ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เดือนแห่งการรำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร






รูปสุดท้ายของคุณสืบ ถ่าย ณ 
ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ห้วยขาแข้ง 12 สิงหาคม 2533
"อนิจจาสัตว์ป่าน่าสงสาร
ถูกล้างผลาญเข่นฆ่าให้อาสัญ
ผิดด้วยหรือจึงถูกล่าต้องจาบัลย์
มนุษย์นั้นจะโหดร้ายเพียงไหนกัน
ธรรมชาตินำสัตว์ป่ามาคู่โลก
สร้างสมดุลพูนโภคให้โลกนั้น
หากมนุษย์ยังคิดล่าล้างเผ่าพันธุ์
จะรู้สึกสักวันเมื่อบรรลัย"
(แต่งโดย สืบ นาคะเสถียร)
วันหนึ่งขณะที่เราผูกเรือกับตอไม้กลางทะเลสาบ เพื่อช่วยชีวิตชะนีตัวหนึ่ง ปรากฏว่างูจงอางสีดำมะเมื่อมขนาดลำข้อมือ ยาวร่วม ๓ เมตรพุ่งทะยานออกมาจากโพรงในตอไม้ ทุกคนบนเรืออ้าปากค้างด้วยความตกใจ และโล่งอกเมื่องูจงอางพุ่งลงน้ำ 
หากใครโดนงูกัดคงไม่มีทางรอด งูจงอางไม่ใช่งูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก แต่ปริมาณพิษของมันเยอะมาก เพียงพอที่จะทำให้ผู้ถูกกัดตายได้ไม่เกิน ๓ ชั่วโมง และระยะทางจากเรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดคงไม่ต่ำกว่า ๖ ชั่วโมง 
"ตามมันไป จับมันให้ได้" หัวหน้าโครงการฯ สั่งการทันทีพร้อมเสียงสตาร์ตของเครื่องยนต์ ที่เร่งเครื่องสุดกำลังดังกระหึ่มขึ้น งูเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเร็วมาก โดยเฉพาะจงอางที่พริ้วน้ำได้ดี เราขับเรือคู่ขนานไปกับจงอาง เจ้าหน้าที่คนหนึ่งตวัดสวิงขนาดใหญ่ ที่มีด้ามยาวเป็นพิเศษตักงูไว้ แต่ความยาวของงูก็ทำให้เกิดปัญหา ขณะกำลังจะยกสวิงเข้ามาในเรือ จงอางสะบัดตัวอย่างแรงพุ่งออกจากสวิงอีกครั้ง ตกลงน้ำเฉียดเรือไปนิดเดียว พวกเราทุกคนถอนหายใจอีกเฮือกหนึ่ง กับการผจญภัยที่ใกล้ความตายเข้าไปทุกที
สืบไม่ละความพยายาม เขาบอกว่า หากไม่ช่วยชีวิตงูก็ตาย เพราะไม่มีทางว่ายไปถึงฝั่งที่ห่างไกลได้ มันจะหมดแรงตายเสียก่อน คราวนี้เมื่อเรือแล่นไปทันมัน เราสามารถใช้สวิงจับมันขึ้นมาอยู่บนหัวเรือได้สำเร็จ 
คราวนี้ทุกคนหันหน้ามามองกันเลิกลั่ก ใครจะเสี่ยงตายเป็นคนจับงูพิษยัดใส่กระสอบ... ยังไม่ทันไร สืบใช้มือกดหัวจงอาง เจ้าจงอางใช้เขี้ยวพิษกัดสวิงอย่างแรง พร้อมทั้งปล่อยน้ำพิษสีเหลืองใส ๆ ไหลเยิ้มออกมาจนหมด จากนั้นพวกเราช่วยกันพลิกสวิงงูออกจากตัวงู และจับมันใส่ถุงกระสอบ ใช้เชือกผูกมัดแน่นหนา 
หลังจากนั้นไม่นาน สืบก็บอกพวกเราว่า "ผมก็เพิ่งหัดจับงูพิษเป็นครั้งแรกในชีวิต"
สืบ นาคะเสถียร อาจจะใช้ลูกน้องในการทำงานเสี่ยงตายครั้งนี้ก็ได้ แต่เขาก็ไม่ทำเช่นนั้น ลูกน้องทุกคนรู้ดีว่า หากงานใดเป็นงานเสี่ยงอันตราย เขาจะเป็นคนแรกที่ทำงานนี้ และเป็นเช่นนี้จนถึงการทำงานครั้งสุดท้ายในป่าห้วยขาแข้ง " 

จากคุณ : A r t F u l l Y - [ 1 ส.ค. 50 11:36:21 ]
ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา

สืบ นาคะเสถียร หรือนามเดิมชื่อ"สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีบิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุลคุณสืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด

พ.ศ.2511
 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษา อย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่าง ผู้ใกล้ชิดว่าสืบ นาคะเสถียร เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่ง ในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน

พ.ศ.2517
 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา

และในปี พ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน

พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียน ระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน”

ในระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา มรดกที่สืบมอบให้กับคนรุ่นหลัง คือภาพถ่ายสไลด์สัตว์ป่าหายากนับพันๆ รูป ม้วนเทปวิดีโอภาพ สัตว์ป่าและปัญหา การทำลายป่าไม้ในเมืองไทยอีกหลายสิบม้วน ซึ่งสืบเป็นคนถ่ายเอง และหลายครั้งที่เขาลงทุนไปเช่าห้องตัดต่อ ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดต่อเทปด้วยตนเอง

สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตาม ชนิดและพฤติกรรม การทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรม ของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษา สภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่ฯ งานวิจัย เหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง

พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่

"เชี่ยวหลาน"
 เป็นชื่อแก่งน้ำแห่งหนึ่งในบริเวณ คลองแสง ซึ่งเป็นคลองที่มีน้ำเชี่ยวมากที่สุดใน ฤดูน้ำหลาก สองฟากฝั่ง คลองคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง และอุทยาน แห่งชาติเขาสก ซึ่งจัดเป็นผืนป่าที่ อุดมสมบูรณ์มากที่สุด แห่งหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี อยู่บริเวณรอยต่อ สามจังหวัด ของภาคใต้ คือ ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี บนยอดทิวเขา สูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลางประมาณ 1000 เมตร ซึ่งบัดนี้พื้นที่ป่าดงดิบ นับแสนๆ ไร่ ได้จมอยู่ใต้น้ำลึกเกือบ 100 เมตร กลายเป็น ทะเลสาบขนาดใหญ่ อันเกิดจากโครงการทำลายล้าง ธรรมชาติโครงการหนึ่งของ การไฟฟ้า เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน สำหรับผลิตกระแสไฟ เมื่อสายน้ำ ในคลองแสงที่เคยไหล ตามธรรมชาติถูกปิดกั้น ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ไหลเอ่อสองฝั่งตาม หุบเขา
นับตั้งแต่เริ่มมี การกักเก็บน้ำเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2529 ระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่าง รวดเร็วได้ไหลบ่าท่วม ป่าใหญ่ จมหายไป ส่วนที่เป็นเนินเขา และภูเขาก็ถูกตัดขาด แบ่งแยกเป็น เกาะเล็กเกาะน้อย มากมายถึง 162 เกาะ สัตว์ป่านานาชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณ นั้น ต้องได้รับ ผลกระทบ เนื่องจากแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ถูกน้ำท่วมฉับพลัน มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อพยพ หนีน้ำไม่ทันก็ต้องตายไป เป็นจำนวนมาก ไม่น้อยกว่า 338 ชนิด ในจำนวนนี้มี สัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์หลายชนิด เช่น ช้าง กระทิง วัวแดง สมเสร็จ เสือลายเมฆ เลียงผา ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกหว้า และกบทูด สัตว์ที่ติดอยู่บนเกาะ ไม่อาจช่วยเหลือ ตัวเองได้ ต้องพากันจมน้ำหรือ อดอาหาร ตายอย่างทรมานในที่สุด ส่วนที่ยังไม่ตาย ก็ต้องประสบกับ ความทุกข์ทรมาน เนื่องจากแหล่งอาหาร และที่พักพิง ในยามที่แดดร้อนระอุ และความหนาวเย็น ของลมฝนที่พัด กระหน่ำเกือบทุกวัน เพราะต้นไม้ที่เหลือ อยู่บนเกาะก็กำลังจะตาย ใบหลุดร่วงสาเหตุ จากรากที่ดูดซึมน้ำต้องแช่อยู่ใต้ ระดับน้ำทำให้รากเน่า

ต่อมาได้รับคำสั่งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อีกตำแหน่ง และนอกจากนั้นก็ยังได้เป็นอาจาย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน จังหวัดกาญจนบุรี สืบได้จัดเตรียมเอกสารข้อมูลทางด้าน บทความและภาพถ่าย ทุ่มเทพลังใจและกาย เพื่อคัดค้านกรณีเขื่อนน้ำโจน และการบุกรุกทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติทุกรูปแบบ
เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่า การช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง สืบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลาย ล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจน ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรงและกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือ จากมนุษย์ ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ฯต่างๆในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจน ก็ได้ถูกระงับไป

พ.ศ.2530
 สืบได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษา ผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส

พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
สืบได้พยายามในการที่จะ เสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ
พ.ศ.2533 จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่า ห้วยขาแข็งและทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปราย ในโอกาสและ สถานที่ต่างๆหลายแห่ง ส่วนมากเป็นหัวข้อเรื่อง "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ ปัญหาที่เกี่ยวข้อง" "การอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในเขื่อนเชี่ยวหลาน" เป็นต้น
ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า ทำให้หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามา หาผลประโยชน์ สืบได้แสดง เจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง ตั้งแต่วันแรก ที่เข้าไปรับงานหัวหน้าเขตฯ เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศ ให้รู้ทั่วกันว่า “ ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน” สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ ไม่อาจหยุดยั้ง การบุกรุกของกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ได้

การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่า ของเขา มันทั้งกัดกร่อนบั่นทอนและสร้างความตึงเครียดให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่าปัญหาสำคัญ ของห้วยขาแข้งเกิดจากความยากจนที่ดำรงอยู่โดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์ และผู้มีอิทธิพลสามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้น อพยพราษฎร ออกนอกแนวกันชน แต่พัฒนาแนวกันชนดังกล่าวให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฏเป็นจริง

ดังนั้นเขาจึงได้พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิด ดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟังปล่อยให้สืบ ต้องดูแลป่าห้วยขาแข้งไปตามยถากรรมด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวังและความคับแค้นใจ
เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายวาจา

และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...
การจากไปของสืบ นาคะเสถียรได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรม ในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยเป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกปัก รักษาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยไม่คำนึงภัยอันตรายใดๆ การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคนไม่อาจปล่อยให้ ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ