ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทบ.เชิญเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ทบ.เฉลิมพระเกียรติ





หลังปรับปรุงใหม่ เป็นแหล่งความรู้ประวัติศาสตร์

ทางทหาร เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ 3 ต.ค.59
จากนโยบายของกองทัพบกที่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งปลูกสร้างภายในหน่วยทหาร รวมถึงสถานที่สำคัญที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้เป็นสถานที่สวยงาม เหมาะสมกับการใช้งาน โดยในตลอดปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการปรับปรุงและสร้างบ้านพัก อาคารสำนักงาน ภายในหน่วยทหาร ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังพลมีที่พักอาศัยที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และหน่วยทหารหลายพื้นที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม อาคารต่างๆ ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ที่สำคัญคือในพื้นที่ส่วนกลางกองทัพบกได้ดำเนินการปรับปรุง “พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ” ภายในกองบัญชาการกองทัพบก กทม. ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย แต่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยขณะนี้การปรับปรุงเสร็จเรียบร้อย และจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับชมได้ตามปกติตั้งแต่ วันที่ 3 ต.ค.59 เป็นต้นไป ทั้งนี้ในวันที่ 28 ก.ย.59 กองทัพบก ได้จัดพิธีบวงสรวงอันเชิญพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นประดิษฐาน ณ ที่ตั้งเดิม และพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ โดยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน

อนึ่ง พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งมานานถึง 114 ปี ทำให้รูปแบบการนำเสนอและตัวอาคารบางส่วนชำรุดและไม่ร่วมสมัย ดังนั้นกองทัพบกจึงได้ดำเนินการปรับปรุงให้มีความทันสมัยเทียบเท่ากับพิพิธภัณฑ์ของนานาประเทศ พร้อมปรับเนื้อหาการจัดแสดงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ ความกล้าหาญ ให้กับกำลังพล ในกองทัพและผู้ที่เข้าเยี่ยมชม ตลอดจนใช้เป็นสถานที่สำหรับการต้อนรับบุคคลสำคัญที่มาเยือนกองทัพบก อีกวาระหนึ่งด้วย
สำหรับอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ นั้น มีการจัดแสดงทั้งหมด 3 ชั้น โดยมีการปรับปรุงในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ส่วนชั้นที่ 1 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงจัดแสดงในลักษณะเดิม ซึ่งภายในประกอบด้วยห้องจัดแสดงอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงสมัยสงครามเวียดนาม, ห้องจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ จำลองวีรกรรมการรบทางบก รวมถึงอาวุธประเภทฟันและแทงที่ใช้ในสมัยโบราณ ชั้นที่ 2 ประกอบด้วยห้องจอมทัพไทย แสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของมหาราช 10 พระองค์ ด้วยภาพพระบรมฉายาทิสลักษณ์ และธงชัยเฉลิมพล อีกทั้งยังเป็นสถานที่ในการปฏิบัติภารกิจสำคัญของกองทัพบก และชั้นที่ 3 ห้องบารมีปกเกล้าฯ จัดแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงภาพและประวัติอดีตผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้ง “คฑาจอมพล” ที่แสดงด้วยกราฟฟิคบอร์ดและวีดีทัศน์
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะได้ใน วัน เวลา ราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 0-2297-8058, 0-2297-7380 และ 0-2297-7347

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ