วันพืชมงคล : The Royal Ploughing Ceremony
ความสำคัญของวันพืชมงคล
วันพืชมงคล : เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเพาะปลูก การเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์อย่างมาก เพราะธัญญาหารที่บรรดาเหล่าเกษตรกรปลูกได้ในแต่ละปี ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ดัดแปลงเป็นอุปโภคต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การเห็นความสำคัญของการเมล็ดพืชพันธุ์อันเป็นปัจัจัยสำคัญต่อวิถีการผลิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติ นอกเหนือจาการมีแผนดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำฝนที่มีปริมาณเพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ แล้ว หากได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่ได้รับการเลือกสรร รวมทั้งเกษตรกรมีขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการลงทุนเพาะปลูก ทางราชการหรือผู้ปกครองตนให้การดูแลเอาใจใส่ การเกษตรของประเทศจะพัฒนามากยิ่งขิ้น ด้วยเหตุนี้ ทุกปีทางราชการจึงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น โดยกำหนดในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี
การจัดพิธีวันพืชมงคล เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ และรำลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยพระราชพิธีนี้จะประกอบไปด้วย 2 พระราชพิธี เข้าด้วยกันคือ
พิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่งซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันแรก เป็นพิธีทำขวัญให้แก่เมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้เมล็ดพืชพันธุ์นั้น เจริญเติบโตและอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย
พิธีแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่งซึ่งจะประกอบพิธีในวันถัดไป เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว และเป็นการส่งสัญญาณว่า ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
ประวัติของวันพืชมงคล
เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ
แต่เดิมในสมัยโบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยังไม่มีพระราชพิธีพืชมงคลเกิดขึ้น มีแต่พระราชพิธีจรดนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆว่า พิธีแรกนา ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถเอง เพียงแต่เสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนครั้งสมัยกรุงสุโขทัยแต่จะทรงจำศีลเป็นเวลา 3 วัน และได้มอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์
และเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในการปกครองของรัชกาลที่ 1 ผู้ที่ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 2
แต่พอมาถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ดังนั้นพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีของสงฆ์จึงได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจัดรวมกันกับพระราชพิธีจรดนังคัลแรกนาขวัญ และตั้งชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ส่วนวันประกอบพระราชพิธีนั้นจะต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเป็นฤดูฝน ซึ่งเหมาะสมแก่การทำเกษตรกร ทำไร่ ทำนา และต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม และเมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลฤกษ์ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะทำการบันทึกไว้ในปฏิทินหลวง พร้อมกับกำหนดการว่าวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล และวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนครั้งสมัยกรุงสุโขทัยแต่จะทรงจำศีลเป็นเวลา 3 วัน และได้มอบอาญาสิทธิ์ให้โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์
และเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในการปกครองของรัชกาลที่ 1 ผู้ที่ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพหลเทพคู่กันกับการยืนชิงช้า ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 2
แต่พอมาถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ดังนั้นพระราชพิธีพืชมงคลซึ่งเป็นพิธีของสงฆ์จึงได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยจัดรวมกันกับพระราชพิธีจรดนังคัลแรกนาขวัญ และตั้งชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ส่วนวันประกอบพระราชพิธีนั้นจะต้องอยู่ในระหว่างเดือน 6 เพราะเป็นฤดูฝน ซึ่งเหมาะสมแก่การทำเกษตรกร ทำไร่ ทำนา และต้องเป็นวันที่ดีที่สุดของแต่ละปี ประกอบด้วย ขึ้น แรม ฤกษ์ยาม และเมื่อโหรหลวงคำนวณได้วันอุดมมงคลฤกษ์ที่จะประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญแล้ว สำนักพระราชวังจะทำการบันทึกไว้ในปฏิทินหลวง พร้อมกับกำหนดการว่าวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล และวันใดเป็นวันประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
การกำหนดวันพืชมงคลในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน โดยจะถือเอา วันข้างขึ้น เดือน 6 ซึ่งแล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤการประกอบพระราชพิธีวันพืชมงคล
พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืช พันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งข้าวที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่าง ๆ รวม 40 อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนา บรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล
โดยพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซอง แล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้
ทั้งนี้ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันนี้ได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะแก่กาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีนั้นคัดเลือกจากข้าราชการสตรีโสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับ 3 – 4 คือขั้นโทขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนได้มาชมการแรกนาเป็นจำนวนมาก
สำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนาย ปริมาณน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และแล้วพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า 3 ผืนที่มีความยาวต่างขนาดกัน ตามชอบใจ ผ้าทั้ง 3 ผืนนี้จะดูคล้ายกัน ถ้าพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุด ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมาก และถ้าเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่ามีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ
หลังจากสวมเสื้อผ้าเรียกว่า “ผ้านุ่ง” เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง ซึ่งลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้ง 4 ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ก็มีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปพร้อมกัน
เมื่อเสร็จจากการไถแล้วพระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้าเมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ก็ทายว่าปีนี้จะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือกนั้น
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนา เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวนี้ผสมกับเมล็ดข้าวของตน เพื่อให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์
สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญ จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีในทุ่งหญ้าที่จังหวัดราชบุรี พระโคที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดีขาดเกินไม่ได้คือ หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่ต้องสีเหมือนกัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสีเท่านั้น คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง และเจาะจงแต่เพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ “ตอน” เสียก่อนด้วย
อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นวันเกษตรกรประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน
คันไถ ที่ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมสร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าวตลอดมานั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ.2539 โดยกลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นคันไถที่ทำจากไม้สมอ ซึ่งชุดคันไถประกอบด้วย
คันไถ ขนาดความสูงวัดจากพื้นถึงเศียรนาค 2.26 เมตร และความยาวจากเศียรนาคถึงปลายไถ 6.59 เมตร ทาสีแดงชาดตลอดคันไถ ที่หัวคันไถทำเป็นเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับคันไถเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ปลายไถหุ้มผ้าขาวขลิบทองสำหรับมือจับ
แอกเทียมพระโค ยาว 1.55 เมตร ตรงกลางแอกประดับด้วยรูปครุฑยุดนาคหล่อด้วยทองเหลืองลงลักปิดทองอยู่บนฐานบัว ปลายแอกทั้งสองด้านแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาคลงลักปิดทอง ลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทองตลอดคัน ที่ปลายแอกแต่ละด้านมีลูกแอกทั้งสองด้านสำหรับเทียมพระโคพร้อมเชือก กระทาม
ฐานรอง เป็นที่สำหรับตั้งรองรับคันไถพร้อมแอก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทาด้วยสีแดงชาด มีลวดลายประดับเป็นลายกระจังตาอ้อยลงลักปิดทอง ทั้งด้านหัวไถและปลายไถ
ธงสามชาย เป็นธงประดับคันไถติดตั้งอยู่บนเศียรนาค ทำด้วยกระดาษและผ้าสักหลาด เขียนลวดลาย ลงลักปิดทองประดับด้วยกระจกแวว มีพู่สีขาวประดับด้านบนเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่งเพื่อประดับพระเกียรติ ธงสามชายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ฐานยาว 41 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร และเสาธงยาว 72 เซนติเมตร
การเสี่ยงทาย วันพืชมงคล
ผ้านุ่งแต่งกาย ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ
ถ้าหยิบผ้าได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ในวันพืชมงคล
ของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้นมี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ
– ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
– ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
– ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์
– ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับ ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
พระโคแรกนา วันพืชมงคล
พระโคในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะ ของพระอิศวร เปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็งและหมายถึงสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้มีพระโคเพศผู้เข้าร่วมพิธีเสมอมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง และ ความอุดมสมบูรณ์
ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานคัดเลือกพระโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ จะดำเนินการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดีรูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก ไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะ ที่ดี กีบข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม
พิธีกรรม วันพืชมงคล ในปัจจุบัน
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาขวัญก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุฑูต และประชาชนจำนวนมากมาชมการแรกนาขวัญ
เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคล
กำหนดวันพืชมงคล
พ.ศ. 2553 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2554 ตรงกับ ศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2555 ตรงกับ พุธที่ 9 พฤษภาคม (แรม 4 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2556 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2557 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2558 ตรงกับ พุธที่ 13 พฤษภาคม (แรม 11 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2559 ตรงกับ จันทร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
พ.ศ. 2560 ตรงกับ ศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม (แรม 2 ค่ำเดือน 6)
กำหนดการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันพืชมงคล) ปีพุทธศักราช 2559
วันพืชมงคล : พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2559 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง บรรดาข้าราชการ รวมถึงประชาชนชาวเกษตรกรต่างทยอยเดินทางเข้าร่วมพระราชพิธี และรอเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
8 พฤษภาคม 2559 : พระราชพิธีพืชมงคล พิธีสงฆ์
พระราชพิธีพืชมงคล เป็นวันสวดมนต์เริ่มการพระราชพิธีพืชมงคล (วันเกษตรกร) อันเป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพระราชพิธี ในวันอาทิตย์ 8 พฤษภาคม 2558 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
9 พฤษภาคม 2559 : พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) ในวันจันทร์ 9 พฤษภาคม 2559
เป็นพิธีพราหมณ์ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ฤกษ์ไถหว่านระหว่างเวลา 08.19 – 08.59 น.
พระยาแรกนา 2559 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พระโคแรกนา 2559 กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปีพุทธศักราช2559 จำนวน 2 คู่ คือ
พระโคแรกนา 1 คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล
พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง
เทพีคู่หาบทอง 2558 ได้แก่ น.ส.อมรรัตน์ แขวงโสภา และว่าที่ร้อยตรีหญิงณฐมน อยู่เล่ห์
เทพีคู่หาบเงิน 2558 ได้แก่ นันทินี ทองคงเหย้า และฉมาพันธ์ สุพรมอินทร์
เมล็ดพันธุ์ข้าว วันพืชมงคล 2559
พันธุ์ข้าวทรงปลูกในฤดูนาปี 2559 โครงการนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มาใช้ในงานพระราชพิธีฯ ประจำปี 2559 ประกอบด้วย ข้าวนาสวน 7 พันธุ์ (ปทุมธานี 1, สังข์หยดพัทลุง, ขาวดอกมะลิ 105, กข 57, กข 41, กข 61, กข 6) ข้าวไร่ 3 พันธุ์ (ดอกพะยอม, ซิวแม่จัน และลืมผัว) เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธีมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้น 2,667 กิโลกรัม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น