วันที่ ๒๔ กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันทิวงคต (เสียชีวิต) ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์)ได้รับการถวายพระสามัญนามจากพสกนิกรชาวไทยว่า ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" วันอันเป็นที่ระลึกสำคัญนี้คือ "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทย ในช่วงตลอดระยะเวลา ๑๒ ปีนั้น อาทิเช่น ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ จัดสร้างตึกคนไข้,จัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการตรวจรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นการรากฐานวิชาการแพทย์ และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ พัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุข. ให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในช่วงที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพ ตราบจนถึงปัจจุบันนี้การแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเราก็ยังความทัดเทียมและได้รับการยกย่องจากนานาอารยะประเทศว่าการแพทย์ไทยมีคุณภาพและการสาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง ประชาชนมีสุขภาพดีพร้อมๆ ไปกับการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ยังพระดำรัสของพระองค์ท่านที่มีต่อนักเรียนแพทย์ในสมัยนั้นที่เป็นคำสอนที่เตือนสติให้แก่ แพทย์ บุคลากรทางแพทย์อย่างทรงคุณค่ามาถึงปัจจุบันนี้ ใน"วันมหิดล"ของทุกปี นักเรียนแพทย์ แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วทั้งประเทศจึงได้ร่วมกันรำลึกถึงคุณงามความดีที่พระองค์ท่านทรงบุกเบิกไว้ให้แก่ชาวไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ นอกจากนักเรียนแพทย์และนักเรียนด้านการแพทย์ในสาขาต่างๆ ทั่วประเทศจะได้ร่วมกันแสดงการถวายสักการะต่อหน้าพระรูปพระบรมราชชนกเพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวทีต่อสมเด็จพระบรมราชชนกแล้ว กิจกรรมอื่นๆ ในแต่ละที่ทั่วประเทศก็จะมีการร่วมกันจัดหาทุนทรัพย์เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการของโรงพยาบาล และการหาทุนทรัพย์มาช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ผู้ป่วยอนาถาอย่างที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 รวมพระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมัน จากนั้นทรงเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ แต่ด้วยสุขภาพของพระองค์ไม่ดีนัก ทรงมีอาการประชวนเรื้อรัง จนทำให้ไม่สามารถรับราชการหนักเช่นทหารเรือได้ แต่ด้วยพระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการด้านการแพทย์ จึงทรงพระอุตสาหะ เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและ วิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และทรงได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทย์ศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด |
มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น