ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พลเรือเอก จรูญ จาตุรพงศ์ รองเสนาธิการทหาร และคณะเดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกร่วมระหว่างคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารกับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ


เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา พลเรือเอก จรูญ  จาตุรพงศ์ รองเสนาธิการทหาร และคณะเดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกร่วมระหว่างคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารกับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (ADMM-Plus Military Medicine-Humanitarian Assistance and Disaster Relief Joint Exercise 2016 : AM-HEx 2016) ณ ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง 
 การตรวจเยี่ยมการฝึกร่วมฯในครั้งนี้  คณะฯได้เข้าเยี่ยมชมการฝึกปัญหาที่บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) ประกอบด้วยศูนย์ประสานงานนานาชาติ (Multi National Coordination Center : MNCC) ส่วนควบคุมการฝึก (Exercise Control Group : ECG) และศูนย์ประชาสัมพันธ์ (Media Center) ณ อาคารกีรติสิริโยธิน  แล้วเดินทางไปยังพื้นที่การฝึกภายในค่ายนวมินทราชินี จำนวน ๔ สถานี ได้แก่ สถานีพื้นที่อาคารถล่ม (Building Collapse)  สถานีพื้นที่ถูกตัดขาด   (Isolate Area) สถานีการตั้งค่ายผู้ประสบภัย (Evacuation Camp/Field Hospital) และสถานีพื้นที่สารเคมีรั่วไหล (Chemical Leakage)  จากนั้นคณะฯได้เดินทางต่อโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยังเรือหลวงอ่างทอง  ซึ่งจอดทอดสมอ

อยู่บริเวณเกาะสีชัง   ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมการฝึกบนเรือแล้วได้เดินทางไป ตรวจเยี่ยมการฝึกสถานีสุดท้าย
ณ พื้นที่เตรียมการอพยพผู้ประสบภัยทางอากาศ (Aeromedical Evacuation) ณ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา 
จังหวัดระยอง  
 การฝึกร่วมฯ ครั้งนี้ กระทรวงกลาโหม กองทัพไทย และ ๓ เหล่าทัพ ได้มีโอกาสร่วมกันในการทดสอบ
การปฏิบัติงานของศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนในด้านการฝึกปฏิบัติการด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและ
การบรรเทาภัยพิบัติกับนานาชาติ เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของทุกฝ่าย เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ และเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  เป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์  ในการปฏิบัติงานระหว่างประเทศต่างๆ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ  นอกจากนี้ยังเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นถึงขีดความสามารถในการเข้าช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ และเสริมสร้างเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของประเทศไทย ในระดับภูมิภาคและในระดับสากลต่อไป











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ