ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไม่มีใครไม่เคยทำผิด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำผิดแล้วเจอทางออกที่ดี

อ่านโพสต์นี้แล้วโดนใจมาก
จริงๆตั้งใจแค่จะเก็บไว้เตือนตัวเอง
แต่คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์กับใครอีกหลายคน ในการดำเนินชีวิตครัย
Cr.ครูนอตแห่งพงษ์พิทักษ์
ไม่มีใครไม่เคยทำผิด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำผิดแล้วเจอทางออกที่ดี บางคนแม้จะลอยนวลกับความผิด ก็ต้องมาติดคุกในใจตัวเอง ทั้งๆ ที่ทางออกดีๆ มีให้เราเสมอ
--
0 สำนึก
ไม่นับเป็นข้อ 1 เพราะถือว่านี่เป็นพื้นฐานของการทำผิด และถ้าขาดการสำนึก ก็ไม่ต้องอ่านข้อต่อไป
1 ให้อภัยตัวเอง
เราไปร้องขอการให้อภัยจากคนอื่นไม่ได้ นั่นเป็นสิทธิ์ของเขา แต่จำไว้ว่า คนที่สำนึกผิด และคิดแก้ไข สมควรได้รับการให้อภัยเสมอ และเราคือคนที่ต้องให้อภัยตัวเองเป็นคนแรก เมื่อเราเมตตาตัวเอง เราจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
2 กล้าให้มากกว่ากลัว
ผลลัพธ์ของความผิดมันน่ากลัวเป็นเรื่องธรรมดาครับ จงกดความกลัวด้วยความกล้า กล้าทั้งๆที่กลัวนั่นแหละ แล้วเราจะพบว่าเรามีพลังมากพอที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
3 ขอโทษ
เราขอโทษเพื่อเขา ไม่ใช่เพื่อตัวเรา ขอโทษอย่างไม่มีข้อแม้ ไม่มีคำว่า “แต่” ยอมรับในความผิดที่เกิดขึ้นอย่างจริงใจ จงเห็นใจเขาที่เขาเดือดร้อนเพราะความผิดพลาดของเรา
4 รับผิดชอบแก้ไข
เราเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้
แต่เราเปลี่ยนสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่เรากำลังจะทำ แล้วเราจะพบว่าความผิดพลาดที่ตอนแรกไม่รู้จะจัดการอย่างไร มีหนทางแก้ไขที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นเสมอ
5 อย่าประมาททำผิดซ้ำรอยเดิม
ขอบคุณบทเรียนที่เกิดขึ้น มันสอนให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นในวันพรุ่งนี้ เราได้เรียนรู้ความผิดพลาดเพิ่มอีกอย่างในชีวิต แต่อย่าประมาทใจตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างมีสติ เพื่อรับมือกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
-------ข้อห้าม-------
1 อย่าโทษคนอื่น
เราเลือกที่จะไปยืนหายใจในบทบาทคนผิดด้วยตัวเอง อย่างอื่นเป็นแค่ปัจจัยหนุน อย่ามีเหตุผลที่ผู้คนเรียกว่าข้ออ้าง มาทำให้ตนแย่ลงไปอีก
2 อย่าทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ต่อให้เราสำนึกแล้ว รับผิดชอบแล้ว อย่างน้อยควรมีคำอธิบายหรือคำขอโทษ การที่เราตีมึนทำเป็นไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็แค่เราอ่อนแอเกินกว่าจะเผชิญความจริง
3 อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง
การช่างมันกับความผิดพลาดโดยไม่เร่งแก้ไข คือบัญชีสะสมปมปัญหา มันจะยิ่งพอกพูนด้วยดอกเบี้ยในอัตราที่เราคาดไม่ถึง
4 อย่าโกหก
สิ่งนี้คือการลดคุณค่าในตัวเองที่ร้ายแรงที่สุดครับ ไม่สำคัญว่าคนฟังจะเชื่อเราไหม หรือเราจะพ้นผิดไหม เราจะร้อนจากข้างในไปพร้อมกับเรื่องที่เราแต่งขึ้นมาเพื่อเอาตัวรอด
5 อย่าคิดที่จะทำยังไงให้พ้นผิด แทนที่จะคิดจะรับผิดชอบแก้ไข เพราะการคิดทำให้ตัวเองพ้นผิด เราจะยิ่งผูกปมเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากการพยายามแก้ไข ที่เป็นการคลายปม
---
เพราะคำพูดบางคำ เปลี่ยนชีวิตบางคน
---
ตั้งใจได้สำรวจและมีเครื่องมือเมื่อ “ตัวเรา” ทำผิดพลาด มันจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเรามัวไปนึกถึงความผิดของคนอื่น เราอาจปรารถนาดีแนะนำคนอื่นได้...ถ้าเขาอยากฟัง เริ่มสำรวจที่ตัวเรา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ