กลุ่มดาวในราศีที่ 3 หรือกลุ่มดาวราศีมิถุน คือ กลุ่มดาวคนคู่ ดาวกลุ่มนี้มีดาวดวง สว่างสุกใส 2 ดวง เป็นสังเกต คือ ดาว Pollux และ Castor ดาว 2 ดวงนี้ เป็นจุด สะดุดตาหาได้ง่าย อยู่ใกล้ ๆ กลุ่มดาววัว เหนือกลุ่มดาวนายพรานใหญ่ขึ้นมาทาง ทิศตะวันออกของกลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวคนคู่จะเห็นอยู่กลางท้องฟ้าเมื่อเวลา 3 ทุ่มในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี
ดาวฤกษ์พอลลักซ์และแคสเตอร์นี้ คนโบราณโดยทั่วไปถือว่าเป็นดาวคู่แฝด คือชาวอาหรับเห็นเป็นนกยูง 2 ตัว ชาวอียิปต์เห็นเป็นต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น ชาวฮินดูเห็นเป็นเทพเจ้า 2 องค์
คนไทยเห็นกลุ่มดาวคนคู่ เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายโลงศพ จึงเรียกชื่อกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวโลงศพ และเห็นดาวสามดวงที่อยู่ตรงด้านข้างโลงเหมือน นกกาที่มาเกาะโลงอยู่ แล้วเรียกกลุ่มดาวดังกล่าวว่า กลุ่มดาวกา เราสามารถเห็นกลุ่มดาวคนคู่ ขึ้นไปสูงสุดกลางท้องฟ้า ราวเที่ยงคืนของเดือนมกราคม ประกอบด้วยกลุ่มดาวที่สำคัญดังนี้ Caster ดาวคาสเตอร์ เป็นดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ (Double Star) ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดย 2 ดวงแรก (ชื่อ Caster A และ Caster B) มีความสว่างเท่ากับ 1.94และ 2.92 ตามลำดับ โดยโคจรรอบกันและกันประมาณ 510 ปีต่อรอบ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 52 ปีแสง ดาวคาสเตอร์ เป็นศีรษะของหนึ่งในสองคนของคนคู่ Pollux เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างเท่ากับ1.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 34 ปีแสง ชาวอารบิก เรียกดาวพอลลักซ์ อีกชื่อหนึ่งว่า Rasalgeuse หมายถึง ศีรษะของคนคู่ Alhena เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีความสว่างประมาณ 1.93 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 105ปีแสง M35 เป็นกระจุกดาวเปิด (Open Cluster) ในกลุ่มดาวคนคู่ มองเห็นค่อนข้างยากด้วยตาเปล่า อยู่เหนือดาวเอตาประมาณ 2 องศา ประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่างประมาณ 200 ดวงขึ้นไป มีความสว่างประมาณ5.1 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 2200 ปีแสง
ลักษณะปรากฏและแนวทางขึ้นตก
ในช่วงเวลา 1 ปี ดวงอาทิตย์จะค่อยๆ โคจรผ่านไปยังกลุ่มดาวต่างๆ ครบทั้ง 12 กลุ่มดาวในจักรราศี และวนกลับมาอยู่ในกลุ่มดาวกลุ่มเดิมอีกครั้ง ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันของแต่ละปี และในเดือน มิ.ย. ของทุกๆ ปี ดวงอาทิตย์จะย้ายจากกลุ่มดาววัวเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่ ทว่าเมื่อยามที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าในช่วงกลางวัน เราจะไม่สามารถมองเห็นดวงดาวได้เลย แล้วนักดาราศาสตร์รู้ได้อย่างไรล่ะว่า ดวงอาทิตย์ได้เข้ามาสู่กลุ่มดาวคนคู่แล้วในเดือน มิ.ย.
เมื่อดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว นักดาราศาสตร์จะมองเห็นกลุ่มดาวสิงโตอยู่เหนือกลุ่มดาวปูทางด้านทิศตะวันตก และจะมีดาวอีก 2 ดวงปรากฏอยู่ใกล้กับขอบฟ้า ใต้กลุ่มดาวปู นั่นคือดาวที่แสดงตำแหน่งส่วนหัวของพอลลักซ์และคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ที่เพิ่งลับขอบฟ้าไปพร้อมๆ กับดวงอาทิตย์แล้วนั่นเอง จึงทำให้รู้ได้ว่า ณ เวลานี้ดวงอาทิตย์ได้ย้ายจากกลุ่มดาววัวสู่กลุ่มดาวคนคู่แล้ว และอีกราว 1 เดือนถัดไปในเดือน ก.ค. ดวงอาทิตย์ก็จะออกจากกลุ่มดาวคนคู่เข้าสู่กลุ่มดาวปู กลุ่มดาวสิงโต และกลุ่มดาวต่างๆ จนกระทั่งกลับเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่อีกครั้งในเดือน มิ.ย. ของปีหน้า
จุดที่ขึ้นคือประมาณกึ่งกลางของจุดทิศตะวันออกกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะขึ้นคนคู่เอาเท้าขึ้นก่อน โดยเท้าเอียงไปทาง ใต้เล็กน้อย ลำตัวจึงไม่ตั้งตรงกับขอบฟ้า ทั้งคาสเตอร์และพอลลักซ์เอาหัวลง คาสเตอร์อยู่ทางซ้ายและพอลลักซ์อยู่ทางขวา เมื่อคาสเตอร์ขึ้นไปสูงสุด เราจะต้องหันหน้าไปทางทิศเหนือ แล้วแหงนหน้าขึ้นเป็นมุมเงยประมาณ 70 องศาจึงจะเห็น ในขณะ ที่พอลลักซ์อยู่เยื้องไปทางขวามือเป็นมุมเงย 75 องศา ณ ตำแหน่งนี้ คนคู่อยู่ในลักษณะนอนเกือบขนานกับขอบฟ้า โดยมีเท้าหันไปทาง ทิศตะวันตก คาสเตอร์อยู่ทาทิศเหนือของพอลลักซ์
เมื่อขึ้นไปสูงสุดแล้วกลุ่มดาวคนคู่จะคล้อยต่ำลงไปทางทิศตะวันตก โดยค่อย ๆ เอาเท้าลง ในที่สุดจะตกดินหรือลับขอบฟ้าตรงจุด กึ่งกลางระหว่างทิศตะวันตกกับทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาสเตอร์จะยืนเกือบตัวตรงกับขอบฟ้าและอยู่ทางขวามือของพอลลักซ์ เมื่อใกล้ ขอบฟ้าทางตะวันตกมักจะมองไม่เห็นดาวดวงอื่น นอกจากคาสเตอร์และพอลลักซ์ เพราะดาวอื่น ๆ สว่างน้อย ขณะนั้นพอลลักซ์จะอยู่สูง เป็นมุมเงย ประมาณ 20 องศา
ในช่วงต้นเดือนมกราคมกลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นเวลาหัวค่ำและตกตอนรุ่งเช้า ดังนั้นจึงเป็นระยะเวลาที่จะมีโอกาสเห็นดาวกลุ่มนี้ ได้นานกว่าเดือนอื่น ๆ แต่ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนกรกฎาคมจะมองไม่เห็นกลุ่มดาวคนคู่ เพราะขึ้นและตกพร้อม ๆ กับ ดวงอาทิตย์
นักดาราศาสตร์เห็นดาวฤกษ์ Castor เป็นคู่ ( 2 ดวง ) ที่สวยงามที่สุดและ ใหญ่ที่สุด ดาวฤกษ์ Pollux เป็นดาวคู่สาม (มี 3 ดวงหมุนรอบซึ่งกันและกัน ) วันที่ 180-20 ตุลาคม ของทุกปี จะมีฝูงอุกกาบาตวิ่งมาชนโลกเป็นกลุ่ม ๆ คือเราจะเห็นดาวตกหรือผีพุ่งไต้ตกลงมาเป็นกลุ่ม ๆ จากปลายเท้าของกลุ่มดาว คนคู่นี้ และกลุ่มดาวตกจะสังเกตได้มาก มาจากทางส่วนหัว ของกลุ่มดาวคนคู่นี้ ในช่วงเดือน ธ.ค. ทุกๆ ปีจะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกพุ่งออกมาจากกลุ่มดาวคนคู่หรือเจมินี เป็นฝนดาวตกเจมินิดส์อันงดงามให้เห็นกัน
ดาวฤกษ์ Castor และ Pollux เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมาก อยู่ห่างจากโลกเพียง 47 และ 31 ปีแสงตามลำดับ
ในทางดาราศาสตร์กำหนดให้ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.-19 ก.ค. ของทุกปี
ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งที่ซีอุสเกิดไปแอบหลงรักกับหญิงนางหนึ่งที่มีชื่อว่า เรดา เธอคนนี้เป็นมเหสีของพระราชาไทนดาริอุส (Tyndareus) ผู้ครองเมืองสปาร์ต้า ซีอุสจึงได้คิดวางแผนร่วมกันกับเฮอร์เมส โดยให้เฮอร์เมสแปลงกายเป็นนกอินทรี ส่วนตนเองจะแปลงกายเป็นหงส์ขาว เพื่อให้นกอินทรีทำทีเป็นไล่ล่าหงส์ขาว (เชื่อกันว่ากลุ่มดาวหงส์หรือ Cygnus ก็คือ ซีอุสที่มีรูปร่างเป็นหงส์ขาวนี่เอง) ซึ่งเมื่อนางเรดาเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเข้า จึงรีบตรงปรี่เข้าไปช่วยเหลือหงส์ขาวเอาไว้ และขับไล่ให้นกอินทรีอันธพาลออกไป ต่อจากนั้นไม่นาน นางเรดาก็ให้กำเนิดบุตรออกมาเป็นไข่ 2 ใบ (แต่บ้างก็ว่าใบเดียว) ในไข่แต่ละใบก็มีฝาแฝดชายหญิงอยู่อย่างละหนึ่งคู่ ซึ่งก็คือ คาสเตอร์และ คลิเทมเนสตร้า(Clytemnestra)ในไข่ใบแรก ส่วน พอลลักซ์และเฮเลน (Helen) ออกมาจากไข่ใบที่สอง (นางเฮเลนผู้นี้ ก็คือต้นกำเนิดของการล่มสลายแห่งเมืองทรอยนั่นเอง)
ถือได้ว่า คาสเตอร์และพอลลักซ์ เป็นสองพี่น้องที่รักใคร่กันมาก แต่เนื่องจากคาสเตอร์เป็นลูกของไทนดาริอุส ผู้เป็นมนุษย์ เขาจึงไม่ได้สิทธิแห่งการเป็นอมตะ ไม่เหมือนกับพอลลักซ์ผู้เป็นบุตรของซีอุสที่ได้สิทธิแห่งความเป็นอมตะ ทำให้เขาไม่มีวันแก่ และไม่มีวันตาย อย่างไรก็ตาม คาสเตอร์และพอลลักซ์ (รวมเรียกทั้งสองคนว่า ดีออสคอยส์ : Dioscuri) ก็ถือเป็นผู้กล้าที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้กัน ทั้งคู่ได้เคยร่วมเรืออาร์โก้ออกไปกับเจสัน เพื่อเดินทางไปขนเอาขนแกะทองคำกลับมา
การตายของคาสเตอร์มีเรื่องเล่าอยู่ว่า ในขณะที่ทั้งสองได้ไปร่วมงานแต่งงานของคู่ฝาแฝดชายที่มีชื่อว่า อิดัส (Idas) กับไลนเซอุส(Lynceus) และฝาแฝดหญิงที่ชื่อว่านางฟีเบ (Phoebe) กับนางฮิลาเอย์ร่า (Hilaeira) แต่ไม่รู้ว่าเกิดเมามายมากเพียงใด จึงทำให้คาสเตอร์กับพลอลักซ์ไปฉุดเอาตัวของเจ้าสาวทั้งสองมา ซึ่งทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างอิดัสและไลนเซอุส และเป็นผลให้คาสเตอร์ต้องสิ้นชีวิตไปในที่สุด (ทั้งอิดัสและไลนเซอุสก็สิ้นใจตายด้วยเช่นกัน) เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พอลลักซ์รู้สึกเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นอมตะและไม่มีวันตาย พอลลักซ์จึงไม่สามารถตายพร้อมไปกับคาสเตอร์ได้ เธอจึงร้องขอต่อเหล่าเทพว่า ขอให้ตนได้แบ่งเอาความเป็นอมตะแก่ให้คาสเตอร์ได้บ้าง ทำให้หลังจากนั้น ทั้งสองสามารถใช้ชีวิตอยู่บนสวรรค์ได้ 1 วันและลงไปอยู่ในแดนหลังความตายอีก 1 วัน เป็นเช่นนี้สลับกันไป (บางตำนานก็ว่าครึ่งวันบ้าง หรือ 1 ปีบ้าง) ทำให้เมื่อซีอุสได้เล็งเห็นมิตรภาพที่ทั้งสองมีให้ต่อกัน ซีอุสจึงสร้างกลุ่มดาวราศีเมถุนขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้
ตามนิยายดาวของกรีก Castor และ Pollux เป็นบุตรชายของเทพบิดาพฤหัสดี (จูปีเตอร์) และพระเลดา (Leda) Castor เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับม้า Pollux เป็นนักมวยและนายทหารที่มีชื่อเสียง ชาวโรมันถือว่าดาวฤกษ์ Castor และ Pollux เป็รสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ ชาวเรือถือว่าเป็นเทพเจ้าที่ช่วยให้พ้นภัยทะเล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น