ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รู้จักกับ : โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์

โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์


เป็นโรงพยาบาลของกองทัพบกที่มุ่งมั่นให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพอย่างองค์รวมให้แก่ทหาร ครอบครัว และประชาชน ด้วยมาตราฐานวิชาชีพ ให้ความเคารพและคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ผู้รับบริการมีความประทับใจ มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ทั้งมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลทุกระดับ และสนับสนุนหน่วยในกองทัพบกที่ปฏิบัติงานในสนามอย่างมีประสิทธิภาพ
เดิมชื่อ โรงพยาบาลศูนย์ดำเนินกรรมวิธีส่งทหารไปรบนอกประเทศ เรียกว่า รพ.ศกน.
จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ขึ้นตรงต่อ ยศ.ทบ. พ.ศ. ๒๕๑๖ โอนเป็น นขต.ของ จทบ.ร.บ ( ส่วนแยก ก.จ. )เรียกชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลจังหวัดทหารบกราชบุรี ( ส่วนแยกกาญจนบุรี ) ชื่อย่อว่า รพ.จทบ.ร.บ ( ส่วนแยก ก.จ. ) ต่อมาได้มีการแจ้งความ ทบ.เรื่องพระราชทานชื่อโรงพยาบาลในค่ายทหารโปรดเกล้าพระราชทานชื่อเป็นโรงพยาบาลค่ายกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
เดิมใช้ อฉก.๔๑๖๐ ขนาด ๑๕๐ เตียง และ อฉก. ๖๐๓๗ จทบ.ก.จ. ส่วนแยกขนาด ๑๐๐ เตียง ( ประเภท ค.)
ปัจจุบันใช้ อจย.หมายเลข ๘-๕๖๔ ( ๕ ธ.ค. ๓๑ ) ขนาด ๒๐๐เตียง ( อัตราระดับ ๒ ) ๑๕๐ เตียง และ
ได้รับพระราชทานเปลี่ยนนาม โรงพยาบาลใหม่เป็น โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ ตามประกาศกองทัพบก ณ วันที่ ๒๕ พ.ค. ๓๓

ภารกิจ
ให้บริการทางการแพทย์แก่กำลังพลและครอบครัวของหน่วยทหารในพื้นที่รับผิดชอบ และหน่วยทหารในพื้นที่อื่นที่ขอรับการสนับสนุนตลอดจนบุคคลพลเรือนทั่วไปตามความจำเป็น
การมอบหมาย
เป็นหน่วยในอัตราของหน่วยส่วนภูมิภาคตามที่กองทัพบกกำหนด หรืออาจแบ่งมอบให้หน่วยทหารอื่นๆตามความเหมาะสม
ขีดความสามารถ
ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรคทุกสาขาและให้การรักษาพยาบาลด้วยวิธี การต่างๆ แก่ทหาร ข้าราชการ ลูกจ้างคตลอดจนครอบครัว และบุคคล พลเรือนทั่วไป ตามความจำเป็นดำเนินการทางเวชกรรมป้องกันให้แก่หน่วยทหารในพื้นทีรับผิดชอบดำเนินการฝึกอบรมวิทยาการทางการแพทย์แก่กำลังพลตามมอบ ดำเนินการสังคมสงเคราะห์ ทางการแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยตามความจำเป็นดำเนินการอบรมทหารกองประจำการเหล่าแพทย์ตามที่ได้รับมอบหมาย และสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ หรือจัดตั้งคลั้งสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์สนับสนุนหน่วยปฎิบัติการในพื้นที่ได้รับมอบเมื่อจำเป็นอัตราเต็มสามารถจัดเจ้าหน้าที่ชุดศัลยกรรมสนาม สนับสนุนหน่วยเสนารักษ์ได้ ๑-๒ชุด ในห้วงเวลาจำกัด
  • ปฎิบัติงานเป็นโรงพยาบาล ขนาด ๑๘๐ เตียง ในอัตราระดับ ๑ และ ปฎิบัติ งานเป็นโรงพยาบาล ขนาด ๑๕๐ เตียง ในอัตราระดับ ๒
  • ซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ ในอัตราขึ้นหน่วยได้
  • การระวังป้องกันตัวเอง ได้อย่างจำกัด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ