ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช




ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จทบ.พ.ล. หรือค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันคงมีแต่หน่วยทหารอยู่ ๑ กองพัน คือ ร.๔ พัน.๒ ส่วนหน่วยสายแพทย์ก็มีเพียง มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. (ร.อ.ประจวบ วัชรปาน เป็น ผบ.มว.) และหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีหน่วย มว.สร.ร.๔ พัน.๒ เป็นหน่วยแพทย์ที่ได้รับการปรับย้ายเพิ่มเติม โดยมี ร.ต.ประวัติ สาชลวิจารณ์ และ ร.ต.จิต ภักดีอาษา เป็น ผบ.มว.และ รอง ผบ.มว.ตามลำดับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ มว.พยาบาล จทบ.พ.ล.ได้รับการปรับขยายเป็นกองพยาบาล ชั้น ๓ (ผบ.กอง เป็นอัตรา พ.ต.)


ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยการนำของ พ.อ.เยื้อง คชภักดี นายแพทย์ใหญ่ กองทัพภาคที่ ๓ ได้ดำริจะสร้างตึกกองพยาบาล เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีกำลังพลและครอบครัวจำนวนมาก มีผู้บังคับบัญชาระดับแม่ทัพภาค (พล.ท.ประพันธ์ กุลพิจิตร) และกองพลประจำอยู่ในพื้นที่ ประกอบกับสภาพอาคารสถานที่ของหมวดพยาบาล จทบ.พ.ล.ชำรุดทรุดโทรมมาก เพราะสร้างมาตั้งแต่ ปี ๒๔๖๕ และหน่วยสายแพทย์ในพื้นที่ขณะนั้น มี ๕ หน่วย คือ พัน.สร.ที่ ๔, มว.สร.ร้อย.บก.ทภ.๓, มว.สร.ร้อย.บก.พล.๔, มว.สร. (มว.๓) ร้อย.สร.ผส.๔ และ มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. ซึ่ง ทภ.๓ ได้แต่งตั้งให้ พ.อ.เยื้อง คชภักดี พญ.ทภ.๓ เป็นผู้บังคับหน่วยเสนารักษ์รวมอีกตำแหน่งหนึ่ง


เมื่อวันที่ ๑๖ ธ.ค.๒๕๐๕ พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ผู้ชำนาญกองทัพบกในขณะนั้น ได้รับการเชิญจาก ทภ.๓ ให้เดินทางมาเยี่ยมค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จากการรายงานเสนอแนะของ พ.อ.เยื้อง คชภักดี ต่อ มทภ.๓) หลังจากการเยี่ยมแล้ว พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้เสนอ มทภ.๓ ว่า การทำงานของหน่วยแพทย์ที่มีลักษณะคล้ายโรงพยาบาล น่าจะจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลเสียเลย โดยในขั้นแรกจะจัดหาเครื่องเอ๊กซเรย์มาให้ก่อน ขอให้กองทัพสร้างอาคารเอ๊กซเรย์ให้ด้วย พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้รับพระรูปจำลองสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จาก มทภ.๓ กับได้ไปถวายสักการะที่ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลวังจันทน์(บริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม)อันเป็นสถานที่ทรงพระราชสมภพ ด้วยพระอภินิหารแห่งดวงพระวิญญาณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ดลใจให้ พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้ความคิดในการก่อสร้างโรงพยาบาล โดยหาเงินจากการจำหน่ายแผ่นภาพติดตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โดย พล.ต.ขุนปทุมฯ จะเป็นผู้เขียนเอง)


การจัดตั้งหน่วย เนื่องจาก รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ถือกำเนิดมาจาก มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. ตั้งแต่ปี ๒๔๘๘ ซึ่งเป็นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ และได้รับการปรับขยายอัตราและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีชื่อได้รับพระราชทานเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ตั้งแต่ ๒๕ ม.ค.๒๕๐๗ ซึ่งน่าจะถือได้ว่า “๒๕ ม.ค. ๒๕๐๗” เป็นการจัดตั้งหน่วยเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวขั้นต้นไม่สามารถจัดหาหลักฐานอ้างอิงได้ และถือเอา วันที่ ๒๕ ม.ค. ของทุกปี เป็นวันสถาปนาของหน่วยตลอดมา
คำสั่งการจัดตั้งหน่วย วันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๐๗ ทบ.ได้อนุมัติให้เปลี่ยนอัตรา มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. เป็น รพ.จทบ.พ.ล. อัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๕๔๒๐ ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๖๓ / ๒๕๐๗ ลง ๑๔ ต.ค. ๐๗ ซึ่งอัตราออกมาภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้เสร็จทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ ม.ค.๐๗ กับได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ตามหนังสือราชเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ สร ๐๕๐๑/๑๖๒๑ ลง ๒๗ พ.ย.
นับว่าเป็นโรงพยาบาลทหารบกในส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานชื่อ เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย.๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานชื่อโรงพยาบาลจากเดิม “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เป็น “โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เพื่อให้ตรงกับชื่อค่ายทหาร ตามแจ้งความกองทัพ เรื่อง พระราชทานชื่อโรงพยาบาลในค่ายทหาร ลงวันที่ ๑๔ ม.ค.๒๕๑๗

นเรศวร2

 
 

วีรกรรมหรือการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วยและกำลังพล การปฏิบัติการรบ
ปี ๒๕๒๒ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๒ – ๓๐ ก.ย.๒๓ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ส่งกำลังพลขึ้นปฏิบัติหน้าที่ โดยจัดชุดศัลยกรรมสนามสนับสนุน ในการปราบปราม ผกค.ในยุทธการเขาค้อ จำนวน ๑๕ คน


การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม ชุดแพทย์เคลื่อนที่ ให้การบริการประชาชนผู้หลบหนีจากการสู้รบชาวพม่า พื้นที่สำนักสงฆ์ธรรมจาริก บ้านหนองบัว อ.ท่าสองยาง จว.ตาก วันที่ ๑๘ มิ.ย.๕๒


ชุดแพทย์เคลื่อนที่ “ หมออ่วมมาแล้ว ” ๑๖ มี.ค.๕๒ การฝึกสาธิต SAREX ๒๐๐๖ – การฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย – การสาธิตการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย – การอบรมทางวิชาการ ชุดแพทย์เคลื่อนที่ โครงการ “กองทัพบกเพื่อประชาชน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ” การปฏิบัติงานพิเศษอื่นๆ การฝึกร่วมไทย – สหรัฐอเมริกา ทุกรอบ ๒ ปี

- See more at: http://www.weloverta.org/site/?p=6125#sthash.v6K2QMMw.dpuf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ