ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วันการบินทหารบก

วันการบินทหารบก

 
การพัฒนามาเป็น ศูนย์การบินทหารบก นั้น การบินทหารบกได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งในปี พุทธศักราช ๒๔๙๕ เมื่อกองทัพบกได้อนุมัติให้จัดตั้ง“ แผนกวิชาการบินตรวจการณ์ ” ขึ้นในกองการศึกษา โรงเรียนทหารปืนใหญ่ปฏิบัติภารกิจ ตรวจการณ์และปรับการยิงปืนใหญ่ ภารกิจทางธุรการ การติดต่อสื่อสาร และสนับสนุนการกระโดดร่ม
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ “ โรงเรียนการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ กรมการบินทหารบก ” หน่วยบินระดับกองร้อยบิน ที่กองทัพบกได้จัดตั้งไว้เดิมได้รับการปรับปรุงอัตราการจัดเป็น “ กองบิน ” และได้จัดตั้งกองบินปีกหมุนรวมทั้งได้บรรจุอากาศยานเข้าประจำการในกองบินต่างๆ เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก
ในปี พุทธศักราช ๒๔๙๙ แผนกวิชาการบินตรวจการณ์ ได้แปรสภาพเป็น กองโรงเรียนการบิน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ และในปี พุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้แปรสภาพเป็น โรงเรียนการบินทหารบก
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ “ โรงเรียนการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ กรมการบินทหารบก ” หน่วยบินระดับกองร้อยบิน
ในที่สุด “ กรมการบินทหารบก ” ได้แปรสภาพเป็น “ ศูนย์การบินทหารบก ” เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายนพุทธศักราช ๒๕๒๐
และได้รับพระราชทานนามค่ายว่า “ ค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ” ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง อีกทั้งยังให้การสนับสนุนในภารกิจการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม ซึ่งศูนย์การบินทหารบกมีขีดความสามารถในการ ให้ความช่วยเหลือค้นหา และกู้ภัยต่อผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนส่วนราชการและองค์กรอื่นในการบรรเทาสาธารณภัย
                ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2520    เป็นวันมหามงคลสำหรับพสกนิกรชาวลพบุรี และจังหวัดใกล้เคียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการ กรมการบิน ทหารบก และครอบครัว    เนื่องจากวันนี้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดนามค่ายสมเด็จพระศรีนครินทรา ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ตามหนังสือวังสระปทุม ลง  วันที่ 3 มีนาคม 2520   กรมการบินทหารบก ( ศูนย์การบินทหารบกปัจจุบัน )ขอพระราชทานพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นนามค่ายก็เพื่อเทิดทูนพระเกียรติของพระองค์เพราะว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบพระองค์บรมราชชนนีทรงประกอบ คุณงามความดีแก่ประเทศชาติประชาชนชาวไทย ทรงตรากตรำพระวรกายเพื่อเสด็จออก เยี่ยมเยียน
ประชาชนทุกแห่งไม่ว่าสถานที่นั้นอยู่   ห่างไกลทุรกันดารเพียงใด   พระมหากรุณาธิคุณ  พระองค์เป็น ที่แซ่ซ้องสรรเสริญในหมู่พสกนิกรทั่วไป
เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ กรมการบินทหารบก เป็นหน่วยที่จัดอากาศยานถวายเพื่อสนับสนุนพระราชกรณียะกิจ ของพระองค์ตั้งแต่พุทธศักราช 2512 เป็นต้นไป ข้าราชการของหน่วยนี้ปฏิบัติภารกิจด้วยความจงรักภักดี และ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์โดยทั่วหน้ากัน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระบรมวงศา นุวงศ์ชั้นสูงพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมการบินทหารบก เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2518 เป็นวโรกาสที่เป็น สิริมงคลแก่หน่วยเป็นอย่างยิ่ง กรมการบินทหารบก ได้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาท เพื่อขอพระราชทานนามค่ายตามหนังสือของกรมการบินทหารบก ที่ กห 0300-15/10028 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2519 เมื่อได้รับพระราชทานฯ แล้ว กรมการบินทหารบก จึงรายงานถึงกองทัพบก และกองทัพบกได้รายงานถึงกองบัญชาการทหารสูงสุด ตามหนังสือของ ทบ. ที่ กห 0315/6591 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2520
ภารกิจศูนย์การบินทหารบก 
เป็นส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพบก  มีการจัดตามอัตราเฉพาะกิจหมายเลข  ๔๗๐๐๐  มีภารกิจ ๓ ประการคือ
          ๑ .วางแผน อำนวยการ กำกับการ และดำเนินการฝึก และศึกษาเกี่ยวกับ กิจการของกองทัพบก
          ๒ .ดำเนินการวิจัย พัฒนากำหนดหลักนิยมและทำตำราในทางวิทยาการ ที่เกี่ยวข้อง
          ๓ .ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก  :   เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่สำคัญ
          ๑. อำนวยความสะดวกและดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ กิจการบินทหารบกให้กับกำลังพลของ กองทัพบก และเหล่าอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
          ๒. เสนอแนะและให้คำแนะนำทางวิชาการเกี่ยวกับกิจการบินทหารบกให้กับหน่วยและสายวิทยาการที่เกี่ยวข้อง
          ๓. เสนอแนะ แนะนำ กำกับดูแลเกี่ยวกับกิจการบินนิรภัยการบินของกองทัพบก
          ๔. ศึกษา วิจัยและพัฒนาตลอดจนรวบรวมสถิติเกี่ยวกับ กิจการบินทหารบก
          ๕. ผลิตและควบคุมกำลังพลที่เป็นนักบิน ช่างเครื่องบิน และผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับกิจการการบินทหารบกปฏิบัติการบินสนับสนุนทั่วไปต่อหน่วยทหารทั้งภารกิจธุรการ และส่งกำลังบำรุง และภารกิจอื่น ๆ ตามที่ ได้รับมอบหมาย
          ๖. ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กองทัพบกแบ่งมอบให้ ด้วยภารกิจและขอบเขตความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในอัตราเฉพาะกิจของศูนย์การบินทหารบก จึงทำให้ศูนย์การบินทหารบก มีหน้าที่ในการปฏิบัติใน ๒ บทบาทด้วยกัน คือ
                   • บทบาทในฐานะหัวหน้าสายวิทยาการบินทหารบก
                   • บทบาทในฐานะเป็นหน่วยสนับสนุนการรบ
  ซึ่งบทบาทในฐานะหัวหน้าสายวิทยาการการบินทหารบกนั้น มีหน่วยปฏิบัติ คือ
                   •  โรงเรียนการบินทหารบก เป็นหน่วยรับผิดชอบในการผลิตเจ้าหน้าที่การบินทหารบก
                   • กองวิทยาการ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการจัดทำหลักนิยมและทำสรรพตำราทางวิทยาการการบินทหารบก
                   • และแผนกนิรภัยการบิน ที่เป็นหน่วยรับผิดชอบด้านนิรภัยการบินของกองทัพบก
   ในส่วนของบทบาทในฐานะเป็นหน่วยสนับสนุนการรบ ศูนย์การบินทหารบกได้จัดอากาศยานและกำลังพลสนับสนุนแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ และแผนยุทธการต่างๆของกองทัพบก   ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐    เป็นต้นมา   โดยมีหน่วยรับผิดชอบหลักในปัจจุบัน  คือ  กองบินสนับสนุนทั่วไป ซึ่งเป็นหน่วยบินในอัตราของศูนย์การบินทหารบก   และหน่วยที่กระทรวงกลาโหมกำหนด คือกองพันบิน ซึ่งมีหน่วยบินในบังคับบัญชา จำนวน ๕  กองบิน ที่ประกอบด้วย ๔ กองบินปีกหมุน และ ๑ กองบินปีกติดลำตัวและซึ่งหน่วยบินเหล่านี้มีภารกิจหลักในการสนับสนุนหน่วยทหารภาคพื้นด้วยการปฏิบัติการทางอากาศ   ทั้งภารกิจทางยุทธวิธี   และภารกิจอื่นๆตาม ที่ ได้รับมอบ
          ศูนย์การบินทหารบกมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเพื่อสนองตอบต่อภารกิจ   ๔  ประการ ของ  กองทัพบก  ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน , การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และการช่วยพัฒนาประเทศ โดยในที่ตั้งปกติ ศูนย์การบินทหารบก ได้จัด อากาศยาน  และกำลังพลสนับสนุนภารกิจส่วนรวมของกองทัพบกตามที่ได้รับมอบ เช่น ถวายการสนับสนุนพระราชกรณียะกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมถึงสนับสนุนบุคคลสำคัญต่างๆและให้การสนับสนุนการฝึกศึกษาของหน่วย /เหล่าสายวิทยาการ สนับสนุนการฝึกร่วม / ผสมกับกองกำลังชาติพันธมิตร  การป้องกัน  และ
ปราบปรามยาเสพติด การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การฝึกทดสอบแผนป้องกันประเทศ และภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบอีกเป็นจำนวนมาก

          อีกทั้งยังให้การสนับสนุนในภารกิจการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม   ซึ่งศูนย์การบินทหารบกมีขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือค้นหาและกู้ภัยต่อผู้ประสบภัยพิบัติ    เพื่อสนับสนุนส่วนราชการ  และองค์กรอื่น   ในการบรรเทาสาธารณภัย ตามที่กองทัพบกมอบหมาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ