ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 พระบรมราชินีนาถ แห่งสหราชอาณาจักรฯ (Elizabeth II of the United Kingdom)



สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 พระบรมราชินีนาถ แห่งสหราชอาณาจักรฯ (Elizabeth II of the United Kingdom)
เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี คือพระนามของพระองค์ ทรงได้รับพระนาม
 เอลิซาเบธ ตามพระราชมารดา,
 อะเล็กซานดรา ตามสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระปัยยิกา (ย่าทวด) ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนการประสูติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ 6 เดือน และ
 แมรี ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา (ย่า)
เจ้าหญิงเอลิซาเบธเป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาคนสุดท้ายของขุนนางชาวสกอตแลนด์นามว่า โคลด โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 14 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น เจ้าหญิงเอลิซาเบธประสูติโดยการคลอดแบบผ่าท้องเมื่อเวลา 2.40 น. (ตามเวลากรีนิช) ของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2469 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นของพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา (ตา) ในกรุงลอนดอน[1] ต่อมาวันที่ 29 พฤษภาคม ทรงเข้ารับพิธีบัพติศมานิกายแองกลิคันจากคอสโม กอร์ดอน แลงอาร์ชบิชอปแห่งยอร์ก ณ โบสถ์ส่วนพระองค์ภายในพระราชวังบักกิงแฮม พระองค์มีพระขนิษฐาพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงมาร์กาเรต ซึ่งมีพระชันษาน้อยกว่าอยู่ 4 พรรษา
ทรงเป็นพระมหากษัตรีย์แห่งรัฐที่ปกครองตนเองโดยอิสระสิบหกรัฐ โดยทรงมีราชบัลลังก์และพระอิสริยยศในแต่ละแห่งอย่างเท่าเทียมกัน พระองค์ทรงประทับร่วมกับพระราชวงศ์อังกฤษในสหราชอาณาจักร ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะดั้งเดิมทางประวัติศาสตร์


นอกเหนือจากสหราชอาณาจักรแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จาเมกา บาร์เบโดสหมู่เกาะบาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ แอนติกาและบาร์บูดา เบลิซ และเซนต์คิตส์และเนวิส ซึ่งมีข้าหลวงใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในแต่ละแห่ง ในสิบหกประเทศซึ่งพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ เป็นที่รู้จักว่า เครือจักรภพอังกฤษและมีประชากรวมกันทั้งหมดจำนวน 128 ล้านคน
พระองค์ทรงเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และลังกาหลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เนื่องจากอาณานิคมอื่นๆ ในจักรวรรดิอังกฤษ (ซึ่งตอนนี้คือ เครือจักรภพอังกฤษ) ได้รับเอกราช จากสหราชอาณาจักรในรัชกาลของพระองค์ พระองค์จึงเสวยราชบัลลังก์ที่เกิดใหม่ในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถของดินแดนแต่ละแห่ง ดังนั้นตลอดเวลาห้าสิบห้าปีบนพระราชบัลลังก์ พระองค์ได้ทรงเป็นพระประมุขของสามสิบสองชาติ ซึ่งครึ่งหนึ่งได้โปรดฯให้พระราชวงศ์ดำรงตำแหน่งแทนหรือกลายเป็นสาธารณรัฐในบางแห่ง
ในปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นพระประมุของค์เดียวในโลกที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐของชาติเอกราชมากกว่าหนึ่งชาติพร้อมกัน ในทฤษฏีทางกฎหมาย พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก แม้ว่าในทางปฏิบัติพระองค์จะทรงใช้อำนาจบริหารทางการเมืองส่วนพระองค์เพียงเล็กน้อย
สมเด็จพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่2พระบรมราชินีนาถ ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งเครือจักรภพอังกฤษ จอมทัพแห่งกองทัพสหราชอาณาจักร(จอมพล,จอมพลเรือ,จอมพลอากาศ) ผู้ปกครองสูงสุดแห่งศาสนจักรอังกฤษ (ดำรงพระอิสริยยศ ผู้พิทักษ์ศาสนา) ประมุขแห่งแมนน์และประมุขสูงสุดแห่งฟิจิ ตามราชประเพณี พระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งแลงคาสเตอร์และดยุคแห่งนอร์มันดี อีกทั้งยังทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพในดินแดนอาณานิคมต่างๆ ของพระองค์อีกด้วย
พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับร้อยเอกฟิลิป เมาท์แบตเตน เจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์ก แห่งราชนาวีอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 เป็นเจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระในปี พ.ศ. 2490 และทรงมีพระราชโอรสและธิดา 4 พระองค์ ได้แก่

พระนาม
ประสูติ
อภิเษกสมรส
พระโอรส-ธิดา
พระนัดดา
เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
14พฤศจิกายน ค.ศ. 1948
29กรกฎาคม ค.ศ. 1981
หย่า 28สิงหาคม ค.ศ. 1996
เลดี้ไดอานา สเปนเซอร์
เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์
เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์
9 เมษายน ค.ศ. 2005
คามิลลา พาร์กเกอร์-โบลส์
เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี
15สิงหาคม ค.ศ. 1950
14พฤศจิกายน ค.ศ. 1973
หย่า 28เมษายน ค.ศ. 1992
มาร์ก ฟิลลิปส์
ปีเตอร์ ฟิลลิปส์
สวันนาห์ ฟิลลิปส์
ซารา ฟิลลิปส์
12 ธันวาคม ค.ศ. 1992
ทิโมที ลอเรนซ์
เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์ค
19กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960
23กรกฎาคม ค.ศ. 1986
หย่า 30พฤษภาคม ค.ศ. 1996
ซาราห์ เฟอร์กูสัน
เจ้าหญิงเบียทริซแห่งยอร์ค
เจ้าหญิงยูจีนีแห่งยอร์ค
เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์
10 มีนาคม ค.ศ. 1964
19มิถุนายน ค.ศ. 1999
โซฟี ไรส์-โจนส์
เลดี้หลุยส์ วินเซอร์
เจมส์ วินด์เซอร์,ไวส์เคานท์เซเวิร์น

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

พระบรมฉายาลักษณ์วันบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ฉายคู่กับดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2496
ช่วงปี พ.ศ 2494 พระพลานามัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสื่อมถอยลงและบ่อยครั้งที่เจ้าหญิงต้องเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในครั้งที่เสด็จเยือนแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ขณะนั้นทรงพบปะกับประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ มาร์ติน คาร์เตริส ก็ได้จัดทำร่างพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเผื่อกรณีที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคตขณะเจ้าหญิงทรงอยู่ต่างประเทศ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2495 เตรียมเสด็จเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยเสด็จเยือนเคนยาก่อน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เมื่อเพิ่งเสด็จถึงบ้านพักที่ประทับซากานาลอดจ์ในเคนยา หลังจากที่คืนก่อนหน้าเสด็จไปประทับที่โรงแรมทรีท็อปส์ ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็มาถึงและดยุกแห่งเอดินบะระก็ได้ทรงแจ้งข่าวนี้แก่พระราชินีพระองค์ใหม่ มาร์ติน คาร์เตริส ได้ทูลถามถึงพระปรมาภิไธยที่จะทรงใช้ พระองค์ทรงเลือก “เอลิซาเบธ” เช่นเดิมแน่นอน พระองค์ทรงประกาศตนเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพพระองค์ใหม่หลังจากที่ทรงเร่งรีบเสด็จกลับสหราชอาณาจักร จากนั้นจึงเสด็จย้ายเข้าไปประทับ ณ พระราชวังบักกิงแฮมพร้อมกับดยุกแห่งเอดินบะระ
ทั้งที่สมเด็จพระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 24 มีนาคม แต่แผนการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ยังคงดำเนินต่อไปตามที่ทรงร้องขอไว้ก่อนสิ้นพระชนม์ โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 [63] ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ โดยยกเว้นการถ่ายทอดพิธีเจิมและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ ฉลองพระองค์ในพระราชพิธีได้รับการออกแบบและตัดเย็บโดยนอร์มัน ฮาร์ตเนลล์ ซึ่งประดับด้วยลายพรรณพืชของประเทศในเครือจักรภพตามคำแนะนำของพระราชินีนาถ อันประกอบไปด้วย กุหลาบทิวดอร์แห่งอังกฤษ; ดอกทริสเติลแห่งสกอตแลนด์; กระเทียมต้นแห่งเวลส์; ดอกแฌมร็อคแห่งไอร์แลนด์; ดอกแวทเทิลแห่งออสเตรเลีย; ใบเมเปิลแห่งแคนาดา; ใบเฟิร์นสีเงินแห่งนิวซีแลนด์; ดอกโพรทีแห่งแอฟริกาใต้; ดอกบัวหลวงแห่งอินเดียและศรีลังกา รวมไปถึงข้าวสาลี, ฝ้าย และปอกระเจาแห่งปากีสถาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ