ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ






9tap2

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งครั้งหนึ่งสถานที่นี้เคยเป็นสมรภูมิการรบระหว่างกองทัพของไทยในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และกองทัพพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ กองทัพบกหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง“ อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ “ ขึ้น ณ ทุ่งลาดหญ้า ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความ เกี่ยวข้องกับสงครามครั้งสำคัญดัง กล่าว โดยมีความมุ่งหวังให้เป็นสถานศึกษาและท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ เกี่ยวกับสงคราม ๙ ทัพ
สำหรับผู้สนใจโดยทั่วไป โดยผู้บัญชาการทหารบก ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ เมื่อ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓



9tap4


สงคราม ๙ ทัพ เกิดขึ้น
ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้ ๓ ปี คือในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ พระเจ้าปดุงได้ ดำริจะตีไทยให้ย่อยยับเหมือนเมื่อครั้งอยุธยา เพราะไทยเพิ่งสร้างกรุงใหม่

จึงกรีธาทัพใหญ่มีกำลังพลทั้งสิ้น ๑๔๔,๐๐๐ คน แบ่งเป็น ๙ กองทัพ ยกเข้าตีประเทศไทยคราวเดียวกัน ๕ ทิศทาง ทั้งทางบกและทางเรือ 


ทัพที่ ๑ เข้ามาทางหัวเมืองภาคใต้ โดยทัพบกเข้าตีตั้งแต่ ชุมพร ไชยา ไปจนถึงนครศรีธรรมราช ส่วนทัพเรือตีหัวเมืองชายทะเลตะวันตก ตั้งแต่เมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถึงถลาง
ทัพที่ ๒ เดินทัพจากเมืองทวาย เข้าทางด้านบ้องตี้เพื่อตีราชบุรี
ทัพที่ ๓ ยกเข้ามาทางเมืองเชียงแสน เพื่อรุกรานหัวเมืองทางเหนือ เมื่อรุกเข้ามาแล้วแยกออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนใหญ่ยกเข้าตีเมืองเชียงใหม่ แต่เชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้างจึงยกเข้าล้อมเมืองลำปาง อีกส่วนหนึ่งแยกลงมาตีสวรรคโลก สุโขทัย พิชัย พิษณุโลก แล้วมาตั้งค่ายที่ปากพิง
ทัพที่ ๔ , ๕ , ๖ , ๗ และ ๘ เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ มุ่งเข้าตีกรุงเทพฯ โดยทัพที่ ๔ และ ๕ เป็นทัพหน้าของทัพหลวง ทัพที่ ๖ และ ๗ มีราชบุตรของพระเจ้าปดุงเป็นแม่ทัพ ส่วนทัพที่ ๘ ซึ่งเป็นทัพหลวงมีพระเจ้าปดุงดำรงตำแหน่งแม่ทัพ
          ทัพที่ ๙ เคลื่อนทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เพื่อเข้าตีเมืองตาก
กองทัพไทยได้เร่งระดมกำลังต่อสู้ข้าศึก แต่สามารถเกณฑ์ไพร่พลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ คน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้โปรดเกล้าฯให้จัดทัพออกเป็น ๔ ทัพ โดยได้พิจารณาจัดวางกำลังทัพต่างๆ ดังนี้
ทัพที่ ๑ นำโดยเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ไปขัดตาทัพข้าศึกที่นครสวรรค์
ทัพที่ ๒ มีสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเป็นแม่ทัพ คุมกำลังมายัง ตำบลลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี เพื่อสกัดกั้นและทำลายกำลังส่วนใหญ่ของข้าศึก ที่เดินทัพเข้ามาทางด้านด่านเจดีย์สามองค์
ทัพที่ ๓ เจ้าพระยาธรรมา ( บุญรอด ) กับเจ้าพระยายมราช นำกำลังไปรักษาเส้นทางลำเลียง และป้องกันทางปีกของทัพที่ ๒ พร้อมสกัดกั้นข้าศึกที่ราชบุรี
ทัพที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงคุมทัพหลวงอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อป้องกันพระนคร และเป็นกองหนุนสำหรับส่งไปช่วย ด้านที่ถูกโจมตีหนัก พระบาทสมเด็จพระพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงใช้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เหนือกว่าข้าศึก กล่าวคือใช้กำลังที่ยังไม่ต้องใช้ทำการรบแตกหักตรึงข้าศึกไว้ให้ได้ ( การดำเนินการต่อทัพพม่าที่เข้ามาทางด้านเหนือและด้านใต้ ) และใช้กำลังที่จะเข้าทำการรบแตกหักเข้าทำลายข้าศึก โดยอาศัยความได้เปรียบ จิตใจในการสู้รบ การส่งกำลังบำรุง ตลอดจนความริเริ่ม จนได้ชัยชนะต่อข้าศึก ( การรบที่ทุ่งลาดหญ้า ) สำหรับการรบที่ทุ่งลาดหญ้า ซึ่งเป็นการปฏิบัติการรบของกองทัพที่ ๒ และเป็นการรบที่มีสำคัญที่สุดของสงคราม ๙ ทัพ
มีสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพ แม้ว่าจะมีกำลังพลที่น้อยกว่ามากถึง ๒ เท่าก็ตาม แต่ก็สามารถผลักดันข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าออกจากแผ่นดินไทยได้สำเร็จ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 10 เดือน กว่าสงครามจะยุติลงกองทัพไทยเป็นฝ่ายชนะและรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ สงครามครั้งนี้มีชื่อเรียกว่า “สงคราม 9 ทัพ”
9tap1
ป้ายอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ถือเป็นอนุสรณ์ที่มีความหมาย โดยมีเสาธงชาติไทย 4 เสา ซึ่งหมายถึงกองทัพไทยทั้ง 4 กองทัพ ตั้งอยู่เหนือตอไม้ 9 ตอ ซึ่งหมายถึงทัพพม่าทั้ง 9 ทัพ นั่นหมายถึงว่าทัพไทยมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่า
9tap7
อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาหลักการใช้ภูมิประเทศ และเส้นทางเดินทัพ ตลอดจนการดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ผู้ทรงเป็นแม่ทัพ สามารถรบชนะข้าศึกซึ่งมีกำลังมากกว่าได้อย่างราบคาบภายในอาคารมีรูปปั้นของ “ปู่มั่น” และ “ปู่คง” ซึ่งเป็นทหารและชาวบ้านอาสามาสู้รบกับพม่า เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน มีตู้จำลองขนาดย่อ และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศจำลองเส้นทางการเดินทัพของข้าศึก และการตั้งรับของกองทัพไทยพร้อมคำอธิบายอยู่บริเวณโดยรอบอาคาร
9tap39tap5
ตรงกลางอาคารเป็นแผนที่นูนต่ำ บอกตำบลต่างๆ ของการรบ การจัดทัพของไทยและพม่า มีทีวีซึ่งจัดฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับสงครามเก้าทัพ
นอกจากนี้ยังมี หอสังเกตการณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาลาดกระทิง ภายในอุทยานฯ เป็นป้อมที่สร้างขึ้นเลียนแบบป้อมพระกาฬ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์เดินขึ้นไปสังเกต ภูมิประเทศต่างๆ หลังฟังคำบรรยาย เพื่อจะได้เข้าใจการเลือกใช้ภูมิประเทศในการเดินทัพ และจุดสกัดกั้นทัพพม่า ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และมีความเช้าใจมากขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ