วันที่ 6 กันยายน 2559 เวลา 09.30 นาฬิกา พลเรือตรี ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร/หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์การฝึก นำคณะสื่อมวลชนทำข่าวภารกิจการฝึกลำเลียงทางอากาศสายแพทย์เพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ ณ ฝูงบิน 106 สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง
โดยมีแพทย์และพยาบาลจาก สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมกับมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ ทำการฝึกรักษาพยาบาลและเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมสำหรับการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ สำหรับอากาศยานที่เข้าร่วมการฝึกฯประกอบด้วย MI-171 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน CH-47 จากประเทศญี่ปุ่น และเครื่องบิน C-130 จากกองทัพอากาศไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกร่วมระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารกับผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (AM-HEx 2016)
ภารกิจการลำเลียงทางอากาศสายแพทย์เพื่อการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ โดยสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ร่วมกับมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึก ทำการฝึกตามขั้นตอนของระบบลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ (Aeromedical Evacuation System) ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมและสั่งการการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศสายแพทย์ หน่วยเตรียมผู้ป่วยเพื่อการลำเลียงทางอากาศเคลื่อนที่ ชุดนายทหารติดต่อประสานด้านการลำเลียง และชุดลำเลียงทางอากาศสายแพทย์ โดยได้จัดตั้งหน่วยเตรียมผู้ป่วยเพื่อการลำเลียงทางอากาศเคลื่อนที่ (MASF unit : Mobile Aeromedical Staging Facilities unit)
ณ ฝูงบิน ๑๐๖ สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย เต็นท์สนาม พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ไปประจำอยู่ที่สนามบินต้นทางในเขตหน้า หรือพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อทำการเตรียมผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก ให้พร้อมที่จะทำการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โดยสามารถเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการติดตั้งเต็นท์ให้สามารถปฏิบัติภารกิจภายในไม่เกิน ๒ ชั่วโมง สามารถรับผู้ป่วยนอนเปลได้ครั้งละ ๘ เปลต่อ ๑ MASF unit ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยระหว่างพักรอการลำเลียงทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ๒-๔ ชั่วโมง ก่อนทำการลำเลียงทางอากาศเพื่อไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลปลายทาง นอกจากนี้ยังจัดให้มีปฏิบัติการด้านการเยียวยาทางจิตใจ (Psychological First Aid) สำหรับผู้ประสบภัยพิบัติด้วย สำหรับระบบในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ
ณ ฝูงบิน ๑๐๖ สนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่าย เต็นท์สนาม พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ไปประจำอยู่ที่สนามบินต้นทางในเขตหน้า หรือพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ เพื่อทำการเตรียมผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก ให้พร้อมที่จะทำการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โดยสามารถเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการติดตั้งเต็นท์ให้สามารถปฏิบัติภารกิจภายในไม่เกิน ๒ ชั่วโมง สามารถรับผู้ป่วยนอนเปลได้ครั้งละ ๘ เปลต่อ ๑ MASF unit ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยระหว่างพักรอการลำเลียงทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ๒-๔ ชั่วโมง ก่อนทำการลำเลียงทางอากาศเพื่อไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลปลายทาง นอกจากนี้ยังจัดให้มีปฏิบัติการด้านการเยียวยาทางจิตใจ (Psychological First Aid) สำหรับผู้ประสบภัยพิบัติด้วย สำหรับระบบในการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น