ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี

 

 ศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี



ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนสาธารณที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้นอกจากนี้ชุมชนและเยาวชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์จากการเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในระบบนิเวศป่าชายเลนสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่อนุบาลสัตว์น้ำเช่นปูกุ้งหอยซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับการดำรงชีวิตอย่างพึ่งพากันและกันระหว่างมนุษย์ –สัตว์ –ป่าไม้อย่างสมดุล
ศูนย์ฯ แห่งนี้เป็นที่เรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างแห่งแรกของประเทศไทย เดิมเป็นพื้นที่สัมปทานนากุ้งในช่วงปี พ.ศ.2524-2539 ป่าผืนนี้ฟื้นชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จฯ ปราณบุรี ปี พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพื้นที่ในบริเวณนี้ ที่วนอุทยานปราณบุรี พระองค์ทรงประทับรถผ่านพื้นที่แห่งนี้แล้วเห็นว่าพื้นที่ได้กลายเป็นนากุ้งไปหมดแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกับทางเจ้าหน้าที่ กรมป่าไม้ว่า “ป่าของฉันหายไปไหน”
กรมป่าไม้สนองพระราชดำริ ด้วยการยกเลิกสัมปทานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งยังดำเนินการฟื้นฟูป่าด้วยการกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายปลูกป่า (Forest Plantation Targer- FPT) ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี พ.ศ.2539 ซึ่ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการและดำเนินการปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ในเวลาต่อมา

การมาเที่ยวชมสิรินาถราชินี เริ่มจากการเข้าฟังบรรยาย แล้วเดินไปชมนิทรรศการจะทำให้เข้าใจพื้นที่และรู้ถึงจุดน่าสนใจต่างๆในศูนย์ก่อนที่จะไปเจอกับของจริง ซึ่งจะมีมัคคุเทศน์น้อยช่วยนำทางให้



ส่วนที่มาของชื่อศูนย์แห่งนี้ ได้มาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานนามให้กับทางศูนย์ว่า “สิรินาถราชินี”

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ที่เราเดินกันมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่นานในการเดินเที่ยวชม ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเราจะเห็น ความอุดมสมบูรณ์ที่ฟื้นกลับมาจริงๆ จากที่แล้งๆโล่งๆกลายมาเป็นอย่างนี้ได้น่าทึ่งจริงๆ ป่าโกงกางที่ปลูกมาทั้งหมด ปลาตีนที่เราเห็นอยู่มากมาย ยังมีปูก้ามดาบทั้งตัวเล็กตัวน้อยอีกนับไม่ถ้วน

หอชมวิว ...ที่จุดนี้เราจะมองเห็นทิวทัศน์ของพื้นที่โดยรอบทั้งหมดว่ากว้างขวางขนาดไหน เป็นจุดที่เราจะเดินขึ้นหอคอยที่สูงกว่ายอดโกงกางค่อนข้างมาก ด้านบนจะมีบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เราอยู่ด้วย รูปภาพเปรียบเทียบทิวทัศน์ในอดีต และเมื่อมีการปลูก ค่อยๆโต จนถึงที่ตามองเห็น ถ่ายภาพในจุดเดียวกันแบบพานอรามาไว้ ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ใครท้อใจเรื่องการปลูกต้นไม้ มาดูศูนย์ฯ นี้รับรองมีกำลังใจปลูกอีกมาก ความพยายามต้องใช้เวลาและความอดทน จนในที่สุดเราก็ได้ป่าอย่างที่เห็น


ก่อนที่จะเดินออก เพื่อเดินทางกันต่อ น้องมัคคุเทศก์น้อยชี้ให้เราดูต้นโกงกางที่ในหลวงและพระราชินีทรงปลูกไว้ เราถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เพราะประทับใจในการสร้างที่นี่ขึ้นมาจริงๆ

การเดินทางมา ศูนย์การศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
จากหัวหินใช้ถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าไปปราณบุรีเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกปราณบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 3168 มีป้ายบอกเป็นระยะๆ Tel. 032-632255

หากสนใจเดินทางมาเที่ยวที่ศูนย์สิรินาถราชินี สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนสิรินาถราชินี
ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โทรศัพท์ 0-3263-2255

ขอบคุณ:
สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกองทัพบก(สง.ทท.ทบ.)
โทร. 0 2282 6835, 0 2297 5831, 0 831 232 647 โทรสาร. 0 2282 6835
โทร.ทบ. 95831 โทรสาร.ทบ. 9163
เว็บไซต์ : http://www.armytour.tht.in/
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) โทร.0 2192 1924-6 โทรสาร.0 2192 1951-2
e-mail: adtthai@gmail.com
เว็บไซต์ : www.domesticthailand.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ