เมื่อ
พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน หรือ หมอภาคย์ เจ้าของฉายา หมอแกร่งที่สุดในปฐพี
ผู้ที่พิชิตทั้ง 6 หลักสูตรนักรบ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “ภาคย์ โลหารชุน”
ออกมานำเสนอในอีกมุมที่หลายคนอาจไม่ทันคิด...
ผู้ไม่เคยฝึก และผู้ผ่านการฝึก ย่อมสามารถต่างกัน
#สามัคคี
#มีสติ
ออกมานำเสนอในอีกมุมที่หลายคนอาจไม่ทันคิด...
ผู้ไม่เคยฝึก และผู้ผ่านการฝึก ย่อมสามารถต่างกัน
#สามัคคี
#มีสติ
จากกรณี ทางรายการทุบโต๊ะข่าว ทางช่อง อมรินทร์ ทีวี ได้เปิดเผยบทสัมภาษณ์
นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล แพทย์สังคมสื่อสารเพื่อคุณธรรม ซึ่งได้กล่าวถึง
การทำโทษด้วยท่าหัวปักพื้น มีผลทำให้เลือดที่มาเลี้ยงสมองมีแรงกดดันมากขึ้น
อาจทำให้หลอดเลือดในสมองฉีกขาด ซึ่งผลข้างเคียงก็คือ ปวดหัว ตาแข็ง มัว
เบลอ เห็นภาพซ้อน ชักเกร็งและอ่อนแรง
และบริเวณกระดูกคอที่รับน้ำหนักมากผิดปกติจากแรงกด
มีผลต่อเส้นประสาทคอที่เชื่อมกับกระบังลม ความดันในสมอง
ทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้
นายแพทย์สิทธา กล่าวด้วยว่า การทำท่าโค้งอยู่ในลักษณะนี้เป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไหลเข้าไปเลี้ยงตับ ไต ม้าม หัวใจ ในปริมาณที่น้อย ซึ่งจะทำให้อวัยวะเสื่อมได้ และยิ่งมีการยกขาสลับขึ้น-ลง ยิ่งอันตรายใหญ่ นอกจากนี้ ถ้าหากตะแกรงที่ศีรษะปักลงไปนั้นไม่สะอาด ก็อาจทำให้มีการติดเชื้อได้อีก และยิ่งผู้กระทำมีน้ำหนักมากหรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจก็ยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก
หลังจากที่ คำสัมภาษณ์ของคุณหมอถูกเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก นั้น ทาง พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน หรือ หมอภาคย์ เจ้าของฉายา หมอแกร่งที่สุดในปฐพี ผู้ที่พิชิตทั้ง 6 หลักสูตรนักรบ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “ภาคย์ โลหารชุน” ระบุว่า “คนไทยด้วยกันสามัคคีกันไว้ ในมุมมองทางการแพทย์ ย่อมมีความเป็นห่วงเป็นธรรมดา เพราะท่า ‘หัวปัก’ อาจเป็นอันตรายกับคนที่มีโรคประจำตัว หรือ คนที่ไม่เคยฝึกอาจได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้อหรือกระดูกต้นคอหากผิดพลาด
ในมุมมองของผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมา ก็ถือว่าเป็นท่าปกติธรรมดา เพราะกล้ามเนื้อคอได้รับการฝึกฝนมาแล้ว ใครๆก็ทำได้ นานเป็นชั่วโมงก็ยังได้ แล้วในระยะยาวพวกรุ่นพี่ที่ผมรู้จักที่ผ่านหลักสูตรรบพิเศษไม่ว่า ทบ. ทร. ทอ. ตร. ที่ผ่านการฝึกท่า หัวปัก มาอย่างโชกโชน จนอายุมาก หรือ เกษียณไปแล้ว ก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีปัญหาสุขภาพจากท่านี้ แต่!ก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% ในระยะยาว เพราะหากแก่ตัวไปกระดูกเริ่มเปราะบางอาจงานเข้าก็ได้ หรือ เริ่มมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน หลอดเลือดสมอง ยิ่งงานเข้าชิ้นโตเลย
ในโลกนี้มีอะไรที่เราไม่รู้อีกเยอะ และไม่มีอะไรแน่นอน ปัจจัยตัวบุคคลแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น!!! ความเห็นและมุมมองมันย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา มันเกิดจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลสะสมมา ไม่มีประโยชน์ที่จะไปหาว่าใครถูกใครผิด เพราะผลลัพธ์ที่เกิดกับแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน แต่ไม่ดีแน่หากความเห็นต่างนำมาซึ่งความเบียดเบียน หรือ เกลียดชังกัน สุดท้ายแตกแยกทะเลาะเบาะแว้ง เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย
นายแพทย์สิทธา กล่าวด้วยว่า การทำท่าโค้งอยู่ในลักษณะนี้เป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไหลเข้าไปเลี้ยงตับ ไต ม้าม หัวใจ ในปริมาณที่น้อย ซึ่งจะทำให้อวัยวะเสื่อมได้ และยิ่งมีการยกขาสลับขึ้น-ลง ยิ่งอันตรายใหญ่ นอกจากนี้ ถ้าหากตะแกรงที่ศีรษะปักลงไปนั้นไม่สะอาด ก็อาจทำให้มีการติดเชื้อได้อีก และยิ่งผู้กระทำมีน้ำหนักมากหรือมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจก็ยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก
หลังจากที่ คำสัมภาษณ์ของคุณหมอถูกเผยแพร่ออกไป ก็ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก นั้น ทาง พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน หรือ หมอภาคย์ เจ้าของฉายา หมอแกร่งที่สุดในปฐพี ผู้ที่พิชิตทั้ง 6 หลักสูตรนักรบ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “ภาคย์ โลหารชุน” ระบุว่า “คนไทยด้วยกันสามัคคีกันไว้ ในมุมมองทางการแพทย์ ย่อมมีความเป็นห่วงเป็นธรรมดา เพราะท่า ‘หัวปัก’ อาจเป็นอันตรายกับคนที่มีโรคประจำตัว หรือ คนที่ไม่เคยฝึกอาจได้รับบาดเจ็บ กล้ามเนื้อหรือกระดูกต้นคอหากผิดพลาด
ในมุมมองของผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมา ก็ถือว่าเป็นท่าปกติธรรมดา เพราะกล้ามเนื้อคอได้รับการฝึกฝนมาแล้ว ใครๆก็ทำได้ นานเป็นชั่วโมงก็ยังได้ แล้วในระยะยาวพวกรุ่นพี่ที่ผมรู้จักที่ผ่านหลักสูตรรบพิเศษไม่ว่า ทบ. ทร. ทอ. ตร. ที่ผ่านการฝึกท่า หัวปัก มาอย่างโชกโชน จนอายุมาก หรือ เกษียณไปแล้ว ก็ยังไม่เคยได้ยินว่ามีปัญหาสุขภาพจากท่านี้ แต่!ก็ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัย 100% ในระยะยาว เพราะหากแก่ตัวไปกระดูกเริ่มเปราะบางอาจงานเข้าก็ได้ หรือ เริ่มมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน หลอดเลือดสมอง ยิ่งงานเข้าชิ้นโตเลย
ในโลกนี้มีอะไรที่เราไม่รู้อีกเยอะ และไม่มีอะไรแน่นอน ปัจจัยตัวบุคคลแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น!!! ความเห็นและมุมมองมันย่อมแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา มันเกิดจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลสะสมมา ไม่มีประโยชน์ที่จะไปหาว่าใครถูกใครผิด เพราะผลลัพธ์ที่เกิดกับแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน แต่ไม่ดีแน่หากความเห็นต่างนำมาซึ่งความเบียดเบียน หรือ เกลียดชังกัน สุดท้ายแตกแยกทะเลาะเบาะแว้ง เกิดความเดือดร้อนวุ่นวาย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น