ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
สัสดี6
สัสดีและการติดต่อราชการ
สัสดี คือใครทำหน้าที่อะไร บ้างท่านยังไม่รู้ว่าอะไรคือสัสดี
ข้อ ๑ สัสดี (สัดสะดี) มีความหมาย
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ หมายถึง เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร หรือเจ้าหน้าที่บัญชีคน หรือ ผู้รวบรวมบัญชีคน
ตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.๒๕๓๐ คำว่า “สัสดี” เป็นคำนาม หมายถึง ผู้รวบรวมบัญชี,บัญชีคน เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร
งานในหน้าที่สัสดีเป็นงานที่สำคัญของการทหาร  ข้าราชการสัสดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
– พ.ร.บ.รับราชการ พ.ศ.๒๔๙๗ และ กฎกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง
– บันทึกข้อตกลงระหว่าง กห. กับ มท.
ข้อ ๒ กิจการสัสดี ได้มีวิวัฒนาการมาพร้อมกับกิจการทหารตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนอยู่ในสมัย
“สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒” ราชโอรสสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงจัดตั้งกรมพระสุรัสวดีเป็นผู้รับผิดชอบในการเกณฑ์ไพร่พลมีเจ้าหน้าที่สัสดี ณ หัวเมืองต่าง ๆ ควบคุมทะเบียนฯ บัญชีคุมไพร่พลทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว         ปรับปรุงกิจการทหาร (จัดตั้ง กห , มท)
พ.ศ.๒๔๔๑  ยกกรมพระสุรัสวดีมาขึ้นกับ กห เปลี่ยนชื่อเป็นกรมสัสดี
พ.ศ.๒๔๔๖  ออกข้อบังคับลักษณะการเกณฑ์ทหาร รศ.๑๒๒
พ.ศ.๒๔๔๘  ออก พรบ. ลักษณะการณ์เกณฑ์ทหาร รศ.๑๒๔ (ปรับปรุง ๑๑ ครั้ง)
พ.ศ.๒๔๘๑  ยุบกรมสัสดีเป็นแผนกขึ้นอยู่กับ สม.กห เป็นแผนกที่ ๔ กรมเสมียนตรา
พ.ศ.๒๔๙๔ – ๒๔๙๕     เป็นแผนก ใน กพ.ทบ.
พ.ศ.๒๔๙๖  สบ.ทบ. รับผิดชอบ กิจการสัสดี ปรับปรุง แผนกที่ ๔ กรมเสมียนตรา เป็น กสด.สม
พ.ศ.๒๔๙๗  ออก พรบ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ (ปรับปรุง ๔ ครั้ง, กฎกระทรวง ๕๗ ฉบับ)
พ.ศ.๒๕๑๓   จัดตั้ง กสร.ทบ. มี กสด.กสร.ทบ. รับผิดชอบกิจการสัสดีในฐานะหัวหน้าสาย วิทยาการ (กสด.นสร., กสด.นรด.)
พ.ศ.๒๕๕๒   ยก กสด.สม. มาขั้นกับ กกส.กห.
ข้อ ๓ เจ้าหน้าที่สัสดี เป็นเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการในราชการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มีภารกิจในการดำเนินการเพื่อให้ได้ชายฉกรรจ์ที่เป็นคนสัญชาติไทยมาเป็นทหารเพื่อป้องกันประเทศชาติ ด้วยความสมัครใจและยินยอมเสียสละแม้กระทั่งชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ ทั้งในยามสงบศึกและในยามสงคราม

งานในหน้าที่สัสดี
กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน มีผู้อำนวยการ กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบ มีหน้าที่
  • ตรวจและควบคุมทางวิทยาการในสายงานสัสดี ของกองทัพบก
  • อำนวยการกำกับดูแลหน่วยและเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่  ในกิจการสัสดีทั้งปวง
  • พิจารณาและเสนอแนะการดำเนินการบรรจุ ปลด ย้าย
  • อำนวยการในกิจการสัสดีทั้งปวงที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเตรียมพล
  • อำนวยการและควบคุมทหารกองเกินและทหารกองหนุน
  • รวบรวมกำหนดความต้องการและควบคุมการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ แบบพิมพ์สายงานสัสดี
  • บันทึก  รายงาน  รวบรวมข้อมูล สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเสนอแนะ การประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนากิจการสัสดีให้เหมาะสม
  • ตรวจสอบ โต้ตอบ และชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
  • ตรวจ  ควบคุม  กำกับดูแล  หน่วยงานสัสดีในการตรวจสอบ หลักฐานให้แก่ส่วนราชการต่าง ๆ และเอกชนที่ร้องขอรับการ สนับสนุน sasadiเลื่อนข้าราชการซึ่งทำหน้าที่สัสดี
สัสดี1 สัสดี2

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ