กลุ่มดาวในราศีที่ 7 หรือ กลุ่มดาวราศีตุลย์ (ดุลย์) คือ กลุ่มดาวคันชั่ง
กลุ่มดาวนี้สังเกตได้ง่ายมีรูปคล้าย ๆ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน อยู่ทาง ทิศตะวันตกของกลุ่มดาวแมงป่อง ในสมัย 2,000 ปีก่อน นักดาราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรเข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวราศีตุลย์ ในวันที่ 23 กันยายน ซึ่งในวันนี้กลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี และดวงอาทิตย์ขึ้นที่จุดทิศตะวันออก ตกที่จุดทิศตะวันตก โคจรผ่านกลางท้องฟ้าพอดี กลุ่มดาวนี้จึงแทนความ เสมอภาคแห่งท้องฟ้า ในปัจจุบันนี้ ดวงอาทิตย์จะปรากฏโคจร เข้ามาใน กลุ่มดาวราศีตุลย์ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้เนื่องจากการส่ายของโลก ดังได้ อธิบายไว้แล้ว แต่การเกิดกลางวันกลางคืนเท่ากันก็ยังคงเป็นวันที่ 23 กันยายน ตามเดิม กลุ่มดาวนี้ขึ้นพร้อมๆ กับดวงอาทิตย์ในตอนเช้าช่วงเดือนตุลาคม เป็นกลุ่มดาวที่มีชื่อเป็นสิ่งของเพียงกลุ่มเดียว ประกอบด้วยดาวริบหรี่อย่างน้อย 6 ดวง จะเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏผ่านกลุ่มดาวนี้ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม-22 พฤศจิกายน
ชาวฮีบรูสมัยโบราณ และพวกอริยกะในมัธยมประเทศ (ตอนกลางของประเทศ อินเดีย) เรียกกลุ่มดาวราศีตุลย์แทนความเสอมภาคแห่งท้องฟ้าหรือสวรรค์
ส่วนชาวกรีก รวมกลุ่มดาวคันชั่งกับกลุ่มดาวแมงป่องเข้าด้วยกัน คือ เขาเห็นกลุ่ม ดาวคันชั่งซึ่งมี 4 ดวงนี้เป็นรอยเท่าของแมงป่อง ในเวลาต่อมาชาวกรีกได้เปลี่ยน ความเชื่อถือใหม่ โดยเห็นกลุ่มดาวนี้แทน Mochus ผู้ประดิษฐ์เครื่องชั่งตวงวัด
กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ห่างไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าประมาณ 25 องศา ดังนั้นจึงขึ้น ณ จุด ทิศตะวันออก เฉียงไปทางใต้ 25 องศา เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้โดยอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 60 องศา ส่วนจุดลับขอบฟ้าจะอยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้ 25 องศา
ชื่อ “ ตุลย์ ” (Libra ) ของกลุ่มดาวนี้ ใช้ตามอย่างชาวโรมัน ในสมัยยูเลียสซีซาร์ คือชาวโรมันถือว่ากลุ่มดาวราศีตุลย์ เป็นกลุ่มดาวที่แทนคันชั่งของเทพธิดา Astrea (กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์) ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความยุติธรรมและ เป็นผู้กำหนดชะตาของมนุษย์
ชาวฮีบรูสมัยโบราณ และพวกอริยกะในมัธยมประเทศ (ตอนกลางของประเทศ อินเดีย) เรียกกลุ่มดาวราศีตุลย์แทนความเสอมภาคแห่งท้องฟ้าหรือสวรรค์
ส่วนชาวกรีก รวมกลุ่มดาวคันชั่งกับกลุ่มดาวแมงป่องเข้าด้วยกัน คือ เขาเห็นกลุ่ม ดาวคันชั่งซึ่งมี 4 ดวงนี้เป็นรอยเท่าของแมงป่อง ในเวลาต่อมาชาวกรีกได้เปลี่ยน ความเชื่อถือใหม่ โดยเห็นกลุ่มดาวนี้แทน Mochus ผู้ประดิษฐ์เครื่องชั่งตวงวัด
กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ห่างไปทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าประมาณ 25 องศา ดังนั้นจึงขึ้น ณ จุด ทิศตะวันออก เฉียงไปทางใต้ 25 องศา เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้โดยอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศใต้ 60 องศา ส่วนจุดลับขอบฟ้าจะอยู่ ทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้ 25 องศา
ชื่อ “ ตุลย์ ” (Libra ) ของกลุ่มดาวนี้ ใช้ตามอย่างชาวโรมัน ในสมัยยูเลียสซีซาร์ คือชาวโรมันถือว่ากลุ่มดาวราศีตุลย์ เป็นกลุ่มดาวที่แทนคันชั่งของเทพธิดา Astrea (กลุ่มดาวหญิงพรหมจารีย์) ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งความยุติธรรมและ เป็นผู้กำหนดชะตาของมนุษย์
เวลาที่เห็น
กลุ่มดาวคันชั่งไม่ใช่กลุ่มดาวเด่นอย่างเช่นกลุ่มดาวแมงป่อง ทั้งนี้เพราะดาวที่ประกอบขึ้นเป็นรูปตันชั่งสว่างไม่ มากนัก ในเมืองใหญ่ที่มีฝุ่นควัน และแสงไฟรบกวนจะมองไม่เห็นเลย จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มดาวแมงป่องเป็นเครื่อง ช่วยค้นหาเช่น เมื่อกลุ่มดาวแมงป่องขึ้นเต็มตัวเป็นรูปแมงป่องทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้แล้ว กลุ่มดาวคันชั่งจะ อยู่สูงเป็นมุมเงยเกือบ 60 องศา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อีกวิธีหนึ่งคือ อาศัยดาวรวงข้าว เช่น เมื่อดาวรวงข้าวอยู่สูง 45 องศา กลุ่มดาวคันชั่งจะอยู่สูง 15 องศา เป็นต้น
เดือนที่เห็นกลุ่มดาวคันชั่งนานตลอดคืน คือเดือนพฤษภาคม โดยอยู่ บนท้องฟ้าประเทศไทยประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่ง จะเห็นอยู่ตรงศีรษะเวลา 3 ทุ่ม ในวันที่ 20 มิถุนายน จะเห็นอยู่จนถึงต้นเดือนตุลาคม คือในตอนต้นเดือนตุลาคม พอมืดจะ เห็นกลุ่มดาวนี้เกือบตก ในเดือนมกราคม จะเริ่มเห็นทางขอบฟ้าทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
กลุ่มดาวคันชั่งไม่ใช่กลุ่มดาวเด่นอย่างเช่นกลุ่มดาวแมงป่อง ทั้งนี้เพราะดาวที่ประกอบขึ้นเป็นรูปตันชั่งสว่างไม่ มากนัก ในเมืองใหญ่ที่มีฝุ่นควัน และแสงไฟรบกวนจะมองไม่เห็นเลย จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มดาวแมงป่องเป็นเครื่อง ช่วยค้นหาเช่น เมื่อกลุ่มดาวแมงป่องขึ้นเต็มตัวเป็นรูปแมงป่องทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้แล้ว กลุ่มดาวคันชั่งจะ อยู่สูงเป็นมุมเงยเกือบ 60 องศา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อีกวิธีหนึ่งคือ อาศัยดาวรวงข้าว เช่น เมื่อดาวรวงข้าวอยู่สูง 45 องศา กลุ่มดาวคันชั่งจะอยู่สูง 15 องศา เป็นต้น
เดือนที่เห็นกลุ่มดาวคันชั่งนานตลอดคืน คือเดือนพฤษภาคม โดยอยู่ บนท้องฟ้าประเทศไทยประมาณ 9 ชั่วโมงครึ่ง จะเห็นอยู่ตรงศีรษะเวลา 3 ทุ่ม ในวันที่ 20 มิถุนายน จะเห็นอยู่จนถึงต้นเดือนตุลาคม คือในตอนต้นเดือนตุลาคม พอมืดจะ เห็นกลุ่มดาวนี้เกือบตก ในเดือนมกราคม จะเริ่มเห็นทางขอบฟ้าทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
นิทานดวงดาว
ชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีที่แตกต่างจากชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีอื่น ๆ คือ กลุ่มดาวคันชั่ง เพราะเครื่องชั่งเป็นของใช้ไม่มีชีวิต ในขณะที่ชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มอื่นๆเป็นสิ่งมีชีวิต กลุ่มดาวคันชั่งเป็นกลุ่มดาวที่ไม่เด่น และไม่พบวัตถุฝ้าๆในกลุ่มดาวนี้ คันชั่งเป็นเครื่องมือที่เทพธิดาแห่งความยุติธรรม เทพีแอสเตรีย (ในราศีกันย์) ใช้เพื่อวัดความเที่ยงธรรมในโลกมนุษย์ หรือ ราศีตุลย์ ชื่อที่น่าสนใจเป็นภาษาอาหรับว่าซูเบนเอสซา มาลี (Zubeneschamali) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศ เหนือ สว่างรองลงมาก็คือ ดวงที่ 2 มีชื่อว่า ซูเบนเอลเกนูบิ(Zubenelgenubi) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศใต้ในตำนานกรีก กล่าวไว้ว่า คันชั่งเป็นเครื่องมือที่เทพธิดาแห่งความยุติธรรมใช้ เพื่อวัดความเที่ยงธรรมในโลกมนุษย์
ชาวเมโสโปเตเมีย เป็นผู้กำหนดกลุ่มดาวนี้ เมื่อประมาณ 2000 ปีที่แล้ว โดยสังเกตว่า เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวเท่ากัน และเป็นเดือนกันยายน จึงเรียกว่า "September Equinox" จึงกำหนดให้คันชั่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม โดยมีเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม Astraeia เป็นผู้พิทักษ์ ซึ่งมีเทพธิดาแอสเตรีย หญิงสาวผู้รักความบริสุทธิ์และยุติธรรมเป็นเพื่อน
ชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีที่แตกต่างจากชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีอื่น ๆ คือ กลุ่มดาวคันชั่ง เพราะเครื่องชั่งเป็นของใช้ไม่มีชีวิต ในขณะที่ชื่อของกลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มอื่นๆเป็นสิ่งมีชีวิต กลุ่มดาวคันชั่งเป็นกลุ่มดาวที่ไม่เด่น และไม่พบวัตถุฝ้าๆในกลุ่มดาวนี้ คันชั่งเป็นเครื่องมือที่เทพธิดาแห่งความยุติธรรม เทพีแอสเตรีย (ในราศีกันย์) ใช้เพื่อวัดความเที่ยงธรรมในโลกมนุษย์ หรือ ราศีตุลย์ ชื่อที่น่าสนใจเป็นภาษาอาหรับว่าซูเบนเอสซา มาลี (Zubeneschamali) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศ เหนือ สว่างรองลงมาก็คือ ดวงที่ 2 มีชื่อว่า ซูเบนเอลเกนูบิ(Zubenelgenubi) แปลว่า ก้ามแมงป่องที่อยู่ทางทิศใต้ในตำนานกรีก กล่าวไว้ว่า คันชั่งเป็นเครื่องมือที่เทพธิดาแห่งความยุติธรรมใช้ เพื่อวัดความเที่ยงธรรมในโลกมนุษย์
ชาวเมโสโปเตเมีย เป็นผู้กำหนดกลุ่มดาวนี้ เมื่อประมาณ 2000 ปีที่แล้ว โดยสังเกตว่า เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวเท่ากัน และเป็นเดือนกันยายน จึงเรียกว่า "September Equinox" จึงกำหนดให้คันชั่ง เป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม โดยมีเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม Astraeia เป็นผู้พิทักษ์ ซึ่งมีเทพธิดาแอสเตรีย หญิงสาวผู้รักความบริสุทธิ์และยุติธรรมเป็นเพื่อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น