5 มิถุนายน ของทุกปี ประชาชาติทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น วันแห่งการร่วมมือระหว่างชาติของทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมWORLD ENVIRONMENT DAY
หากนับย้อนไป ณ จุดเริ่มแรกของวันดังกล่าวที่ได้มีการตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นเจ้าภาพ กับสหประชาชาติ เรียกการประชุมนี้ว่า “การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์” ( UN Conference on the Human Environment )
โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี มีการจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลกผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคาม
ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคามของเรา
ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก” (World Environment Day)พร้อมทั้งได้จัดตั้ง “โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ” หรือเรียกย่อว่า “ยูเนป” (UNEP : United Nation Environment Programe) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งในปี 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans – Dead or Live ? “ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย”
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ในวันสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อการพัฒนาและ ดูแลสิ่งแวดล้อม มีความคืบหน้าที่ดี จึงได้มีการจัดตั้งโครงการต่างๆ เพื่อมีหน้าที่ติดตาม ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ทั้ง ดิน น้ำ อากาศ ให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น จึงได้กำหนดเป้าหมายไว้ดังนี้
1. การสร้างความตื่นตัว ในการเรียนรู้ของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชน และนักศึกษาทั่วไป
2. ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
1. การสร้างความตื่นตัว ในการเรียนรู้ของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชน และนักศึกษาทั่วไป
2. ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี
3. เสริมสร้างให้สถาบัน และคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ผลการประชุมรัฐบาลในประเทศต่างๆ ได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง โดยให้หน่วยงานด้าน สิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมถึงประเทศไทยด้วย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินการด้านรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 3 หน่วย ได้แก่
1. กรมควบคุมมลพิษ
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 3 หน่วย ได้แก่
1. กรมควบคุมมลพิษ
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันในส่วนของสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ได้มีการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อม ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวของสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีสื่อมวลชนที่ได้ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
หน.คสช.อนุมัติแผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
ปัจจุบัน กองทัพได้มีโครงการต่างๆ เพื่อการพิทักษ์ผืนป่าของไทย ตามแนวพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๒๕๑๙ ปลูกไม้ในใจคน คือการ ปลูกป่าลงบนแผ่นดิน “เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็พากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๗ “เราจะทำให้ประเทศไทยกลับมีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นได้ ขออย่าไปรังแกป่าเท่านั้นเอง”
จากสถานการณ์การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ป่าไม้ของ ประเทศไทย มีจำนวนลดลงเป็นปริมาณมาก ก่อให้เกิดผลกระทบและความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากร ป่าไม้ที่รุนแรง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงมอบให้ กอ .รมน. กับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วางยุทธศาสตร์ในการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และจัดทำแผนแม่บทกำหนดเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุผล สัมฤทธิ์ ตามห้วงเวลาที่กำหนด และให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติการในส่วนของ ตนเองให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ แผน และเป้าหมายที่กำหนด คือ การพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้ได้พื้นที่ป่าไม้อย่างน้อย 40 % ของพื้นที่ประเทศภายใน 10 ปี และกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
1. เพื่อหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าและทวงคืนผืนป่าจากผู้บุกรุกครอบครองให้ได้ตามที่ เป้าหมายกำหนดไว้ภายใน 1 ปี
2. เพื่อให้มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ยั่งยืน ภายใน 2 ปี
3. เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า ในพื้นที่ป่าเป้าหมายทั่วทั้งประเทศ ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ ภายใน 2-10 ปี
แผนแม่บทฉบับนี้ได้กำหนดแผนในระดับยุทธศาสตร์ของการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และกลยุทธ์ในการปฏิบัติเพื่อให้หน่วยปฏิบัติใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติการและการ ประสานงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดย “ยุทธศาสตร์ การพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้” แบ่งออกเป็น 4 ประเด็นยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละประเด็น ยุทธศาสตร์ รวม 17 กลยุทธ์ดังนี้
1. ประเด็นยุทธศาสตร์ ผนึกกำลังป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
- กลยุทธ์ “หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาต”ิ
- กลยุทธ์ “จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า”
- กลยุทธ์ “ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า”
- กลยุทธ์ “ยึดคืนพื้นที่ป่า ยับยั้งการบุกรุกป่า และแก้ปัญหาป่าบุกรุกคน โดยใช ้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นหลักฐานหลักร่วมกับ หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง”
2. ประเด็นยุทธศาสตร์ ปลุกจิตสำนึกรักผืนป่าของแผ่นดิน
- กลยุทธ์ “กำหนดให้การแก้ไขปัญหาการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเป็นวาระแห่งชาต”ิ
- กลยุทธ์ “จัดตั้งองค์กรแนวร่วมภาคประชาชนเพื่อปลุกจิตสำนึก”
- กลยุทธ์ “ปลุกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน”
3. ประเด็นยุทธศาสตร์ ปฏิรูประบบการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้
- กลยุทธ์ “ปรับปรุงระบบการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้”
- กลยุทธ์ “พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทั้งระดับจังหวัดและ อำเภอ”
- กลยุทธ์ “จัดทำแนวเขตทรัพยากรป่าไม้ทุกประเภทให้เป็นแนวเดียวที่ชัดเจน”
- กลยุทธ์ “จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ (Zoning)”
- กลยุทธ์ “ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้
4. ประเด็นยุทธศาสตร์ ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าอย่างยั่งยืน
- กลยุทธ์ “จัดระบบการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมกับประชาชน”
- กลยุทธ์ “จัดระบบการปลูกไม้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อทดแทนความต้องการและ ลดการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า”
- กลยุทธ์ “ให้คนอยู่กับป่าพึ่งพากันอย่างมีความสุข”
- กลยุทธ์ “เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการฟื้นฟูและดูแลป่าอย่างยั่งยืน”
- กลยุทธ์ “ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น