ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มีข้อมูล ตลาดประชารัฐ มาเสริม นะครับ

มีข้อมูล ตลาดประชารัฐ มาเสริม นะครับ
มีทั้ง ใน กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ติดต่อได้ ที่ “ศูนย์ดำรงธรรม” ที่มีอยู่ทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ
“ตลาดประชารัฐ” ที่กำลังจะเปิดให้บริการ ตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งดำเนินงาน ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ตลาดใหม่ รวมทั้งขยายพื้นที่ตลาดเดิม สำหรับรองรับการจัดจำหน่ายสินค้าที่กระจายตัว อย่างทั่วถึง สามารถสนับสนุนให้พี่น้องประชาชน เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงกลุ่มอาชีพต่างๆ ได้มีโอกาสค้าขายมากขึ้น ลดต้นทุนทางการตลาด และเปิดโอกาสให้กับผู้ค้ารายใหม่ ได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่...
1. ตลาดประชารัฐ Green Market ของ องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นการขยายพื้นที่ตลาดเดิม สามารถรองรับผู้ค้ารายใหม่ได้กว่า 800 ราย
2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ ของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 2,000 กว่าแห่ง เป็นการขยายตลาด เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้ค้าในชุมชน และเกษตรกร ได้มีโอกาสนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น รองรับผู้ประกอบการ ประมาณ 20,000 กว่าราย
3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กว่า 3,800 แห่ง เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ตลาดเดิม เปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้ค้าหาบเร่และแผงลอย ได้เข้ามาทำการค้าขายในพื้นที่ รองรับผู้ประกอบการ ประมาณ 40,000 กว่าราย
4. ตลาดประชารัฐ กทม.คืนความสุข 14 แห่ง เป็นการหาพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการที่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีพื้นที่ค้าขาย รองรับกลุ่มผู้ค้ารายใหม่กว่า 10,000 ราย
5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ดำเนินการโดย จังหวัดและบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ซึ่งเป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ เช่น สินค้าตามฤดูกาล สถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น
​6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade ของกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด โดยการเพิ่มพื้นที่ตลาดในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ภายในจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้กับเกษตรกรได้นำสินค้าไปขาย ในราคาค่าเช่าถูก หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย
​ 7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยเพิ่มพื้นที่ให้กับผู้ค้ารายใหม่ในตลาดนัดของ ธ.ก.ส.ที่มีอยู่ 147 แห่งทั่วประเทศ
​ 8. ตลาดประชารัฐต้องชม ของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นการส่งเสริมด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นการค้าขาย เช่น ตลาดน้ำ ตลาดแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
​และ 9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม ของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นการส่งเสริมการตลาดสินค้าเชิงวัฒนธรรม เช่น การจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิต และการให้บริการทางวัฒนธรรม เป็นต้น
​ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการตลาดประชารัฐ จะใช้กลไกของ “ศูนย์ดำรงธรรม” ที่มีอยู่ทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ เป็นสถานที่รับลงทะเบียน ให้กับผู้ที่ประสงค์จะมีพื้นที่ค้าขาย ได้ลงทะเบียน เพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 10 – 30 พฤศจิกายน 2560 ทั้งนี้ “ตลาดประชารัฐ” ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวม 6,523 แห่งทั่วประเทศ จึงขอเชิญชวนผู้ประสงค์พื้นที่ค้าขาย ลงทะเบียนเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการต่อไป / เพื่อร่วมกันสร้างโอกาสและรายได้ ให้กับกลุ่มผู้ค้ารายใหม่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ