ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2016

นาวิกโยธิน : กำลังรบบนบกของกองทัพเรือ

นาวิกโยธิน : กำลังรบบนบกของกองทัพเรือ    หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (Royal Thai Marine Corps) ทหารนาวิกโยธินของราชนาวีไทย อยู่ใน "ส่วนกำลังรบ" สังกัด "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน" ของกองทัพเรือ โดยมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3   โดยเรียกว่า "ทหารมะรีน" อันเป็นคำทับศัพท์จากคำว่า " Marines" ใน ภาษาอังกฤษ   แต่กิจการทหารมะรีน หรือนาวิกโยธินในอดีตไม่สู้มั่นคงนัก ได้มีการจัดตั้งและยุบเลิกไปหลายครั้ง กระทั่งเมื่อวันที่   30 กรกฎาคม   พ.ศ. 2498   กองทัพเรือได้ดำเนินการสถาปนากรมนาวิกโยธินขึ้นอีกครั้ง ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม   เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของกองกิจการพิเศษ ภายใต้คำแนะนำของกองทัพอเมริกันถึงความจำเป็นที่ต้องมีนาวิกโยธิน ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้ง และได้สืบต่อกิจการนาวิกโยธินอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งทหารนาวิกโยธินได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วยสืบมา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยราชการของกองทัพเรือ เป็นผลให้

เฮลิคอปเตอร์แบบ Mi-17

  เฮลิคอปเตอร์ลำเลีย แบบ 17   เฮลิคอปเตอร์แบบ Mi- 17 เป็นเฮลิคอปเตอร์สองเครื่องยนต์ที่ได้รับการผลิตเป็นจำนวนมากที่สุดในโลกมาหลายสิบปี (มากกว่า 12,000 ลำ) และได้พิสูจน์ประสิทธิภาพการใช้งานในแล้วในกองทัพทั่วโลกเกือบ 100 ประเทศ กองทัพบกไทยได้จัดหา Mi- 17 V 5 จากประเทศรัสเซียจำนวน 3 ลำ นำเข้าประจำการอยู่ที่ศูนย์การบินทหารบกในจังหวัดลพบุรี โดย Mi- 17 V 5 จะเข้ามารับภารกิจการลำเลียงทั่วไป การขนส่ง การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการใช้งานทั่วไป ข้อมูลทั่วไป ผู้สร้าง                    บริษัท KAZAN HELICOPTER  สหพันธรัฐ รัสเชีย ประเภท                  เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง แบบ 17 เครื่องยนต์             TURBOSHAFTS  KLIMOV TV 3 – 117 VM จำนวน 2 เครื่อง สมรรถนะและขีดความสามารถ            น้ำหนักรวม       28,700 ปอนด์ น้ำหนักบรรทุก   8,800 ปอนด์ ระบบอาวุธ              ปืนกลอากาศ จรวด จรวดนำวิถี วางทุ่นระเบิด                                              ระเบิดสูงสุดขนาด 500 กก. ความเร็วสูงสุด       139 ไมล์/ชม. ความเร็วเดินทาง    127 ไมล์/ชม. พิสัยบิน                  3

วันสิ่งแวดล้อมโลก : ทหารกับการพิทักษ์ผืนป่า

วันสิ่งแวดล้อมโลก : ทหารกับการพิทักษ์ผืนป่า  5 มิถุนายน ของทุกปี ประชาชาติทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น วันแห่งการร่วมมือระหว่างชาติของทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมWORLD ENVIRONMENT DAY                หากนับย้อนไป ณ จุดเริ่มแรกของวันดังกล่าวที่ได้มีการตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ที่ กรุงสตอกโฮลม์  ระหว่างวันที่  5 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515  โดยมีรัฐบาลของ ประเทศสวีเดน เป็นเจ้าภาพ กับสหประชาชาติ เรียกการประชุมนี้ว่า   “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” ( UN Conference on the Human Environment )  โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี มีการจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลกผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคาม ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 พระบรมราชินีนาถ แห่งสหราชอาณาจักรฯ (Elizabeth II of the United Kingdom)

สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 พระบรมราชินีนาถ แห่งสหราชอาณาจักรฯ (Elizabeth II of the United Kingdom) สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 พระบรมราชินีนาถ แห่งสหราชอาณาจักรฯ (Elizabeth II of the United Kingdom) เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี  คือพระนามของพระองค์ ทรงได้รับพระนาม  เอลิซาเบธ  ตามพระราชมารดา,  อะเล็กซานดรา  ตามสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระปัยยิกา (ย่าทวด) ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนการประสูติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ 6 เดือน และ  แมรี  ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา (ย่า) เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาคนสุดท้ายของขุนนางชาวสกอตแลนด์นามว่า โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบผ่าท้องเมื่อเวลา 2.40 น. (ตามเวลากรีนิช) ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 ณ บ้านเลขที่ 1

อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งครั้งหนึ่งสถานที่นี้เคยเป็นสมรภูมิการรบระหว่างกองทัพของไทยในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และกองทัพพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ กองทัพบกหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง“ อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ “ ขึ้น ณ ทุ่งลาดหญ้า ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความ เกี่ยวข้องกับสงครามครั้งสำคัญดัง กล่าว โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นสถานศึกษาและท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ เกี่ยวกับสงคราม ๙ ทัพ สำหรับผู้สนใจโดยทั่วไป โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ เมื่อ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ สงคราม ๙ ทัพ เกิดขึ้น ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โล

รู้จักกับ CANCER กลุ่มดาวราศีกรกฎ

รู้จักกับ CANCER กลุ่มดาวราศีกรกฎ     ราศีกรกฎ (อังกฤษ: Cancer จากละติน: CANCER แปลว่า "ปู") เป็นราศีที่ 4 ตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีเมถุนกับราศีสิงห์ มีสัญลักษณ์เป็นปูหรือกุ้ง ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีกรกฎนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม ถึง 15 สิงหาคม กลุ่มดาวปู ดาวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มดาว ที่ไม่สะดุดตาและหาได้ยากที่สุดในดวงอาทิตย์เมื่อเคลื่อนที่เข้ามาในกลุ่มดาวปู จะปรากฏเหมือนเคลื่อนที่ถอยหลัง   กลุ่มดาวปู   เป็นกลุ่มดาวที่ถัดมาจากกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันออก ดวงอาทิตย์จะผ่านกลุ่มดาวปูระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม กลุ่มดาวปูประกอบไปด้วยดาวฤกษ์แสงริบหรี่อย่างน้อย 5 ดวงทำให้มองเห็นได้ยาก แต่ในต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นได้ตลอดคืน ในกลุ่มดาวปูนี้จะมีฝ้าขาวๆอยู่ เรียกว่า กระจุกดาวรวงผึ้ง ( PRAESEPE) หรือ ที่คนไทยเรียกว่า กระจุกดาวปุยฝ้าย ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดประกอบไปด้วยดาวฤกษ์จำนวนมาก และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กลุ่มดาวปู เป็นกลุ่มดาวที่มีความสว่างน้อยที่สุ

เรื่องเล่าจากรั้วฯ

ส่วนสูง 162 เซ็น. น้ำหนัก 53 ก.ก. ไม่ผ่าน..น..น ใจผมตกไปอยู่ตาตุ่ม ความหวังจะได้สวมชุดสีเขียวเท่ ๆ เหล่สาว หายวับไปกับตราชั่ง ผมขอชั่งใหม่ครับ ห้าสิบสาม..ม..ม ไม่ผ่าน เดินคอตก ออกจากตราฃั่ง เสียใจราวกับนักมวยที่แพ้ตราชั่ง ยังไม่ทันได้ขึ้นเวทีชก ปั๊ก ปั๊ก เสียงตบไหล่จากชายชุดพราง มานี่ไอ้น้อง อยากเรียนมากเหรอ ? ครับ  อยากมากครับ เอางี้ เอ็งวิ่งไปหาเหรียญใส่กระเป๋ากางเกง ให้เต็มทั้งสองกระเป๋าแล้วมาชั่งใหม่ ครับผม ผมยืนตัวตรง รีบลนลานวิ่งหาเหรียญจากเพื่อนนักเรียนหญิงบ้าง ชายบ้างเท่าที่ได้ 54 ก.ก. ไม่ผ่าน  คนถัดไป คอตกตามเคย  ผมคงหมดหวังแล้วหล่ะ เป็นไงไอ้น้อง ? ไม่ผ่านครับ อ้าว! เองหนักเท่าไหร่วะเนี่ย ทำไมยังไม่ถึง ข้าอุตส่าห์บอกเทคนิค ชั่งได้ 54 ก.ก. ครับ ไมถึง 55 ก.ก. ตายห่า เอ็งนี่พ่อ แม่ ไม่มีจะกินหรือไง มา มาเอาเงินไปซื้อน้ำอัดลม ข้าวกินให้เต็มที่เลยนะ ไม่ได้รอบนี้ เอ็งก็ไม่ต้องเรียนแล้ว ชายชุดพรางควักเงินให้ผม 50 บาท ผมจัดน้ำอัดลมไป 1.5 ลิตร กับ ข้าว อีก 2 จานพูน เพื่อนพยุงขึ้นตราชั่ง ห้า ห้า ห้า สิบ ห้า...5555555555 ทั้งวง ผมนั่งทรุดกับพื้น จุ

วันการบินทหารบก

วันการบินทหารบก   การพัฒนามาเป็น ศูนย์การบินทหารบก นั้น การบินทหารบกได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในปี พุทธศักราช ๒๔๙๕ เมื่อกองทัพบกได้อนุมัติให้จัดตั้ง“ แผนกวิชาการบินตรวจการณ์ ” ขึ้นในกองการศึกษา โรงเรียนทหารปืนใหญ่ปฏิบัติภารกิจ ตรวจการณ์และปรับการยิงปืนใหญ่ ภารกิจทางธุรการ การติดต่อสื่อสาร และสนับสนุนการกระโดดร่ม ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ “ โรงเรียนการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ กรมการบินทหารบก ” หน่วยบินระดับกองร้อยบิน ที่กองทัพบกได้จัดตั้งไว้เดิมได้รับการปรับปรุงอัตราการจัดเป็น “ กองบิน ” และได้จัดตั้งกองบินปีกหมุนรวมทั้งได้บรรจุอากาศยานเข้าประจำการในกองบินต่างๆ เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก ในปี พุทธศักราช ๒๔๙๙ แผนกวิชาการบินตรวจการณ์ ได้แปรสภาพเป็น กองโรงเรียนการบิน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ และในปี พุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้แปรสภาพเป็น โรงเรียนการบินทหารบก ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ “ โรงเรียนการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ กรมการบินทหารบก ” หน่วยบินระดับกองร้อยบิน ในที่สุด “ กรมการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ ศูนย์การบินทหารบก ” เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายนพุทธศักราช ๒๕๒๐ และได้รับพระราชทานนามค่ายว่