ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กาชาดสากล

ความหมายของวันกาชาดสากล


การชาด5กาชาด เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก และมีจุดประสงค์ ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง หน่วยงานในประเทศไทย เรียก สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดง                                                                   เป็นตราสัญลักษณ์


การชาดICRC
คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Committee of the Red Cross; ICRC / ฝรั่งเศส: Comité international de la Croix-Rouge (CICR))













เป็นองค์กรมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2406 โดยการนำของ นายอ็องรี ดูว์น็อง มีสำนักงานที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศสมาชิกยอมรับให้เป็นองค์กรอิสระ ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International humanitarian law) แห่งอนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) ซึ่งถือเป็นกฎหมายนานาชาติตามธรรมเนียม มีภารกิจทั่วโลกในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม ผู้ลี้ภัย เชลยสงคราม และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบ

การจัดตั้งสำนักงานของ ICRC นั้นขึ้นอยู่กับระดับของการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบัน ICRC มีเจ้าหน้าที่ 11,000 คนปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของ ICRC ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ทำงานครอบคลุมประเทศไทย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม
คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นองค์กรเดียวกับสภากาชาดไทย และนิยมเรียกผิดว่าสภากาชาดสากล แต่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง (Movement of the Red Cross) เช่นเดียวกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) และ สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (National Societies) ของแต่ละประเทศ

การจัดตั้งสำนักงานของ ICRC นั้นขึ้นอยู่กับระดับของการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบัน ICRC มีเจ้าหน้าที่ 11,000 คนปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ของ ICRC ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ ทำงานครอบคลุมประเทศไทย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม

คนไทยจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเป็นองค์กรเดียวกับสภากาชาดไทย และนิยมเรียกผิดว่าสภากาชาดสากล แต่คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มองค์กรกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง (Movement of the Red Cross) เช่นเดียวกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) และ สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (National Societies) ของแต่ละประเทศ

กาชาด2ด้วยหลักการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงที่เน้นการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้เราสามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือและปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของเหยื่อจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นได้ โดยการติดต่อพูดคุยกับคู่กรณีและกองกำลังทุกฝ่าย รวมถึงกลุ่มติดอาวุธ เรื่องการให้ความเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎข้อบังคับขั้นพื้นฐานต่างๆในการปกป้องบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง


ด้วยหลักการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงที่เน้นการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้เราสามารถปฏิบัติภารกิจในการช่วยเหลือและปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของเหยื่อจากการสู้รบและสถานการณ์ความรุนแรงเหล่านั้นได้ โดยการติดต่อพูดคุยกับคู่กรณีและกองกำลังทุกฝ่าย รวมถึงกลุ่มติดอาวุธ เรื่องการให้ความเคารพต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศและกฎข้อบังคับขั้นพื้นฐานต่างๆในการปกป้องบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง

คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดและทรงเกียรติในขบวนการกาชาด และเป็นหนึ่งในการบริหารองค์กรที่ขยายตัวมากที่สุด โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึง 3 ครั้งคือเมื่อ พ.ศ. 2460 พ.ศ. 2487 และ พ.ศ. 2506
ภารกิจของ ICRC
  • การพยายามทำให้พลเมืองผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบและเหตุการณ์ความรุนแรงได้รับการละเว้นและปกป้อง
  • เข้าเยี่ยมเชลยสงครามและผู้ต้องขังจากข้อหาความมั่นคง
  • ส่งข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกในครอบครัวที่ต้องพลัดพรากเนื่องจากการสู้รบ
  • สืบหาผู้สูญหายอันเนื่องมาจากสงครามและความไม่สงบ
  • ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นทางด้านการแพทย์
  • จัดหาอาหาร น้ำสะอาด สาธารณูปโภคและที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ประสบภัยจากสงคราม
  • เผยแพร่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
  • เฝ้าสังเกตการบังคับใช้เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
  • ช่วยผลักดันการพัฒนาข้อกฎหมายและอนุสัญญาต่างๆให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
  • ลดผลกระทบจากกับดักระเบิดและซากอาวุธอื่นๆที่มีต่อผู้คน
  • ให้การสนับสนุนการทำงานของสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์การสู้รบและความรุนแรงอื่นๆ
            เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทราบถึงภารกิจและบทบาทขององค์กรกาชาดด้านการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยาก โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง คณะกรรมการการชาดระหว่างประเทศ ร่วมกับ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันกาชาดสากล และยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของ นายอ็องรี ดูว์น็อง (นายอังรี ดูนังต์) ผู้ให้กำเนิดกาชาดสากล เป็นวันกาชาดโลก โดยได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลกจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรมที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง
            องค์กรกาชาดให้ความสำคัญเรื่องของมนุษยธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการกาชาดที่สำคัญที่สภากาชาดทุกประเทศทั่วโลกต้องตระหนัก และให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สำหรับสภากาชาดไทย กำหนดจัดงานวันกาชาดโลกขึ้น โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์กรกาชาดสากล และสภากาชาดไทย มุ่งเน้นกิจกรรมเพื่อเป็นการแสดงศักยภาพของอาสาสมัครสภากาชาดไทยกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
            กิจการกาชาดถือกำเนิดขึ้น โดยมีเครื่องหมายสีแดงบนพื้นขาว เป็นสัญลักษณ์ของกาชาดที่รู้จักกันทั่วโลก และการใช้เครื่องหมายนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้นกำเนิดของกาชาด สัญลักษณ์ดังกล่าวจะมีลักษณะกลับกันกับธงชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่า เครื่องหมายกากบาทมีความสำคัญทางศาสนาคริสต์ จึงได้มีการกำหนดเครื่องหมายเสี้ยววงเดือนแดงใช้ในประเทศมุสลิม โดยเรียกว่า “สภาเสี้ยววงเดือนแดง” แทน “สภากาชาด” แต่ก็มีหลักการและหน้าที่ไม่แตกต่างกัน

โดยยึดหลักการกาชาด 7 ประการคือ มนุษยธรรม, ความไม่ลำเอียง, ความเป็นกลาง, ความอิสระ, บริการอาสาสมัคร, ความเป็นเอกภาพ, ความเป็นสากล

มนุษยธรรม
กาชาด เกิดขึ้นมาจากความปรารถนาที่จะนำความช่วยเหลือโดยมิเลือกปฏิบัติมาสู่ผู้บาดเจ็บในสนามรบ กาชาดเพียรพยายามทั้งในฐานะระหว่างประเทศและในระดับชาติเพื่อป้องกัน และบรรเทาความทุกข์ทรมานของมนุษย์ไม่ว่าจะพบได้ในที่ใด ความมุ่งประสงค์ของกาชาดได้แก่การคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และการประกันความเคารพนับถือต่อมนุษยชน กาชาดส่งเสริมความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสันติภาพยั่งยืนระหว่างประชากรทั้งมวล

ความไม่ลำเอียง
กาชาด ไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อถือทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมาน โดยให้การปฏิบัติเป็นลำดับแรกต่อกรณีความทุกข์ยากที่เร่งด่วนที่สุด

ความเป็นกลาง
เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจสืบต่อไปจากทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าในเวลาในการขัดแย้ง ซึ่งมีลักษณะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา และลัทธินิยม

ความเป็นอิสระ
กาชาด เป็นอิสระ สภากาชาดแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตน และอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่ต่อไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา

บริการอาสาสมัคร
กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ในประการใดๆ

ความเป็นเอกภาพ
ในประเทศพึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่งเดียว สภากาชาดต้องเปิดให้กับคนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตลอดทั่วดินแดนของตน

ความเป็นสากล
กาชาด เป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลสังกัดอยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน และมีส่วนความรับผิดชอบและหน้าที่เท่าเทียมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

           ปัจจุบัน มีสภากาชาดของประเทศต่างๆ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศจำนวน 181 ประเทศ สำหรับสภากาชาดไทยเป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศลำดับที่ 31
บทบาทของสภากาชาดสากล
          จากการบุกเบิกของ นายอ็องรี ดูว์น็อง ร่วมกับทนายความคนสำคัญ คือ กุสต๊าฟ มัวนิเอร์ ทำให้ขบวนการกาชาดประสบความสำเร็จ และกลายเป็นสภากาชาดสากล มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมมากมาย โดยสภากาชาดของแต่ละประเทศจะเป็นองค์กรอิสระ สามารถจัดวางแผนงานของตนให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ ขณะที่องค์กรกาชาดสากล ประกอบด้วย 3 องค์กรหลัก ดังนี้
          คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ICRC มีพันธกิจในการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากภัยสงครามและความขัดแย้ง ทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่มีการลงนามรับรองโดย 194 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
           สหพันธ์กาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือ IFRC มีหน้าที่ในการประสานงานและรวบรวมสรรพกำลังของประเทศสมาชิก ในการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติขั้นรุนแรง ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินในวงกว้าง เช่น เหตุการณ์แผ่นดินถล่มในอัฟกานิสถาน หรือ เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ
          สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดง (National Societies) ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย การบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติ การบริการด้านสุขภาพและสังคม ทั้งนี้ในยามสงครามมีหน้าที่ช่วยเหลือพลเรือนที่ได้รับผลกระทบและช่วยงานของหน่วยบริการแพทย์ทหารตามสมควร ปัจจุบันมีสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงกว่า 186 ประเทศทั่วโลก

- See more at: http://www.weloverta.org/site/?p=6131#sthash.2M5iVIHr.dpuf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ที่มาของคำว่า เสียหมา

  มีเรื่องเล่าที่อยากมาแชร์ แต่ไม่การันตีว่าจริงแท้แค่ไหนนะเออ.... ที่มาของคำว่า .....เสียหมา.... ** "เสียหมา"** แล้ว "เสียหมา" ทำไม? จึงหมายถึง "เสียฟอร์ม - เสียท่า" "เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีก่อน ตอนนั้นยังมี เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือ หรือพวก "เวียดกง" "เวียดกง" เป็นเจ้าของกลยุทธ์ การสู้รบแบบ "กองโจร" "เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม" ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้ เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน ที่เด็ดมาก และแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จเขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป พอเจออุโมงค์ที่ไหน มันก็จะเห่าบอ

สด.8 คืออะไร

สด. 8           ใบ สด.8 คือ สมุดประจำตัวของทหารกองหนุนที่ผ่านการเป็นทหารกองประจำการแล้วรวมทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3(รด) เป็นหนังสือสำคัญ ที่ติดมาพร้อมกับ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ สด.8 จะอยู่ในสมุดประจำตัวทหารกองหนุน พร้อมหนังสือสำคัญ(แบบ สด.8) หน้ากลางเล่ม เวลาใช้งานให้ถ่ายเอกสารหน้ากลางตรงส่วนที่ระบุว่า สด.8 ทั้งสองส่วน ซึ่งจะได้รับ สด. 8 เมื่อ รับราชการทหารกองประจำการ (คือ เป็นทหารเกณฑ์ ) จนครบกำหนดปลด        เรียน รด. จบปี 3 (เพราะ จบ รด. ไม่ต้องไป เกณฑ์ทหาร และไม่ต้องเป็นทหารกองประจำการ )        เมื่อจบ รด.ปี 3 จะได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการ และ นำปลด เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1       ในวันเดียวกัน โดยไม่ต้องไปรับราชการในกองประจำการ ( ไม่ต้องเป็นทหารเกณฑ์นั่นเอง )        แต่ ยังคงเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 การนับอายุของทหาร        การนับอายุจะนับที่ปี พ.ศ. โดยเกิด 1 มกราคม ไปจนถึง เกิด 31 ธันวาคม ของปี ใดก็ตาม ถือว่า อายุ เท่ากัน ทั้งปี และ เริ่มนับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม เป็น อายุ ครบ ปี บริบูรณ์       ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แบ่ง

…..จอมพลสอนทหาร ………..

             ๑. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใหญ่ อย่าเป็นคนหูเบา แต่ก็มิใช่เป็นคนหูหนวกตาบอด ต้องฟังต้องดูอย่างกว้างที่สุด อยู่เสมอ แต่อย่าเชื่อคนสอพลอ หรือเชื่อคนพูดก่อนและฟ้องก่อน เพราะคนพูดภายหลังอาจพูดจริงกว่าคนที่พูดก่อนก็เป็นได้             ๒. เมื่อมีความขุ่นข้องกับผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาหรือผู้น้อย เมื่อได้ว่ากล่าวลงโทษ หรือตักเตือนแล้ว จงอย่าจำเอาไว้ อาฆาตมาดร้ายภายหลังอีก             ๓. ให้พยายามหาความดีความงามมาสู่คณะ และปูนบำเหน็จกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้น้อย สำหรับผู้ที่สมควรจะได้รับตามโอกาสที่จักพึงหาได้นั้นอยู่เสมอ             ๔. จงติโทษหรือลงโทษผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะที่ทำผิด โดยไม่เกรงใจหรือกลัวเขาเกลียด ให้เคร่งครัดอยู่เสมอ จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด เพราะภายหลังจะกำเริบและแก้ไขยาก             ๕. จงอย่าใช้อำนาจราชการลงโทษกับผู้ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาในขณะเมื่อตนบันดาลโทสะ และอย่ากล่าวคำหยาบ ให้กระทบกระเทือนถึงวงศ์ตระกูล เพราะผู้อื่นเขาก็มีจิตใจเป็นมนุษย์เหมือนเราเหมือนกัน             ๖. จงบำรุงการสมาคม และแสดงกิริยา วาจา ใจ ให้เป็นการโอภ