



กรุงศรี1@zyrusHmab
หลังจาก พระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 แล้วนั้น กรุงศรีอยุธยาก็เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาอีกยาวนาน ศัตรูทางพม่าอ่อนแอลง ขณะเดียวกันเขมรก็ถูกปราบปรามจนสงบ ความมั่นคงมั่นคงทางเศรษฐกิจ จึงเกิดขึ้นตามมา ในสมัยนั้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยากลายเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ตามคำกล่าวของชาวยุโรปที่หลั่งไหลเข้ามา ติดต่อค้าขายในช่วงเวลาดังกล่าว กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นศูนย์กาลางทางการค้าทั้งในและนอกประเทศ มีผู้คนเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายเป็นจำนวนมาก แม่น้ำลำคลองมีผู้สัญจรไปมาอยู่คึกคัก จึงพากันเรียกพระนครแห่งนี้ว่า เวนิสตะวันออก  
                  หลังจากโปรตุเกส เข้ามาติดต่อค้าขายเป็นชาติแรกแล้วฮอลันดา ญี่ปุ่น และอังกฤษก็ตามเข้ามา ทั้งนี้ไม่นับจีน ซึ่งค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว ชนชาติเหล่านี้ได้รับการจัดสรรที่ดินให้อยู่เป็นย่าน เฉพาะ ดังปรากฏชื่อบ้านโปรตุเกส บ้านญี่ปุ่นและบ้านฮอลันดามาจน ปัจจุบัน การค้าขายกับชนชาติต่างๆในสมัยนั้น ทำให้กรุงศรีอยุธยามีการเก็บภาษีที่ เรียกว่า ขนอน มีด่านขนอนซึ่งเป็นด่านเก็บภาษีอยู่ตามลำน้ำใหญ่ทั้ง ๔ ทิศ และยังมีขนอนบกคอยเก็บภาษีที่มาทางบกอีกต่างหาก
                  วิถีชีวิตของชาวกรุศรีอยุธยาสมัยนั้น เมื่อถึงหน้าน้ำก็มีการเล่นเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน เมื่อเสร็จหน้านาก็มีการทอดกฐิน ลอยกระทง งานรื่นเริงต่าง ๆ ของชาว บ้านมักทำควบคู่ไปกับพิธีการของชาววัง เช่น พระราชพิธีจองเปรียญตาม พระประทีป ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นลอยกระทงทรงประทีป พระราชพิธี สงกรานต์ พระราชพิธีแรกนาขวัญ พิธีกรรมเหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตของชาว อยุธยาที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติแม่น้ำลำคลองอย่างเหนียวแน่น  อยุธยา เจริญขึ้นมาโดยตลอด การค้าสร้างความมั่งคั่งให้พระคลัง ที่มีสิทธิ์ซื้อสินค้าจากเรือสินค้าต่างประเทศทุกลำได้ก่อนโดยไม่เสียภาษี ความมั่งคั่งของราชสำนักนำไปสู่การสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ การทำนุ บำรุงศาสนาและการก่อสร้างพระราชวังให้ใหญ่โตสง่างาม  ใน สายตาของชาวต่างประเทศแล้ว กรุงศรีอยุธยาเป็นมหานคร อันยิ่งใหญ่ ที่มีพระราชวังเป็นศูนย์กลาง โยสเซาเต็น พ่อค้าชาวฮอลันดาที่ เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นนครที่ใหญ่โตโอ่อ่าวิจิตรพิสดาร และพระมหากษัตริย์ สยามเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภาคตะวันออกนี้
ในยุคสมัยของพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยาวนานถึง ๖๐ ปีนั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระเจ้าปราสาททองทรงมุ่งพัฒนาบ้านเมืองทั้งทางด้านศิลปกรรมและการค้ากับต่าง ประเทศ ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนารามริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นด้วยคติเขาพระสุเมรุจำลอง อันเป็นแบบอย่างที่ได้รับ อิทธิพลมาจากปราสาทขอม พร้อมกันนี้ก็ได้มีการคิดค้นรูปแบบทางศิลปกรรมใหม่ๆ ขึ้น เช่นพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบ อยุธยาอันงดงามก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาในสมัยนี้
                      เมื่อ สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ความขัดแย้งภายในเนื่องจากการแย่งชิงราชสมบัติเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องเหล่านี้ก็มีกันมาเนืองๆ ทำให้การติดต่อกับต่างประเทศซบเซาลงไป ตั้งแต่รัช สมัยสมเด็จพระเพทราชาจนถึงพระเจ้าท้ายสระ มีการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆเพียงไม่กี่ อย่าง ครั้นถึงสมัยพระเจ้าบรมโกศ บ้านเมืองก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง จนกล่าวได้ว่ายุคสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของศิลปวิทยา การอย่างแท้จริงก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะตกต่ำไปจนถึงกาลล่มสลาย  ใน รัชกาลนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ศิลปกรรม เฟื่องฟูขึ้นมาอย่างมากทั้งในด้านลวดลายปูนปั้น การลงรักปิดทอง การช่างประดับ มุก การแกะสลักประตูไม้ ทางด้านวรรณคดีก็มีกวีเกิดขึ้นหลายคน ที่โดเด่นและ เป็นที่รู้จักคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ผู้นิพนธ์กาพย์เห่เรือ ส่วยการมหรสพก็มีการฟื้น ฟูบทละครนอกละครในขึ้นมาเล่นกันอย่างกว้างขวาง กรุงศรีอยุธยาถูกขับกล่อม ด้วยเสียงดนตรีและความรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา  แต่ ท่ามกลางความสงบสุขและรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม ความขัดแย้งค่อยๆ ก่อตัวขึ้น การแย่งอำนาจทั้งในหมู่พระราชวงศ์ ขุนนาง
กรุงศรี2
            ครั้นถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง  นับเป็นวันที่เราต้องเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ 2
           หลังจากกรุงแตกแล้ว กองทัพพม่าได้พักอยู่ถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310 ก่อนจะรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติแล้วยกทัพกลับอาณาจักรพม่า พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งในบรรดาเชลยนั้นมีสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพ คุมพล 3,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลัง
หลังจากนั้น เพื่อความอยู่รอด ทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น “รัฐบาลธรรมชาติ” ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติซึ่งมีขนาดใหญ่เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า “ชุมนุม” หรือ “ก๊ก” ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่งทีเดียว นับเป็นมหันตภัยร้ายแรงเมื่อไม่มีชุมนุมทางการเมืองใดจะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติให้กลับคืนดังเดิม

            ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาตากเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัย พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี พร้อมด้วยทหารกล้าราว 500 คน มีปืนเพียงกระบอกเดียว แต่ชำนาญด้านอาวุธสั้น ยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัย และตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออก มุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหาร
ขณะที่เนื้อความใน คำให้การขุนหลวงหาวัด เอกสารที่ใกล้เคียงกับยุคสมัยมากกว่าได้ระบุว่ามีราชโองการให้ “พระยาตาก” พระยาเพชรบุรีและหลวงสุรเสนีแต่งทัพเรือไปคอยดักสกัดทัพเรือพม่าที่วัดใหญ่ พระยาเพชรบุรีนำกำลังรุดเข้าตีทหารพม่าก่อนแต่กลับพ่ายแพ้ ตัวเองถูกสังหารในที่รบ “พระยาตาก หลวงสรเสนีถอยมาแอบดู หาช่วยหนุนไม่ แล้วไปตั้งอยู่ ณ วัดพิชัย” รุ่งเช้า ได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไป ก่อนเดินทางไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ในขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารพระยาตากที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่ตามมา แต่ถูกกลอุบาย “วงกับดักเสือ” ถูกตีกระหนาบจนแตกหนีไป
พวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ทราบข่าวพระยาตากรบชนะพม่าก็พากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก พระยาตากจึงให้ราษฎรไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ และให้นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมาด้วย นายซ่องทั้งหลายไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้าง ม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายก ผ่านด่านกบแจะ ข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทรา
พระยาตากได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง เมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาตากก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมือง นับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
               การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมาก พระยาตากได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพลและได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียว เมื่อพายุหมุนหยุดแล้ว ต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัว ปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า ตาลขด  หลังจากนั้น บรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ ต่างพร้อมใจกันยกพระยาตากขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดิน และเรียกพระยาตากว่า เจ้าตาก นับตั้งแต่นั้นมา ถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมือง แต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏ ให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้น
อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวาย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า มีพระบรมราชโองการให้จับพระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่า ข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจาย ขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยอง พระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา และกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิม
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงคำพูดของพระยาตากไว้ตอนหนึ่งว่า

             ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองให้ได้มาก แล้วจะยกกลับไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจัดทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร ซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็นเป็นสุขานุสุข แล้วจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้นให้คนทั้งหลายยำเกรงจงมาก ซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด      พระยาตาก

          หลังจากนั้น เจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรี เพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึก พร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา 3 เดือน พร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการ
เมื่อสิ้นฤดูมรสุม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2310 เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรี เมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7 เดือนหลังจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยา
หลังจากสร้างพระราชวังบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน จุลศักราช 1128 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระเจ้าตาก1

ภาพประธานด้านหลังธนบัตร 20 บาท แบบที่ 12 เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จำลองจากพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

เครดิตภาพจาก
: lanpanya.com
:@zyrusHmab จาก Pantip.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ