ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ พระราชทาน'การ์ดทรงขอบใจ' ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ พระราชทาน'การ์ดทรงขอบใจ' ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
27 พ.ย. 60 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทาน "การ์ดทรงขอบใจ" แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จิตอาสาเฉพาะกิจ และประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่ร่วมในพระราชพิธีถวานพระเพลิงพระบรมศพเมื่อวันที่ 25-29 ต.ค. 2560
สำหรับการ์ดขอบใจ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ด้านบนเป็นภาพพระบรมสาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขณะทรงโบกพระหัตถ์ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิต ขณะทรงงานและมีพระเสโทหยดที่ปลายพระนาสิก พร้อมข้อความ "ธ สถิต ในดวงใจ ไทยนิรันดร์
ถัดลงมาเป็นข้อความ "บัดนี้การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 ได้แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ และสมพระเกียรติยิ่ง ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งต่างตั้งใจกระทำการทุกอย่างโดยเต็มกำลังสถิปัญญาความสามารถเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ
จึงขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ทั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ทั้งผู้ที่อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เป็นจิตอาสาเฉพาะกิจ หรือแม้มิได้เป็นจิตอาสา แต่ก็เต็มใจช่วยเหลืองานพระราชพิธีทุกด้าน รวมทั้งผู้ที่อุตสาหะมาร่วมงานพระราชพิธี ในตลอดเส้นทางเคลื่อนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ และที่พระเมรุมาศจำลอง กับซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ทุกแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดถึงผู้ที่ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดที่ต่างระลึกมั่นในพระมหากรุณาธิคุณ ก็ส่งใจมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยด้วยความจงรักภักดี
ความสามัคคีพร้อมเพรียงกันในการสนองพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ นับเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงสุด และเป็นเครื่องยืนยันอย่างสำคัญว่า แม้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเสด็จสวรรคตล่วงไปแล้ว แต่จะทรงสถิตอยู่ในใจของประชาชนชาวไทย ที่จำจดรำลึกพระมหากรุณาธิคุณตลอดไปไม่มีเสื่อมคลาย
ลงท้ายพระปรมาภิไธย
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2560

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ