ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คสช. มอบ กอร.รส. เข้าดูแลพื้นที่สนามหลวงต่อ

คสช. มอบ กอร.รส. เข้าดูแลพื้นที่สนามหลวงต่อ เพื่อสนับสนุนการจัดนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และอำนวยความสะดวกประชาชนตลอดเดือน พ.ย. นี้ ขณะเดียวกันเดินหน้าช่วยเหลือและเยียวยาพื้นที่ประสบอุทกภัย
พลเอก วีรชัย อินทุโศภน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะรองเลขาธิการ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยกล่าวว่า หลังจากที่พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ในส่วนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเฉพาะกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย
(กอร.รส.) จะยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลในเรื่องการดูแลพื้นที่สนามหลวงต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะเข้าชมนิทรรศการงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่าง ๒-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ขอให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกองทัพภาคที่ ๑ ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักของกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย ได้เตรียมสานต่อการรับผิดชอบพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนการจัดนิทรรศการ ให้มีความเรียบร้อย ทั้งนี้ การดูแลพื้นที่สนามหลวง ขอให้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกับก่อนงานพระราชพิธีฯ ทั้งในเรื่องการรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการพื้นที่ และการอำนวยความสะดวกประชาชน โดย กอร.พระราชพิธีฯ จะส่งมอบพื้นที่เขตราชวัต และพื้นที่ท้องสนามหลวง
ให้กับกองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อย รับผิดชอบต่อในวันนี้

รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังได้กำชับให้ทุกส่วนดำเนินการ
ตามนโยบายและความห่วงใยของนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งขณะนี้ยังคงมีมวลน้ำที่รอการไหลลงมาสู่พื้นที่ตอนล่าง ขอให้อำนวยความสะดวกประชาชนอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะการจัดรถและพาหนะรับ-ส่ง การเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีเกณฑ์เสี่ยง
ต่อการเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ขอให้ช่วยกันดูแลประชาชน และส่งผ่านความห่วงใยของรัฐบาลที่กำลังเร่งแก้ไขปัญหาอุทกภัย รวมถึงการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ ในเรื่องของการป้องกันมิให้มีผู้ประกอบการฉกฉวยโอกาส
ขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมนั้น กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ประจำพื้นที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพาณิชย์จังหวัดจะต้องร่วมกันตรวจสอบมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
อย่างไรก็ตามในงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนรัฐบาล นั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จะยังคงร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ดำเนินการต่อเนื่อง อาทิ กำจัดผักตบชวา บริหารจัดการน้ำ ขุดลอกและปรับปรุงแหล่งน้ำ ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรม สนับสนุนการขนย้ายข้าวสารสู่อุตสาหกรรมที่มิใช่การบริโภค สำหรับการดูแลพื้นที่ชายแดนและจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ส่วนที่รับผิดชอบกำกับดูแลสร้างความปลอดภัยประชาชนอย่างเต็มที่ รวมทั้งเป็นการป้องปรามการลักลอบกระทำผิดกฎหมายในทุกรูปแบบ
........................ ๓๐ ตุลาคม ๖๐

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ