ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี



พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ





พิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ อยู่ที่บ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี ในพื้นที่ กรมรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์


การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบกเริ่มแรกได้จัดตั้งกองพันทหารพลร่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เมื่อ พ.ศ.2497 และได้มีวิวัฒนาการมาเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในปัจจุบัน ทั้งนี้หน่วยรบพิเศษเป็นหน่วยทหารที่มีความสำคัญยิ่งหน่วยหนึ่งของกองทัพบกไทยมาทุกยุคทุกสมัย นายทหารหลายท่านที่มาจากหน่วยทหารรบพิเศษได้รับตำแหน่งระดับเป็นผู้นำในกองทัพ ได้แก่ พลเอกสุรยุทธ จุลลานนท์ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ พลเอกวิมล วงศ์วานิช ในปี พ.ศ.2537 พลเอกวิมล วงศ์วานิช ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทหารรบพิเศษ จึงได้อนุมัติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษขึ้น ตั้งอยู่ที่ค่ายวชิราลงกรณ์ ใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 28 ล้านบาท แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2538 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมประวัติศาสตร์ทางทหาร และวีรกรรมของทหารรบพิเศษที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ
เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติทหารรบพิเศษให้อนุชนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่างของความเสียสละต่อไป


การจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ แบ่งเป็นห้องต่าง ๆ ดังนี้

ห้องโถง จัดแสดงภาพเหตุการณ์ประวัติความเป็นมาภารกิจต่างๆ ของหน่วยรบพิเศษตั้งแต่ยุคต้นจนถึงยุคปัจจุบัน ภายในยังภาพประติมากรรมฝาผนังดินเผาด่านเกวียนนูนต่ำ เป็นประติมากรรมรูปช้างสามเศียร “เทพเจ้าเอราวัณ” ภายในเศียรช้างบรรจุวัตถุมงคลรุ่นอนุรักษ์ชาติและบรรจุดินจาก 24 สมรภูมิการรบของไทย และประดิษฐานพระบรมรูป 9 มหาราชของชาติไทย






ห้องแสดงที่ 1 (ห้องแสดงทั่วไป) จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและการวิวัฒนาการของหน่วยรบพิเศษ โดยแบ่งเป็นตู้แสดง ต่างๆดังนี้

ตู้จัดแสดงส่วนแรก จัดแสดงภาพของนายทหารที่เรียกว่า “เกียรติยศอันสูงสุดของทหารหน่วยรบพิเศษ” ได้แก่ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ และพลเอกวิมล วงษ์วานิช ที่ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ถัดมาเป็นตู้จัดแสดงเครื่องแบบของทหารจากหน่วยรบพิเศษซึ่งมีทั้งชุดภาคพื้นดินที่เป็นชุดพรางและชุดสีดำ ชุดกระโดดร่ม ชุดประดาน้ำ ชุดแต่งกายเครื่องแบบทหารธรรมดาทั้งทหารหญิงและชาย ด้านหลังของตู้จัดแสดง มีผังการจัดหน่วยรบพิเศษให้ได้ความรู้ด้วย

ตู้จัดแสดงถัดมานำเสนอเครื่องแต่งกายของหน่วยรบพิเศษที่ต้องกระโดดร่มลงในพื้นที่อันตรายต่างๆ ด้านหลังเป็นร่มจริง ส่วนด้านหน้าเป็นร่มสำรองหากร่มจริงไม่กาง มีชุดร่มของพลเอกวิมล วงษ์วานิช

ตู้จัดแสดงถัดมาเป็นตู้จัดแสดงหมวกทรงอ่อน หรือเรียกว่าหมวกเบเลย์(Beret) สีแดงของหน่วยทหารรบพิเศษ ส่วนใหญ่แล้วหน่วยรบพิเศษทั่วโลกจะใช้หมวกเบเลย์สีแดง มีเฉพาะบางประเทศที่ใช้สีอื่น นอกจากแสดงหมวกแล้วยังแสดงเข็มสัญลักษณ์ร่วมและสายรัดจากทั่วโลก ส่วนใหญ่ได้มาจากการซ้อมรบร่วมหรือการเยือนระหว่างหน่วยทหารของแต่ละประเทศ

ตู้จัดแสดงโหลแก้วบรรจุดินจากสมรภูรบทั้ง 24 แห่ง ที่ทหารหน่วยรบพิเศษเคยร่วมตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันด้วย ส่วนอื่นๆ ภายในห้องประกอบด้วย

ตู้จัดแสดงการแต่งกายในโอกาสต่างๆ การประดับเครื่องหมายและเครื่องราชอสริยายศต่างๆ ทั้งปกติขาว และปกติครึ่งท่อน รวมทั้งจัดแสดงอาวุธปืนประเภทต่างๆของทหารรบพิเศษด้วย




ห้องแสดงที่ 2 เป็นห้องจัดแสดงที่เกี่ยวกับการฝึกและการศึกษาของหน่วยรบพิเศษ โดยการจำลองหลักสูตรต่างๆ ที่ทหารรบพิเศษจะต้องเข้ารับการฝีกศึกษา ในโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ(รร.สพศ.ศสพ.) เช่นจำลองสถานที่ฝึกศึกษาหลักสูตรทางอากาศ แสดงอุปกรณ์การฝึก จำลองการฝึกหลักสูตรจู่โจมภาคที่ตั้ง, ภาคป่า, ภาคทะเล,การข้ามเครื่องกีดขวาง และการไต่หน้าผาจำลอง เป็นต้น และจัดแสดงอาวุธที่ทหารรบพิเศษต้องนำไปด้วยเวลาออกรบหรือออกปฏิบัติภารกิจ

ห้องแสดงที่ 3 เป็นห้องจัดแสดงการปฏิบัติการรบในยุทธการต่างๆ โดยแบ่งยุคการจัดแสดงเป็น 4 ยุคได้แก่ ยุคโบราณ, ยุคก่อนเสียงปืนแตก, ยุคต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์เช่น ยุทธการช่องช้าง ยุทธการเขาค้อ ฯลฯ, ยุคหลังปี พ.ศ.2525 เป็นการปฏิบัติการป้องกันประเทศเป็นการจำลองภาพเหตุการณ์ที่ ทหารรบพิเศษได้ร่วมในการสู้รบในยุทธการต่างๆ เพื่อให้ทหารและอนุชนรุ่นหลังได้รับทราบและเป็นข้อเตือนใจ





ห้องแสดงที่ 4 เป็นห้องจัดแสดงกิจกรรมที่สำคัญของหน่วยรบพิเศษประกอบด้วย แสดงกิจกรรมสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยรบพิเศษ รวมทั้งโครงการพระราชดำริที่หน่วยรบพิเศษมีส่วนร่วม ประวัติเมืองลพบุรี ตลอดจนกิจกรรมที่หน่วยรบพิเศษได้มีส่วนร่วมดำเนินการมาในอดีตถึงปัจจุบัน


ห้องปฏิบัติการใต้น้ำ จัดแสดงจำลองภาพเหตุการณ์ให้เห็น ถึงขีดความสามารถในการปฏิบัติการพิเศษใต้น้ำ ของกองทัพไทย ด้วยการซุ่มโจมตีด้วยวิธีการวางตัวใต้ผิวน้ำ ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องได้รับการฝึกเป็นพิเศษ มีขีดความสามารถสูง มีความเข้มแข็ง อดทนทั้งร่างกายและจิตใจ และมีความเสียสละเป็นอย่างสูง ซึ่งหน่วยรบพิเศษ จะต้องริเริ่มพัฒนาการฝึกปฏิบัติการพิเศษในลักษณะต่างๆ ให้กับกำลังพลอย่างต่อเนื่อง และมีหุ่นจำลองของทหารรบพิเศษที่แต่งกายเตรียมพร้อมทั้งการดำน้ำและการขึ้นปฏิบัติการบนบก




ห้องปฏิบัติการใต้ดิน จำลองภาพเหตุการณ์และแผนการทำลายล้างในรูปแบบการปฏิบัติการใต้ดิน เพื่อให้กำลังพลได้ตระหนักถึงอันตรายที่ซ่อนเร้นแฝงตัวในรูปแบบต่างๆ

ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งจากความริเริ่มของฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเรา


ห้องปฏิบัติการรบในป่า จัดแสดงจำลองภาพเหตุการณ์การรบจริงที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานับประการ เช่นกับระเบิด ระเบิดแสวงเครื่อง หลุมขวาก และแสดงให้เห็นถึงการตระเวนและความเป็นอยู่ในป่า เพื่อเป็นข้อเตือนใจและระลึกถึงกำลังพลในอดีต ที่มีทั้งการสูญเสียและได้รับชัยชนะและต้องประสบกับการสูญเสีย





อีกห้องจัดแสดงที่เพิ่งทำเสร็จมาเมื่อไม่กี่ปีนี้คือ ห้องจัดแสดงภารกิจในสมรภูมิต่างๆ ของทหารหน่วยรบพิเศษ นอกจากนี้ยังได้นำเสนอพัฒนาการของหน่วยรบพิเศษ แบ่งเป็น รบพิเศษในสงครามยุคโบราณ เล่าย้อนหลังไปถึงยุคสมัยของพระนเรศวร และต่อมากล่าวถึงหน่วยรบพิเศษอีกหน่วยที่มีบทบาทต่ออธิปไตยของประเทศไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คือ หน่วยเสรีไทย ต่อมานำเสนอการสู้รบในสมัยที่ประเทศไทยยังมีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) มีการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งการบัญชาการใต้ดิน การจำลองกระท่อมของ ผกค. ร่วมทั้งหนังสือ เสื้อผ้าอาวุธต่างๆ ที่ยึดได้จากการบุกปราบปรามของหน่วยรบพิเศษในช่วง ทศวรรษที่ 2510-2530 และมีแผนที่จัดแสดงสมรภูมิรบ หรือเขตพื้นที่สีแดง ในบริเวณต่างๆของประเทศไทย

นอกจากนี้หน่วยทหารรบพิเศษยังมีหน้าที่ในการปราบปรามกลุ่มพ่อค้ายาเสพติด ที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนของประเทศไทย ล่าสุดภารกิจพิเศษของหน่วยรบพิเศษที่ร่วมมือไปกับนานาชาติคือ ภารกิจเพื่อสันติภาพ ด้วยการส่งหน่วยทหารเข้าไปร่วมพัฒนาประเทศติมอร์ ที่เพิ่งสงบจากการสงครามกลางเมือง และหน่วยทหารไทยที่ไปร่วมรักษาสันติภาพที่ประเทศอิรัก นอกจากแสดงภาพการปฏิบัติภารกิจและยังนำเสนอเครื่องแบบในภารกิจพิเศษเหล่านี้ด้วย

การจัดแสดงทั้งหมดนั้นเพื่อให้ผู้ที่ได้เข้าชมได้เข้าใจถึงภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบของทหารหน่วยรบพิเศษ ให้เข้าในคำขวัญของหน่วยที่ว่า “พลังเงียบ เฉียบขาด”

การเข้าชมเปิดในวันราชการ เวลา 09.00-16.00 น. (การเยี่ยมชมเป็นคณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า) โทร.036-612395 อัตราค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท






- See more at: http://www.weloverta.org/site/?p=6197#sthash.UaUnKNCS.dpuf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ